ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลูกกินยายากทำอย่างไรดี?, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี? หมายถึง, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี? คือ, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี? ความหมาย, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
คำถาม

ลูกกินยายากทำอย่างไรดี?

เวลาป้อนยาลูกจะอมบีบจมูก ก็ จะอ๊วกออกมาทุกครั้งจะทำอย่างไรดี

คำตอบ

                  ยากับเด็กมักจะเป็นเรื่องที่หนีกันไม่พ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่งเด็กก็ต้องมีโอกาสได้กินยาแน่ เด็กที่ไม่ค่อยป่วยก็ยังมีโอกาสต้องกินยาเหมือนกัน นั่นคือเด็กทุกคนต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตามเวลาที่กำหนด และหลังฉีดวัคซีนบางชนิด เด็กจะมีไข้อยู่ราว 1-2 วัน ซึ่งทำให้เขาต้องกินยาลดไข้ คุณพ่อคุณแม่บางคนที่มีลูกกินยาง่าย ก็นับว่าคุณพ่อคุณแม่โชคดี บางครั้งหมอได้มีโอกาสเห็นคุณแม่ป้อนยาลูก เห็นคุณแม่ดูดยาใส่หลอดฉีดยาที่ไม่มีเข็ม แล้วลูกก็อ้าปาก คุณแม่ก็ใส่ยาเข้าในปากลูก แล้วดูดน้ำอีกหนึ่งหลอดฉีดยาแล้วใส่ตามเข้าไป เท่านี้ก็เรียบร้อย หมอเห็นแล้วยังนึกอิจฉาคุณแม่ท่านนั้นจริงๆ ที่มีลูกกินยาได้ง่ายมาก แต่เด็กที่กินยาง่าย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวังอย่าวางขวดยาไว้ในที่ลูกหยิบถึง มิฉะนั้น ลูกอาจหยิบยามากินแทนขนมได้                   สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ซึ่งกินยายาก หมอมีหลายวิธีที่จะแนะนำวิธีหนึ่ง อาจใช้ได้กับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจใช้ไม่ได้กับเด็กอีกคนหนึ่ง ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักเลือกวิธีป้อนยาที่เหมาะสำหรับลูกเรามากที่สุด                   ในเด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน เราอาจใช้วิธีใส่ยาลงในจุกนมยางที่ลูกใช้ดูดนมหรือน้ำเป็นประจำ โดยถอดจุกออกจากขวด แล้วใส่ยาในปริมาณที่ต้องการลงไป แล้วนำจุกนมไปใส่เข้าในปากลูก ในเด็กเล็กๆ เวลามีอะไรอยู่ในปากเขาจะดูดเสมอ ลูกก็จะดูดยา และกลืนยาเข้าไป แต่เมื่อยาหมดแล้วต้องรีบเอาจุกนมออกจากปากลูกนะคะ มิฉะนั้นลูกอาจจะดูดลมเข้าไปในกระเพาะมาก ทำให้อึดอัดและแหวะนมได้                   สำหรับเด็กที่โตขึ้นมา อายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ถ้าคุณแม่ใช้ช้อนยาป้อนลูกแล้วลูกไม่ยอมกิน อาจลองเปลี่ยนมาใช้วิธีป้อนยา โดยหลอดฉีดยาพลาสติกที่ไม่มีเข็ม ซึ่งมีหลายขนาด ให้ถูกกับปริมาณยาที่จะป้อน หลอดฉีดยาพลาสติกนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 1 ซีซี 2 5 ซีซี และ 10 ซีซี หรืออาจใช้หลอดหยดยาก็ได้ ซึ่งหลอดหยดยาหรือดรอฟเปอร์นี้ มักเป็นขนาด 1 ซีซี เท่านั้น ถ้าต้องกินยา 5 ซีซี 1 ช้อนชา ก็ต้องดูดมาป้อน รวม 5 ครั้ง เมื่อดูดยาเข้าหลอดเรียบร้อยแล้ว ก็จับลูกนอน คุยกับลูก อาจให้คุณพ่อถือของเล่นอยู่ข้างๆ แล้วค่อยๆ หยดยาในหลอดเข้าไป บริเวณกระพุ้งแก้มด้านใดด้านหนึ่งช้าๆ อย่าหยดยาเข้าปากอย่างเร็ว ลูกอาจขัดขืนได้ ลูกจะค่อยๆ กลืนยาเข้าไป การที่จะตั้งหน้าตั้งตาป้อนยาให้เสร็จอย่างรวดเร็วในเด็กเล็กๆ คงทำได้ยาก เพราะเด็กวัยนี้จะห่วงเล่น ถ้าเรายอมให้ลูกเล่นไปด้วย ป้อนยาไปด้วย เด็กจะยอมรับยาได้มากขึ้น ท่าทีของคนป้อนยาสำคัญมาก ต้องอดทนค่อยๆ ป้อน