ความรู้เรื่องโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมและสรึกมีอาการอย่างและมีวิธีรักษาอย่างไร?
ความรู้เรื่องโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมและสรึกมีอาการอย่างและมีวิธีรักษาอย่างไรควรทำตัวอยางไร
ความรู้เรื่องโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมและสรึกมีอาการอย่างและมีวิธีรักษาอย่างไรควรทำตัวอยางไร
อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม เกิดจากการใช้งานข้อต่อบริเวณต่างๆ มากเกินไป อาทิ บริเวณกระดูกส่วนคอจากการก้มๆ เงยๆ ทำกิจกรรมต่างๆ และกระดูกบั้นเอว ที่มีการบิดตลอดเวลาทุกครั้งที่มีการก้มหรือคลื่อนไหว ทำให้มีอาการปวดบริเวณหลัง สะโพก หรือคอ บางครั้งมีร้าวไปที่ก้นและต้นขา xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office นพ สมบัติ โรจน์วิโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า อาการนี้พบได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 40 - 50 ปี โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวได้เร็วกว่าผู้หญิง เนื่องจากลักษณะการทำงานอาจต้องใช้แรงมาก อย่างไรก็ตาม โรคกลุ่มนี้แม้พบไม่บ่อย แต่ผู้ป่วยมักจะไม่หายขาด ในรายที่มีอาการมาก เป็นเรื้อรังอาจต้องทำการผ่าตัดหรือเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเสื่อมจากเดิมจะใส่กระดูกเทียม หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เข้าแทนที่ ปัจจุบันมีนวัตกรรม เรียกว่า หมอนรองกระดูกเทียม ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงโลหะเลียนแบบกระดูกตามธรรมชาติ แกนกลางเป็นพลาสติกยืดหยุ่น และสามารถเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงหมอนรองกระดูกตามธรรมชาติ ทั้งนี้ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมส่วนใหญ่จะทำในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 60 ปี และรักษาด้วยการให้ยาและทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล และต้องเป็นโรคหมอนรองกระดูกอย่างเดียว ไม่มีอาการของการกดทับเส้นประสาทร่วมด้วย เนื่องจากอาจทำให้การรักษาไม่ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีรายงานหรือข้อมูลบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในระยะยาว ผู้ป่วยรายที่หมอนรองกระดูกคอเสื่อม นิยมหันมาเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม เพราะสามารถชยับคอได้ใกล้เคียงธรรมชาติประมาณ 5 องศา และยังสามารถพักฟื้นเร็ว โดยหลังผ่าตัดราว 1 - 2 วัน ก็สามารถลุกเดินได้ และกลับบ้านได้หลังจากการผ่าตัด 3 - 5 วัน ที่มา นสพ มติชนรายวัน 18 ม ค 50 น 10 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา ดูที่นี่ เป็นโรคหมอนรองกระดูกสึกต้องรักษาอย่างไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!