ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กฤษณาสอนน้อง?, กฤษณาสอนน้อง? หมายถึง, กฤษณาสอนน้อง? คือ, กฤษณาสอนน้อง? ความหมาย, กฤษณาสอนน้อง? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

กฤษณาสอนน้อง?

ช่วยหาคำตอบให้หน่อยค่ะ กฤษณาสอนน้อง หรือ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ nbsp nbsp มีที่มาจากไหน

คำตอบ

                  เรื่อง กฤษณาสอนน้อง เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่เคยมีผู้ใดทำการวิเคราะห์ที่มาของวรรณกรรมเรื่องนี้ จนกระทั่งมีการแต่งเป็นหนังสือในรัชกาลที่ 3 และกลายเป็นวรรณคดี คำฉันท์ที่สำคัญเล่มหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นคนแรกที่ทรงวิจารณ์ที่มาของเรื่องนี้อย่างถูกต้องและสรุปได้ในที่สุด ว่านำมาจากเรื่อง มหาภารตะ ของอินเดีย เรื่องเดิมเป็นรูปแบบคำสนทนาระหว่างหญิงสองคนที่เป็นเพื่อนกัน                   เรื่อง กฤษณาสอนน้อง เป็นวรรณกรรมประเภทคำฉันท์ เชื่อได้แน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ต้นฉบับเดิมหายสูญไป ระยะเวลาที่แต่งจะเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น หรืออยุธยาตอนปลาย เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ คือ                   ประการที่หนึ่ง ไม่มีต้นฉบับตัวเขียนสมัยอยุธยาหลงเหลืออยู่เลย                   ประการที่สอง เรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์นี้มีตกทอดมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในรูปแบบของ วรรณกรรมมุขปาฐะ คือท่องจำและถ่ายทอดกันมาด้วยการเล่าปากเปล่า ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องที่ท่องจำกันมาจึงผิดเพี้ยนกันไป และหายตกหล่นไปมากต่อมาก จะเอาเนื้อหาสาระที่บริบูรณ์เป็นแก่นสารก็ไม่ได้ ประกอบทั้งภาษาสำนวนที่แต่งก็ไม่ได้อยู่ในขั้นดี กล่าวง่าย ๆ คือ เป็นสำนวนบ้านนอก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด ทรงพระราชดำริว่าเนื้อเรื่องดี แต่ภาษาไม่ดีพอ น่าจะแต่งใหม่ให้ดีกว่านั้น จึงทรงอาราธนาให้ กวีแก้วแห่งรัตนโกสินทร์ คือ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ ทรงแต่งใหม่ทั้งหมด แต่รักษารูปแบบคำประพันธ์คือคำฉันท์ไว้ตามเดิม ความปรากฏในบทปรารถเบื้องต้นของ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ซึ่งกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ต่อมาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงบรรยายไว้ว่า                               แต่ตูผู้จะนิพนธ์ยุบลบทบรรหาร               แห่งราชโยงการ                   ดำรัส                               ให้รังสฤษดิกฤษณาสุภาษิตสวัสดิ์               เลบงฉันท์รำพันอรรถ                   ภิปราย                               แปลกแปลงแสดงพจนเพรงเชลงลักษณะบรรยาย               ชาวชนบทธิบาย                   ประดาษ                               ไป่สมเสนอบเสมอสมานมุขประกาศ               อโยธยาคณาปราชญ์                   