ความแตกต่างระหว่างวัชพืชน้ำกับวัชพืชบก?
อยากทราบว่าทำไมพืชน้ำจึงไม่มีรากและสำต้นแข็งแรงเหมือนพืชบก และทำไมพืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่น จึงมักพบขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ๆ
อยากทราบว่าทำไมพืชน้ำจึงไม่มีรากและสำต้นแข็งแรงเหมือนพืชบก และทำไมพืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่น จึงมักพบขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ๆ
วัชพืชน้ำ หมายถึง วัชพืชที่ขึ้นในน้ำหรือขึ้นตามริมตลิ่งที่มีดินชื้นมาก ๆ มักเป็นพืชที่มีลำต้นเล็กอ่อน ใบบาง เพื่อลู่ไปตามกระแสน้ำได้ดี มีหลายลักษณะตามสภาพที่ขึ้น กล่าวคือ บางพวกลอยน้ำ รากไม่หยั่งดิน เช่น จอก แหน ไข่น้ำ แหนแดง ผักตบชวา บางพวกรากต้องหยั่งดิน ใบและดอก ลอยตามผิวน้ำหรืออยู่เหนือน้ำ เช่น บัว บา ตับเต่า ขาเขียด บางชนิดอยู่ใต้ผิวน้ำรากหยั่งดิน เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายไฟ แหนปากเป็ด สาหร่ายเส้นด้าย สาหร่ายพุงชะโด บางชนิดขึ้นตามดินชื้นมาก ๆ หรือที่ที่มีน้ำขังตื้น ๆ เช่น เทียนนา แห้วทรงกระเทียม หญ้าขน หญ้านกสีชมพู วัชพืชน้ำ มักเป็นวัชพืชในนาข้าว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านชลประทานและด้านประมง xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office วัชพืชบก หมายถึง วัชพืชที่เกิดบนบก แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้เป็น ๓ ชนิด คือ ไม้ต้น trees ไม้พุ่ม shrubs ไม้ล้มลุกลำต้นอ่อน herbs ไม้ต้น และไม้พุ่ม ไม่ค่อยพบว่าเป็นวัชพืชที่ร้ายแรง ทั้งนี้เพราะก่อนดำเนินการเกษตรนั้น จำเป็นต้องปรับที่โค่นต้นไม้ใหญ่ ถอนรากโคนทิ้งเสียก่อน ฉะนั้น จึงไม่ค่อยมีปัญหาในด้านการกำจัดวัชพืชที่เป็นไม้ต้น และไม้พุ่มเท่าใดนัก นอกจากในที่ดินที่บุกเบิกใหม่ เพื่อการเพาะปลูก ถ้ายังมีรากไม้ต้นและไม้พุ่มหลงเหลืออยู่ ต้องคอยหมั่นดูแลขุดทำลายเสีย หรือใช้สารกำจัดวัชพืชทำลายโคนต้นให้เน่าผุก่อน วัชพืชก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงไป ส่วนวัชพืชที่เป็นปัญหาในด้านการกำจัด ได้แก่ พวกไม้ต้นเล็กเนื้ออ่อนหรือ พืชล้มลุก ซึ่งแบ่งออกได้ตามอายุเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งได้แก่ พืชล้มลุก อายุสั้น มีวงชีพอยู่ได้เพียงฤดูเดียว annual และอีกพวกหนึ่งเป็นพืชต้นเล็กเนื้ออ่อน ยืนต้น มีอายุข้ามปีหรือตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป perennial พืชพวกนี้มักจะมีไหล stolon ซึ่งสามารถแตกรากตามข้อที่นอนแตะพื้นดิน เช่น แห้วหมู หญ้า ชันอากาศ ข้อมูลเพิ่มเติม ชนิดของวัชพืช
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!