อาการเริ่มแรกของมะเร็ปากมดลูกเป็นอย่างไร?
อาการเริ่มแรกของมะเร็ปากมดลูกเป็นอย่างไร แล้วเราควรทำอะไรกับมันดี
อาการเริ่มแรกของมะเร็ปากมดลูกเป็นอย่างไร แล้วเราควรทำอะไรกับมันดี
มะเร็งปากมดลูก - Cancer of Cervix เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิงไทย พบมากใน ช่วงอายุ 35 - 50 ปี เป็นโรคที่ป้องกันได้ สามารถตรวจหา “ ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก ” ได้ทั้งๆที่ยังไม่มีอาการ และสามารถป้องกันได้ อาการเริ่มแรก อาการของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ในระยะแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติและตรวจพบจากการตรวจคัดกรองหรือการตรวจด้วยกล้องขยายร่วมกับการตัดเนื้อออกตรวจทางพยาธิวิทยา อาการที่อาจจะพบในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกได้แก่ 1 การตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 ndash 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการ ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็น - เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน - เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ - มีน้ำออกปนเลือด - ตกขาวปนเลือด - เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน 2 อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น ได้แก่ - ขาบวม - ปวดหลังรุนแรง ปวดก้นกบและต้นขา - ปัสสาวะเป็นเลือด - ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก 1 สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ต่ำกว่า 18 ปี 2 มีคู่นอนหลายคน สำส่อนทางเพศ 3 มีประวัติเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ 4 มีโรคเรื้อรังหรือโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ 5 เคยมีความผิดปกติของปากมดลูก จากการตรวจภายในและทำ Pap Smear วิธีการที่ใช้ตรวจหา “ ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก ” เรียกว่า การตรวจ Pap Smear “ Pap Smear ” คือการเก็บเอาเซลล์เยื่อบุปากมดลูก ที่ลอกหลุด ออกมาแล้วนำไปตรวจหา เซลล์มะเร็ง การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปี ขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูก ขึ้นกับระยะของมะเร็งปากมดลูก ความต้องการธำรงภาวะเจริญพันธุ์ และโรคทางนรีเวชที่เป็นร่วมด้วย แบ่งวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกตามระยะของมะเร็งได้ดังนี้ 1 ระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม รักษาได้หลายวิธีได้แก่ - การตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจภายใน การทำแพปสเมียร์ และการตรวจด้วยกล้องขยาย ทุก 4 ndash 6 เดือน รอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายไปได้เองภายใน 1 ndash 2 ปี ภายหลังการตัดเนื้อออกตรวจ - การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า - การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น - การจี้ด้วยเลเซอร์ - การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด รอยโรคในระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลามสามารถรักษาให้หายได้โดยไม่จำเป็นต้องตัดมดลูกออก เพราะมีผลการรักษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2 ระยะลุกลาม การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง และความพร้อมของโรงพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา - ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 บางราย รักษาโดยการตัดมดลูกออกแบบกว้างร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองเชิงกรานออก - ระยะที่ 2 ถึง ระยะที่ 4 รักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ข้อมูลเพิ่มเติม
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!