ทั้งมวญ                               รังสรรค์สารพอจักขานจักคู่พจนควร               เสนอสนองสำนวนเนือง                   กระวี                               หวังโอวาทอนุสาสนุสนธิสกลสตรี               แสวงสวามิภักดี                   ฤวาย 1                   ความจริงในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีก็มีกวีฝีปากดีคือ พระยาราชสุภาวดี ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ไปช่วยราชการเจ้าพระยานครที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้แต่งกฤษณาสอนน้องขึ้นใหม่ มีภิกษุอินท์ เมืองนครศรีธรรมราชเป็นผู้ช่วย แต่จะแต่งแน่นอนในปีใดไม่ทราบ เพราะเรื่องราวของพระยาราชสุภาวดีที่ออกไปกำกับราชการเมืองนครศรีธรรมราชนั้นเป็นที่รู้จักกันแต่เพียงว่าอยู่ในสมัยกรุงธนบุรี อย่างไรก็ดี กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สมัยกรุงธนบุรีดังกล่าวนี้มิได้ปรากฏ ณ ที่ใดๆ จึงไม่มีผู้ใดอ้างถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงเป็นที่แน่นอนว่ากรมหมื่นนุชิตชิโนรส มิได้ทรงทราบหรือแม้แต่จะทรงระแคะระคายว่ามี กฤษณาสอนน้องคำฉันท์สมัยธนบุรี เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่แล้ว แม้ในสมัยต่อมาหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วช้านานก็ยังไม่มีใครรู้เรื่องการแต่งกฤษณาสอนน้องสมัยธนบุรี จนกระทั่งถึงปี พ ศ 2489 กรมศิลปากร ได้ต้นฉบับเรื่องนี้มาและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เรื่องจึงปรากฏว่า ก่อนที่กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส จะทรงนิพนธ์กฤษณาสอนน้องคำฉันท์อันเลื่องลือมาจนทุกวันนี้นั้น มีกวีอื่นแต่งฉบับสมบูรณ์เช่นเดียวกันที่เมืองนครศรีธรรมราช แต่งมาก่อนแล้วอย่างน้อยที่สุดก็ 60 ปีขึ้นไป เพราะ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับพระยาราชสุภาวดีและภิกษุอินท์นั้นแต่งเมื่อ พ ศ 2319 ส่วนฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิติโนรสแต่งในช่วงเวลาระหว่าง พ ศ 2397 ปีที่รัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ ถึง พ ศ 2377 อันเป็นปีที่รัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เสร็จเรียบร้อยและโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องต่าง ๆ บนแผ่นหินอ่อน ประดิษฐานไว้ที่วัดนั้น กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ได้จารึกไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ เพราะฉะนั้นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส สมัยเมื่อทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส จะต้องทรงแต่งกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ในช่วง 10 ปีนี้ คือระหว่าง พ ศ 2367 - 2377 อย่างแน่นอน                   ส่วนเรื่องที่ว่า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ จะได้ทรงพบเห็นฉบับนครศรีธรรมราชมาก่อน และทรงแต่งเลียนแบบนั้น คงเป็นไปไม่ได้ เพราะพระยาราชสุภาวดีไม่ใช่กวีบ้านนอกอย่างที่กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงอ้างถึงในคำปรารภต้นเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ของพระองค์ท่านอย่างแน่นอนและอีกประการหนึ่ง กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงเป็นกวีเอกของชาติไทย และทรงเป็นเอตทัคคะในการแต่งฉันท์เป็นที่รู้กันทั้งแผ่นดิน การที่จะทรงแต่งเลียนแบบเลียนสำนวนของกวีผู้อื่นจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะเท่ากับทรงทำลายพระเกียรติยศและความภาคภูมิพระทัยของพระองค์ให้สิ้นไป กวีระดับชาติอย่างพระองค์ย่อมจะทรงทำเช่นนั้นไม่ได้เป็นอันขาด แต่ในคำนำหนังสือกฤษณาสอนน้องฉบับพระยาราชสุภาวดีและภิกษุอินท์ที่กรมศิลปากรตีพิมพ์ เมื่อ พ ศ 2498 มีข้อความบางตอนซึ่งแสดงความอยุติธรรมต่อกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสอย่างยิ่ง คือ                   quot จึงน่าจะเห็นว่า ฉบับพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส อาจทรงแก้ไขดัดแปลงมาจากฉบับที่ตีพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ดังที่ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้เป็นคำชี้แจงในเบื้องต้น แห่งคำฉันท์กฤษณาสอนน้องฉบับสำนวนพระองค์ท่าน quot 2                   เรื่องนี้มีผู้ไม่เห็นด้วยมากมาย และมีผู้ตอบโต้บางท่าน เช่น พระธรรมโกศาจารย์ ชอบ อนุจารี มหาเถระ ได้เขียนโต้แย้งคำนำของกรมศิลปากรไปแล้วอย่างละเอียดพิสดาร เรื่องก็ยุติกันไป                   ปัญหาเรื่องที่มาของเรื่องกฤษณาสอนน้องนี้ ดูจะไม่เป็นปัญหาที่จะต้องคำนึงถึงในสมัยอยุธยาตลอดมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะผู้อ่านต่างก็คิดแต่เพียงว่าคงจะเป็นนิทานโบราณ หรืออย่างวิเศษก็คงเป็นชาดกเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น มิได้คิดเลยไปถึงว่าถ้าเป็นชาดก เหตุใดแก่นเรื่องจึงเป็นเรื่อง ผู้หญิงสอนผู้หญิง ในเรื่องการปรนนิบัติสามี แทนที่จะเป็นเรื่องสอนธรรมะในแง่ใดแง่หนึ่ง อันจะเป็นลักษณะของชาดกทั่วไป กาลล่วงเลยมาจนถึงรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเฉลียวพระทัยว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะมีที่มาจากชาดก เพราะเนื้อหาสาระของเรื่องไม่ชวนให้เข้าใจไปในทำนองนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระเทพโมลี ผู้เป็นปราชญ์ทางพระไตรปิฎกช่วยสอบดูในพระไตรปิฎก ก็ได้ความว่าใน นิบาตชาดก เรื่อง กุณาลชาดก อันเป็นชาดกขนาดยาวประกอบด้วยเรื่องสั้น ๆ หลายเรื่องมารวมกัน เรื่องสั้นแต่ละเรื่องในกุณาลชาดกนั้นล้วนกล่าวถึงความชั่วของผู้หญิง ในแง่ต่าง ๆ เรื่องของนางกฤษณาตามท้องเรื่องว่ามีสามี 5 คน นั้นมีอ้างถึงจริงในกุณาลชาดก เรียกชื่อตามบาลีว่า กัณหา และตามเรื่องในกุณาลชาดกมีข้อความกล่าวถึงนางในฐานะหญิงชั่ว และปรักปรำนางว่ามักมากในกามวิสัยขนาดมีสามีถึง 5 คนแล้วยังไม่เพียงพอ กลับทำชู้กับชายเปลี้ยอีก ฉะนั้นนางกัณหาในกุณาลชาดกย่อมไม่ใช่ตัวอย่างของหญิงที่ดีแน่นอน เมื่อตัวเองเป็นคนชั่วแล้วจะไปสั่งสอนคุณธรรมความดีแก่ผู้อื่นกระไรได้ ด้วยเหตุนี้สรุปตามเหตุผลได้ว่า