ถ้ามีการขู่บังคับเด็กจะขัดขืนมาก จะทำให้ป้อนไม่ได้ หรืออาจจะสำลักยาเข้าปอดหรืออาเจียนได้ หลอดฉีดยาแบบพลาสติกนี้ เมื่อใช้ไปนานๆ ตัวเลขอาจจะเลือนไปได้ ถ้าคุณแม่มองตัวเลขไม่ชัด ควรเปลี่ยนอันใหม่ดีกว่า มิฉะนั้นอาจจะให้ปริมาณยาแก่ลูกผิดได้ค่ะ                   เด็กบางคนกินยาบางชนิดได้ แต่พอให้กินชนิดอื่นกลับไม่ยอมกิน ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสชิมยาของลูก จะพบว่า ยาที่ลูกยอมกินนั้นมักจะมีรสชาติ บางชนิดอร่อยมากเหมือนน้ำองุ่น แต่ยาบางชนิดจะรสชาติไม่ดี ซึ่งมักจะเป็นยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ หรือยาขยายหลอดลม ยาจำพวกนี้ตัวยาเองจะมีรสไม่อร่อย แม้ทางบริษัทยาจะปรุงแต่งรสให้อร่อยขึ้นอย่างไรก็จะไม่สามารถกลบรสเดิมของยาไปได้ ทำให้กลายเป็นยาที่ไม่อร่อย เด็กไม่ชอบกิน ซึ่งถ้าลูกของคุณไม่ยอมกินยาดังกล่าว เราอาจลองเจือจางยาด้วยน้ำต้มสุกเล็กน้อย เพื่อให้รสอ่อนลง แล้วอาจจะใส่ขวดให้ลูกดูดให้หมดในครั้งเดียว หรืออาจผสมในน้ำผลไม้ก็อาจจะกลบรส และกลิ่นของยาลงได้บ้าง สำหรับเด็กโตที่ไม่อยากให้ดูดจากขวด อาจเติมน้ำเขียว หรือน้ำแดงชนิดเข้มข้นลงไปสักเล็กน้อย เพื่อให้รสหวานขึ้น เด็กๆ มักชอบรสหวาน ฉะนั้น การเสริมรสหวานลงไปก็จะทำให้เด็กสามารถกินยานั้นได้                   ในเด็กโตบางครั้งจำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะชนิดแคปซูล เพราะถ้ากินยาชนิดน้ำนั้น จะต้องกินปริมาณมาก ถ้าลูกยังกลืนยาไม่ได้ คุณแม่สามารถแกะปลอกแคปซูลออก แล้วนำผงข้างในมาให้ลูกกิน แต่เนื่องจากยาผงมักจะมีรสขม คุณแม่สามารถเติมน้ำหวานเข้มข้นลงไปเล็กน้อย แล้วให้ลูกกินแล้วดื่มน้ำตาม ลูกก็จะกินยาได้ สำหรับเด็กโตที่พอจะกลืนยาเม็ดเล็กๆ ได้บ้าง เมื่อต้องการกินยาเม็ดโตๆ คุณแม่แบ่งยาเม็ดโตนั้นๆ ให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยๆ ให้ลูกกลืนทีละชิ้น ลูกจะกลืนได้ค่ะ                   สำหรับเด็กที่กินยายากมากจริงๆ แม้จะลองวิธีไหนก็ไม่ได้ผล เวลาไปพบแพทย์ คุณแม่ต้องบอกคุณหมอให้คุณหมอจัดยาให้น้อยชนิดที่สุด และยาที่สามารถเปลี่ยนจากชนิดกินมาเป็นชนิดเหน็บทางทวารได้ ก็ขอให้คุณหมอช่วยจ่ายชนิดที่ใช้เหน็บทางทวารแทน เช่น ยาลดไข้ เป็นต้น หรือในเด็กที่กินยารสจัดมากไม่ได้ การเปลี่ยนยาจากชนิดที่ต้องกิน โดยใช้หลอดหยด กินในปริมาณที่น้อย ฉะนั้น ปริมาณยาต่อซีซีจึงมาก รสชาติจึงอาจจะไม่อร่อย มาเป็นตัวยาเดียวกัน แต่ทำเป็นชนิดน้ำเชื่อม ต้องกินในปริมาณที่มากกว่าแบบหลอดหยด แต่ปริมาณตัวยาต่อซีซีน้อยกว่า รสชาติจึงดีกว่า ก็จะทำให้เด็กกินยาชนิดนั้นได้ค่ะ                   แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการป้อนยา คือท่าทีของคนป้อน ต้องไม่ขู่ ไม่ดุ ควรอธิบายให้ลูกรู้ว่าทำไมต้องกินยา ต้องค่อยๆ ป้อนด้วยท่าทีที่นุ่มนวล อาจจะให้เวลาสักนิด ต้องอดทน ขอบคุณข้อมูลจาก   ศ นพ เทพ หิมะทองคำ                                                                   กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์  

ลูกกินยายากทำอย่างไรดี, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี หมายถึง, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี คือ, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี ความหมาย, ลูกกินยายากทำอย่างไรดี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu