อยากบริจาคเลือดต้องทำอย่างไรบ้าง?
อยากบริจาคเลือดต้องทำอย่างไรบ้าง และต้องไปที่ไหน
อยากบริจาคเลือดต้องทำอย่างไรบ้าง และต้องไปที่ไหน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริจาคเลือด ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด 1 อายุ bull 17 - 60 ปี bull ผู้ที่มีอายุ 16 ปี จะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองก่อนล่วงหน้าทุกครั้ง 2 น้ำหนักตัว bull ไม่ต่ำกว่า 45 ก ก 3 สุขภาพ bull สุขภาพแข็งแรง bull นอนหลับอย่างน้อย 4 ชั่วโมง bull ควรรับประทานอาหารก่อนการบริจาคเลือด bull ไม่อยู่ในระหว่างกินยาปฏิชีวนะ หรือ ยากันเลือดแข็ง bull ไม่ได้รับการถอนฟัน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด รวมทั้ง ไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อตามร่างกาย 4 ประวัติความเจ็บป่วยด้วยโรคที่อาจถ่ายทอดไปยังผู้ป่วย bull ไม่มีประวัติเคยเป็นโรคติดเชื้อ โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือชนิดซี bull ไม่มีประวัติเคยตรวจพบเชื้อโรคตับอักเสบชนิดบี หรือชนิดซีในเลือด bull ไม่มีประวัติเคยติดเชื้อโรคเอดส์ หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ได้แก่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ขายบริการ ทั้งหญิงและชาย มีพฤติกรรมรักร่วมเพศหรือ เคยใช้ยาเสพติดชนิดฉีด หรือเคยถูกต้องโทษคุมขัง bull ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะ 3 ปี bull ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติดชนิดฉีด bull ไม่เคยได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดภายใน 1 ปี bull ไม่เคยได้รับการสัก เจาะหู ฝังเข็มภายใน 1 ปี 5 ไม่มีประวัติความเจ็บป่วยที่การบริจาคเลือดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ได้แก่ bull โรคเลือดจาง โรคลมชัก โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเลือดออกง่าย bull โรคหัวใจ วัณโรค โรคตับ โรคไต มะเร็ง 6 การฉีดวัคซีนก่อนการบริจาคเลือด bull Rabies โรคพิษสุนัขบ้า Encephalitis โรคเยื่อหุ้มอักเสบ Hepatites B Immunoglobulin ฉีดยาภายหลังการสัมผัสเชื้อ เว้นระยะ 1 ปี bull Rubella หัดเยอรมัน Chickenpox อีสุกอีใส Anti ndash Tetanus IgG เว้นระยะเวลา 4 สัปดาห์ bull Horse serum เว้นระยะเวลา 3 สัปดาห์ bull Tetanus toxoid เว้นระยะเวลา 48 ชั่วโมง bull Hepatitis B vaccine บริจาคเลือดได้ ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ สำหรับกรณีให้ vaccine เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน 7 ความถี่ของการบริจาคเลือด bull ผู้ชาย บริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือน bull ผู้หญิง บริจาคเลือดได้ทุก 6 เดือน แต่ต้องไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือกำลังมีประจำเดือน การเตรียมตัวก่อนไปบริจาคเลือด ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ชนิดซี ซิฟิลิส เชื้อ HIV อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการบริจาคเลือด หลีกเลี่ยงการรับประทานหวานจัดหรือมันจัดก่อนการบริจาคเลือดเพราะจะทำให้พลาสมาขุ่น ต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงและสบายดี หลีกเลี่ยงการบริจาคเลือดหากรู้สึกไม่สบาย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ขั้นตอนการบริจาคเลือด 1 ชั่งน้ำหนักตัว 2 กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการบริจาคเลือด ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ที่ติดต่อได้ หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ 3 อ่านคำถามสำหรับผู้บริจาคเลือดและตอบตามความเป็นจริง พร้อมทั้งลงชื่อ 4 