เรื่องนางกัณหาหญิงชั่วในกุณาลชาดกย่อมไม่ใช่ที่มาของกฤษณาสอนน้องคำฉันท์แน่ๆ                   เมื่อวินิจฉัยจากกุณาลชาดกไม่ได้ พระเทพมุนี พระราชาคณะผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่งได้ถวายความเห็นว่า เรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์นั้น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ อาจทรงนำเรื่องนางกัณหาในกุณาลชาดกที่มีลักษณะเป็นหญิงเลวนั้นมาเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ ให้มีคุณลักษณะเป็นหญิงดี สามารถสั่งสอนคนอื่นให้เป็นคนดีเช่นตนได้ แต่เหตุผลนี้ฟังไม่ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเห็นด้วย                   ในที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรึกตรองด้วยพระปรีชาญาณ หาสาเหตุนอกพระบาลี และมีพระราชดำริว่าคงเป็นเรื่องที่มีมาในวรรณคดีสันสฤกตมากกว่า ถ้าเป็นไปตามแนวพระราชดำรินี้ บางทีอาจพบเรื่องนางกฤษณาในมหากาพย์มหาภารตะก็ได้ เพราะเรื่องมหาภารตะอันมีความยาวถึงแสนโศลกนั้นมีตัวนางเอกชื่อนางกฤษณา หรือเทราปที ทรงพระราชวินิจฉัยว่า                   quot คิดเห็นว่าเรื่องต้นของนางกฤษณาสอนน้องคงจะมาจากที่อื่น เป็นแต่ชื่อเสียงจะขาดวิ่น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตจะทรงแต่งให้บริบูรณ์ดี จึงได้เก็บชื่อในบาลีมาซ่อมแซมลง ดีร้ายจะมีมาแต่หนังสือมหาภารตะ ซึ่งเป็นเรื่องรวบรวมนิทานเก่าและลัทธิต่างๆ ที่ถือกันอยู่ในมัชฌิมประเทศก่อนเวลาพุทธกาล จึงได้อ่านหนังสือมหาภารตะเสาะแสวงหาความจริงอันนี้ จนบัดนี้มาพบเรื่องนั้นสมประสงค์แล้ว จะขอยืนยันได้ว่า กฤษณาสอนน้องที่มาแต่งเป็นคำฉันท์นั้นไม่ได้มาจากบาลี เราคงจะได้มาจากพราหมณ์ ซึ่งมาเป็นครูบาอาจารย์ของเราแต่ก่อนเหมือนเรื่องรามเกียรติ์เป็นแน่ quot 3                   พระบรมราชวินิจฉัยนี้ได้ไขแสงสว่างต่อปัญหาที่ไม่มีใครทราบมาหลายศตวรรษให้เป็นที่รู้อย่างแจ่มแจ้ง และสามารถติดตามเรื่องกฤษณาสอนน้อง ไปจนถึงที่สุด ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงชี้ทางให้โดยเริ่มต้นจากจุดที่ถูกต้อง คือ เริ่มที่เรื่องมหาภารตะนี้เอง                   มหากาพย์มหาภารตะ วนบรรพ เล่าเรื่องว่า นางกฤษณา หรือ นางเทราปที ผู้เป็นราชธิดาแห่งท้าวทุรบทแห่งนครปัญจาล ได้เป็นมเหสีของกษัติย์ปาณฑพ 5 องค์ คือ ยุธิษฐิระ ภีมะ อรชุน นกุล และ สหเทพ ต่อมากษัติย์พี่น้องทั้ง 5 องค์แพ้พนัน ทุรโยธน์ เจ้าชายแห่งเชื้อสายเการพ อันอยู่ในราชสกุลจันทรวงศ์เดียวกัน ต้องถูกเนรเทศไปเดินป่า 12 ปี ปีที่ 13 ต้องปลอมตัวมิให้ใครจำได้ ถ้ามีผู้จำได้ต้องเดินป่าอีก 14 ปี กษัตริย์ปาณฑพทั้งห้า พร้อมด้วยนางกฤษณาได้ร่อนเร่พเนจรไปจนถึงภูเขาหิมาลัย และเข้าไปสู่เมืองอลกาซึ่งเป็นนครหลวงของท้าวไพศรพณ์ หรือเวสสุวัณณ์ ส่วนอรชุนเดินทางต่อไปจนถึงสวรรค์ชั้นตรัยตรึงศ์ของพระอินทร์ หลังจากนั้นก็เดินทางกลับมายังป่าชื่อ กามยกะ ได้รับการต้อนรับจากฤษีและพราหมณ์ ทั้งปวงที่อยู่ในป่ากามกยะเป็นอย่างดี ฝ่ายพระกฤษณะ นารายณ์อวตารปางที่ 8 ซึ่งครองนครทวารกา หรือทวารวดี