GMOs คืออะไร ? มีความเสี่ยงอย่างไร ??
GMOs คืออะไร มีความเสี่ยงอย่างไร
GMOs คืออะไร มีความเสี่ยงอย่างไร
สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรม หรือการตัดแต่ง ยีนนั้น เราเรียกกันว่า GMOs Genetically Modified Organisms เทคนิคพันธุวิศวกรรมนับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มี ศักยภาพ คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเป้าหมายได้ในระยะเวลาอันสั้น อาจเพียงหนึ่งชั่วชีวิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีคุณสมบัติดีตามความต้องการ ซึ่งต่างจากการปรับปรุงพันธุ์ที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่สามารถกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อย่างไรก็ตามจะต้องตระหนักว่า เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นย่อมเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และถูกวิธี เทคโนโลยีสามารถเอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น เพิ่มผลผลิต เพิ่มประโยชน์ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตเพิ่มความหลากหลาย สนับสนุนการบำรุงรักษาทรัพยากรชีวภาพและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในส่วนของการนำเทคนิคพันธุวิศวกรรมมาใช้ ยังมีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงของนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มผู้อนุรักษ์ และผู้บริโภคทั่วโลก ในขณะนี้ก็คือ ประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่อาจส่งผลกระทบกับสุขภาพของมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เพราะความเสี่ยงหรือ อันตรายที่อาจเกิดจาก การใช้ GMOs ซึ่ง ณ เวลานี้ได้กลายมาเป็นปัญหาทางการค้า ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรป เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกสินค้า GMOs รายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ส่วนในสหภาพยุโรป ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดความกลัวและขาดความมั่นใจ ในระบบทดสอบความปลอดภัย หรืออีกกระแสกล่าวว่าการต่อต้านอาจเกิดขึ้นเพราะการมีจุดด้อยของเทคโนโลยีในสหภาพยุโรปที่ไม่สามารถจะไล่ตามสหรัฐอเมริกาได้ สำหรับในประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศ เพื่อให้มรการทดสอบผลิตภัณฑ์พืช GMOs ก่อนการนำไปใช้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2537 เรื่องกำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหนะจากแหล่งที่กำหยดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตาม พ ร บ กักพืช พ ศ 2507 ฉบับที่ 2 พ ศ3 2537 แต่มาตรการที่เป็นรูปธรรมในเชิงกฎหมายที่จะมีการควบคุมการนำเข้าและการส่งออกหรือไม่อย่างไรนั้น กำลังอยู่ในขั้นพิจารณา ซึ่งจะต้องทำอย่างรอบคอบเพราะว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และจะมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยเป็นอย่างสูง ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการเริ่มได้รับผลกระทบแล้ว จากการที่มีผู้เรียกร้องจากคู่ค้าในต่างประเทศ ให้มีการรับรองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกว่า มีองค์ประกอบที่เป็น GMOs อยู่ด้วยหรือไม่ เพื่อให้บริการต่อผู้บริการเหล่านี้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ไบโอเทค จึงได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการพิเศษ DNA TECHNOLOGY SERVICE LABORATORY ที่สามารถตรวจสอบตัวอย่างพืชผล หรืออาหารแปลรูปว่ามาจากการตัดแต่งยีนหรือไม่ นอกจากนี้ยังให้บริการตรวจสอบความตรงต่อสายพันธุ์ของพืชและสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปลาทูน่า ข้าวโพด ถั่วเหลือง กุ้ง โค สุกร สัตว์ปีก เทคนิคพันธุกรรมเป็นเครื่องมือหนึ่งของมนุษย์ที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการพัฒนาการเกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรม หรือแม้แต่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แต่การนำเทคนิคพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์นั้น จำเป็นต้องให้แน่ใจว่าได้มีการพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยฐานบนเหตุและผลตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรียกว่าการพิจารณา “ ความปลอดภัยทางชีวภาพ ” biosafety แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการนำมาใช้ก็ควรมีการติดตามดูแลอีกระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรผิดไปตากที่คิดไว้ ข้อมูลจาก เวปไซด์บริษัทเทพวัฒนา
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!