แยกคำได้อย่างไรว่า คำไหนเป็นคำไทยแท้ คำไหนมาจากบาลี-สันสกฤต?
มีวิธีการแยกคำได้อย่างไร คำไหนเป็นคำไทยแท้ คำไหนมาจากบาลี-สันสกฤต
มีวิธีการแยกคำได้อย่างไร คำไหนเป็นคำไทยแท้ คำไหนมาจากบาลี-สันสกฤต
ลักษณะของคำไทยแท้ 1 ส่วนมากมีพยางค์เดียว เข้าใจความหมายได้ทันที เช่น พ่อ แม่ ฉัน เธอ พูด เล่น ดี สวย เมื่อ กับ และ หรือ โธ่ ฯลฯ ถ้ามีคำมากพยางค์มักเกิดจากการสร้างคำ ดังนี้ 2 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา คือ แม่ กง กน กม เกย เกอว กก กด กบ 3 ใช้รูปวรรณยุกต์เพื่อเพิ่มคำเพิ่มความหมาย เช่น นอง น่อง น้อง 4 พยัญชนะไทยมี 44 รูป โดยเพิ่มจากภาษาบาลี สันสกฤต 9 รูป ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฮ คำที่ใช้รูปพยัญชนะเหล่านี้จึงมักเป็นคำไทย ยกเว้น ฎ จะใช้แทน ฏ ในคำที่รับมาจากภาษาบาลีสันสกฤต 5 รูปพยัญชนะต่อไปนี้ จะไม่ค่อยมีใช้ในคำไทยแท้ คือ ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ยกเว้น ฆ้อง ฆ่า เฆี่ยน ระฆัง ศอก ศึก เศิก ธ เธอ ณ ฯพณฯ หญ้า หญิง ใหญ่ 6 คำไทยแท้ที่ออกเสียง ไอ จะใช้เฉพาะไม้ม้วน 20 คำ และไม้มลายเท่านั้น คำบาลี-สันสกฤต ภาษาบาลี มี สระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ พยัญชนะบาลี แบ่งเป็น ๕ วรรค ๆ ละ ๕ ตัว พยัญชนะอวรรค ๘ ตัว ๓๓ ตัว ภาษาสันสกฤต มี สระ ๑๔ ตัว เหมือนบาลีทั้งหมด ๘ ตัว เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา พยัญชนะสันสกฤต มีเหมือนบาลีทั้ง ๓๓ ตัว แต่เพิ่ม ศ ษ ๓๕ ตัว ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คำไทยแท้ คำบาลี-สันสกฤต
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!