ทราบข่าวก็มาเยี่ยมโดยพานางสัตยภามา มเหสีคนโปรดผู้เป็นราชธิดาของพระเจ้าสัตราชิตมาด้วย พระกฤษณะมีชายาหมื่นหกพันนาง และทรงแบ่งภาคเป็นรูปพระกฤษณะเหมือนกันจำนวนหมื่นหกพันองค์ เพื่อให้ชายาทุกคนเข้าใจว่าพระองค์เป็นสามีของนางแต่ผู้เดียว ทั้งนางกฤษณาและนางสัตยภามาต่างก็เป็นเพื่อนสนิทกันและถ้อยทีถ้อยปราศรัยสนทนากัน บทสนทนาของนางทั้งสอง ณ ป่ากามยกะนี้เป็นตอนเล็กๆ ตอนหนึ่งที่รวมอยู่ในเรื่องใหญ่คือมหาภารตะ ข้อความตอนนี้มีชื่อว่า เทราปที สัตยภามาสํวาท                   และข้อความในเทราปทีสัตยภามาสํวาทนี้แล คือเรื่องแท้ๆ ทั้งหมดในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ จะต่างกันนิดหนึ่งก็ตรงที่ว่า นางกฤษณาในมหาภารตะนี้ไม่มีน้องสาว มีแต่น้องชายคนเดียว เพราะฉะนั้นในมหาภารตะ นางกฤษณาจึงไม่มีเรื่องราวตอนใดที่จะต้องสอนน้อง มีแต่การสนทนากันฉันเพื่อนสนิท คือนางสัตยภามาเท่านั้น บทสนทนาระหว่างหญิงทั้งสองดังกล่าวนี้ มีเนื้อหาสาระคล้ายคลึงกับเนื้อเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ของไทย มากที่สุดโดยอาจสรุปข้อความเป็น 3 ตอนด้วยกัน คือตอนแรกว่าด้วยลักษณะหญิงชั่ว ตอนที่ 2 ว่าด้วยลักษณะหญิงที่ดี และตอนที่ 3 ที่มีข้อความยาวที่สุดคือคำสอนที่ว่าหญิงผู้มีสามีแล้วควรปรนนิบัติสามีของตนอย่างไร สามีจึงจะมีความสุข และผลของการปฏิบัติบำรุงสามีอย่างดีเลิศนี้เองจะเป็นผลส่งเสริมให้ตัวผู้ปฏิบัติเองมีความสุขความเจริญตามไปด้วย                   บทสนทนาเชิงสอนแนะใน เทราปทีสัตยภามาสํวาท นั้น มีลักษณะอันเป็น โลกทรรศน์ของฮินดู เพราะฉะนั้นย่อมมีความแตกต่างจากคำสอนในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ของไทย อยู่บ้างเป็นธรรมดา แต่เป็นความแตกต่างในข้อปลีกย่อยเล็กน้อย แต่ในส่วนใหญ่อันเป็นแกนร่วมกันระหว่างฉบับของอินเดียกับฉบับของไทยมีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด โดยเฉพาะการเน้นเรื่อง quot ภักดี quot ที่ฝ่ายภรรยาพึงยึดถือเป็นคุณธรรมประจำใจในการปรนนิบัติสามีของตน ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจเป็นที่เหยียดหยามของคนไทยรุ่นปัจจุบัน เพราะดูเป็นการ quot หมอบราบคาบแก้ว quot เกินไปจนทำให้เสียสิทธิอิสระโดยชอบธรรมของผู้หญิง ต้องถูกกดถูกขีดวงให้จำกัดแคบลงไปราวกับทาส และลักษณะอย่างนี้ก็เข้าหลัก quot เมียทาส quot อันเป็นภรรยาประเภทหนึ่งที่อ้างถึงในวรรณคดีบาลีอีกด้วย                   ตอนขึ้นต้นบทสนทนาของนางกฤษณากับนางสัตยภามากับกฤษณาสอนน้องมีลักษณะเหมือนกัน คือนางสัตยภามามีความข้องใจว่าตนเองมีสามีคือพระกฤษณะ ซึ่งนางก็มีความสุขอยู่บ้าง แต่ต้องคอยกังวลเกี่ยวกับความเจ้าชู้ของสามี ซึ่งนางต้องคอยติดตามสอดส่องบ่อยๆ นางอยากให้สามีจริงใจต่อนางกฤษณาอย่างแท้จริง อันเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งหลายโดยทั่วไป นางกฤษณามีเวทมนต์ศักดิ์สิทธิ์อันใดหรือที่จะใช้ผูกมัดจิตใจสามีได้ ถ้ามีก็ข้อให้สอนแก่ตนด้วย เรื่องนี้นางจิรประภาซึ่งเป็นน้องสาวของนางกฤษณาในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ก็กล่าวแก่นางกฤษณาในทำนองเดียวกัน