เจ้าหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประวัติสุขภาพในอดีตและปัจจุบัน วัดความดันโลหิต 5 ตรวจความเข้มข้นของเลือด โดยเจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว ซึ่งถ้าต่ำกว่ามาตรฐาน ห้ามบริจาคเลือด 6 บริจาคเลือด โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะเจาะเลือดจากบริเวณข้อพับแขน ผู้ที่ต้องการยาชาควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเจาะ bull การบริจาคเลือดกินเวลาประมาณ 5 ndash 6 นาที bull อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเจาะเลือด เป็นของใหม่ที่ผ่านการฆ่าเชื้อเรียบร้อยและใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น bull เมื่อบริจาคเลือดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะปิดแผลให้สำลีและปลาสเตอร์ ควรใช้นิ้วมือกดทับตรงตำแหน่งที่เจาะและเหยียดแขนตรงไม่ง้อพับแขน จนกว่าเลือดจะหยุดไหล ระยะเวลาในการเจาะเลือด bull รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 30 - 45 นาที การปฏิบัติตัวภายหลังการบริจาค 1 นอนพักสักครู่หลังการบริจาคเลือด ห้ามลุกขึ้นจากเตียงทันที เพราะอาจเวียนศีรษะเป็นลมได้ 2 ควรรับประทานขนมหวานและน้ำหวานที่จัดเตรียมไว้ให้ 3 เปลี่ยนสำลีปิดแผลด้วยปลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งควรดึงออกทิ้งในตอนเย็นของวันนั้น 4 หากมีอาการผิดปกติ ทั้งก่อน ขณะหรือหลังการบริจาคเลือด เช่น หน้ามืดเวียนศีรษะ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที 5 หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือประวัติที่ทำให้ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ กรุณาสอบถามจากเจ้าหน้าที่และขอคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ 6 หากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหลังการบริจาคเลือด ควรติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3 หรือโทรศัพท์แจ้งที่หมายเลข 0 ndash 2412 ndash 2424 ผลการตรวจเลือด 1 เลือดของท่านจะได้รับการตรวจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ o หมู่เลือด ABO A B AB O และ Rh บวกหรือลบ o ตรวจกรองหาแอนติบอดีต่อแอนติเจนของหมู่เลือดระบบต่างๆ o ตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อต่างๆ ที่ถ่ายทอดได้ทางเลือด o โรคเอดส์ anti-HIV HIV antigen o โรคตับอักเสบชนิดบี HBsAg o โรคตับอักเสบชนิด ซี anti ndash HCV o โรคซิฟิลิส VDRL 2 การส่งผลการตรวจเลือด ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดจะส่งผลดังกล่าวไปให้ท่านที่แจ้งความประสงค์ไว้ พร้อมกับบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับท่านที่ไม่ต้องการทราบผลการตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อ จะแจ้งเฉพาะผลหมู่ตรวจเลือด ABO และ Rh พร้อมกับแจ้งกำหนดนัดวันเจาะเลือด ครั้งต่อไป บริจาคเลือดได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถ อังรีดูนังต์ ปทุมวัน วันจันทร์ - ศุกร์ 8 00-16 30 พฤหัส เปิดพิเศษ 7 30-19 30 เสาร์และวันหยุดราชการ 6 00-12 00 อาทิตย์ 11 30-16 00 หากท่านใดสนใจบริจาคเลือด แล้วไม่สะดวกที่จะไปบริจาคที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ก็สามารถบริจาคเลือดได้ที่เหล่ากาชาดจังหวัด สาขาบริการโลหิต และโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการบริจาคเลือดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4300 อย่าลืมว่าหากทุกคนช่วยกันบริจาคเลือด เลือดที่ได้ไม่เพียงแต่ช่วยเพื่อนร่วมชาติได้อีกหลายชีวิตเท่านั้น แต่วันหนึ่งเลือดเหล่านั้นอาจจะเป็นประโยชน์กับตัวเราหรือญาติพี่น้องของเราก็เป็นได้ ข้อมูลเพิ่มเติม
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!