ซึ่งทั้งฉบับอินเดียกับฉบับไทยก็แสดงคำตอบของนางกฤษณาเหมือนกันว่า นางไม่เคยใช้เวทมนต์กระทำให้สามีรัก และถ้าบังเอิญจะมีก็ไม่คิดจะใช้ เพราะการทำเช่นนั้นก่อให้เกิดโทษมากกว่าจะเป็นคุณ แล้วเป็นการกระทำของหญิงชั่วไม่พึงยึดถือเป็นแบบอย่าง                   ใน เทราปทีสัตยภามาสํวาท นางกฤษณาได้กล่าวอธิบายเรื่องนี้ว่า                   quot ดูกรนางสัตยภามา ซึ่งท่านถามเรานี้ ได้ถามถึงความประพฤติของหญิงชั่ว เราจะตอบท่านอย่างไรได้ในหนทางซึ่งหญิงที่ชั่วประพฤติ ความประพฤติเช่นนั้นไม่สมควรแก่ท่าน ถ้าเราจะตอบตามคำที่ท่านถามก็ดี หรือท่านจะสงสัยเราในเรื่องเหล่านี้ก็ดี เป็นการไม่สมควรเลยที่ท่านเป็นผู้มีปัญญาเป็นภรรยาที่รักของกฤษณะ เมื่อสามีทราบความว่าภรรยาของตนชอบใช้ยาเป็นเครื่องประกอบในเรื่องนี้เมื่อใด ในชั่วโมงนั้นก็ย่อมเกิดความเกรงกลัวภรรยาผู้นั้นเหมือนอย่างงูซึ่งซ่อนตัวอยู่ในห้องนอน บุรุษที่ได้ความลำบากอยู่ด้วยความกลัว จะได้ความสงบระงับมาแต่ไหน สามีผู้ใดซึ่งจะปราบให้กลัวเกรงภรรยาได้ด้วยเสน่ห์เล่ห์ลมของเมียนั้นย่อมไม่มี เราย่อมได้ยินความป่วยไข้อันเป็นที่น่าสงสารอันเกิดขึ้นด้วยศัตรูทำ ผู้หญิงบางคนทำให้ชายเป็นมาน เป็นโรคเรื้อน ผอมแห้ง ทรุดโทรม ไม่มีแรง มึนซึม เสียจักษุ หูหนวก หญิงเหล่านี้ย่อมเดินไปแต่ในหนทางที่บาป จึงได้ทำให้เกิดอันตรายแก่สามี แต่ภรรยาที่ดีแล้วไม่ควรเลยที่จะทำอันตรายแก่สามีของตัว quot 4               สำนวนแปลพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                   จากนั้นก็มีข้อความต่อไปยืดยาว รวมข้อความสนทนาทั้งหมดอยู่ใน 2 ตอนใหญ่ๆ คือ ตอนที่ 232 และ 233 แห่งวนบรรพ มหาภารตะทั้งสองตอนนี้ ผู้สนใจจะอ่านได้จากสำนวนแปลพระราชนิพนธ์ดังกล่าวซึ่งทรงไว้เมื่อ พ ศ 2433                   นางกฤษณาผู้เป็นตัวเอกในเรื่องนี้ถือว่าเป็นนางแก้วผู้หนึ่งในวรรณคดีสันสกฤต เป็นที่นับถือยกย่องของสามีคือกษัตริย์ปาณฑพทั้งห้าจนตลอดชีวิต แม้สามีจะได้ภรรยาอื่นอีกหลายคนในภายหลังก็มิได้คลายความรักความยกย่องในตัวนางเลย คงนับถือว่านางเป็นภริยาเอกของพวกตนยิ่งกว่าภรรยาอื่นๆ นางมีโอรสอันเกิดจากสามีทั้งห้า เรียงตามลำดับคือ โอรสอันเกิดจากยุธิษฐิระ มีชื่อว่า ประติวินธัย โอรสอันเกิดจากภีมะมีชื่อ ศรุตโสม โอรสอันเกิดจากอรชุนชื่อว่า ศรุตเกียรติ โอรสอันเกิดจากนกุลชื่อ ศตานีก และโอรสอันเกิดจากสหเทพชื่อ ศรุตกรรมัน                   ตัวนางกฤษณาเองมีชื่ออ้างหลายชื่อในมหาภารตะ คือ กฤษณา เทราปที นิตยเยาวนา ปาญจาลี ปัญจมี ไสรินธรีปารษตี ยาชญเสนี                   นางกฤษณาในวัยชราได้ติดตามสามีทั้งห้าจาริกแสวงบุณย์ไปจนถึงภูเขาเมรุ พระสุเมรุ เพื่อจะขึ้นไปสู่นครอมราวดี ของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นตรัยตรึงศ์ แต่เมื่อบรรลุถึงเชิงเขาพระเมรุ นางกฤษณาได้ล้มลงและสิ้นชีวิตเป็นคนแรก ที่มา www praphansarn com

กฤษณาสอนน้อง, กฤษณาสอนน้อง หมายถึง, กฤษณาสอนน้อง คือ, กฤษณาสอนน้อง ความหมาย, กฤษณาสอนน้อง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu