ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สำนวนไทยในวรรณคดี?, สำนวนไทยในวรรณคดี? หมายถึง, สำนวนไทยในวรรณคดี? คือ, สำนวนไทยในวรรณคดี? ความหมาย, สำนวนไทยในวรรณคดี? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

สำนวนไทยในวรรณคดี?

สำนวนในวรรณคดีไทยคืออะไร

คำตอบ

คำ “ วรรณคดี ” เป็นแนวคิดที่คนไทยรับมาจากชาติตะวันตก ก่อนหน้านี้เรามักใช้คำว่า “ หนังสือ ” หรือมิฉะนั้นก็เรียกชื่อหนังสือประกอบกับลักษณะคำประพันธ์ของหนังสือ เช่น เสือโคคำฉันท์ กากีกลอนสุภาพ กาพย์พระไชยสุริยา เป็นต้น                     คำว่า “ วรรณคดี ” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 แค่เริ่มใช้เป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นในสมัยใดก็ได้ที่แต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ ยกเว้นตำราแบบเรียน ความเรียง เรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี วรรณคดีเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ และใช้ภาษาได้ดี                         หนังสือที่ยอมรับว่าเป็นวรรณคดี ได้แก่ หนังสือรุ่นเก่าซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นร้อยๆ ปี ก็ยังมีคุณค่า สามารถชี้ลักษณะเด่นได้ เช่น บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน และ ลิลิตพระลอ เป็นต้น ข้อสำคัญเป็นหนังสือที่เหมาะแก่คนอ่านทุกวัย ยิ่งคนอ่านมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เขียนแต่งขึ้นอย่างประณีตและกลั่นกรองเรื่องราวมาจากความเจนจัดของชีวิต ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย                     นับจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา ได้มีการแต่งวรรณกรรมไทยต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสาย วรรณกรรมที่แต่งกันมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ล้วนเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาแบบไทย กล่าวคือ มีกระบวนการคิด กระบวนการแต่งเรื่องเป็นแบบไทยโดยที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก   ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย จำแนกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้                     1 นิยมด้วยคำประพันธ์ร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว วรรณคดีร้อยแก้วเพิ่งเริ่มมานิยมในสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนกน้านั้นถือว่านักปราชญ์และลูกผู้ดีมีตระกูลที่เตรียมตัวจะเข้ารับราชการ ต้องเรียนรู้วิธีแต่งคำประพันธ์ด้วย ดังข้อความใน เพลงยาวกลอนสุภาพเรื่องพระราชปรารภ ว่า                     “ ด้วยก่อนเก่าเหล่าลูกตระกูลปราชญ์ ทั้งเชื้อชาติชนผู้ดีมียศศักดิ์ ย่อมหัดฝึกศึกษาข้างอาลักษณ์ ล้วนรู้หลักพากย์พจน์กลบทกลอน ”   พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                     การแต่งหนังสือหรือการแต่งวรรณคดีจึงนิยมแต่งเป็นบทกลอน ลักษณะภาษากาพย์กลอนที่มีสัมผัสคล้องจองสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่ชอบพูดจาคล้องจองกันทำให้เกิดจังหวะของเสียงจังหวะของคำ แม้ภาษาพูดก็มีลีลาเป็นร้อยกรองแบบง่ายๆ เช่น                     หม้อข้าวหม้อแกง ข้าวยากหมากแพง ขนมนมเนย                     ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว                     ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน                     ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก                     เมื่อกวีเลือกสรรถ้อยคำแล้วนำมาเรียบเรียงด้วยกลวิธีอันประณีตตามรูปแบบของลักษณะคำประพันธ์แต่ละชนิด ได้แก่ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ก็ยิ่งทำให้ความไพเราะของภาษามีมากยิ่งขึ้น                     2 เน้นความประณีตของคำและสำนวนโวหาร ภาษาที่ใช้ในวรรณคดีไม่เหมือนภาษาพูดทั่วไป คือ เป็นภาษาที่มีการเลือกใช้ถ้อยคำตกแต่งถ้อยคำให้หรูหรา มีการสร้างคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันที่เรียกว่า คำไวพจน์ โดยใช้รูปศัพท์ต่างๆ กัน เพื่อมิให้เกิดความเบื่อหน่ายจำเจ เช่น                     ใช้คำว่า ปักษา ปักษี สกุณา สกุณี ทวิช แทนคำว่า “ นก ”                     ใช้คำว่า กุญชร คช ไอยรา หัตถี กรี แทนคำว่า “ ช้าง ”   นอกจากนั้นยังมีการใช้ภาษาสัญลักษณ์ เช่น ใช้คำ ดวงจันทร์ บุปผา มาลี เยาวมาลย์ แทนคำว่า “ ผู้หญิง ” เป็นต้น                     การที่กวีไทยมุ่งเน้นความงาม ความไพเราะของคำทำให้กวีนิยมเล่นคำ เล่นสัมผัส เช่น นิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ บทนี้เล่นเสียง ร และ ว ดังตัวอย่าง                     ป่าแสมแลเห็นอยู่ริ้วริ้ว ให้หวิวหวิววาบวับฤทัยไหว จะหลบหลีกเข้าฝั่งก็ยังไกล คลื่นก็ใหญ่โยนเรือเหลือกำลัง                     นอกจากนี้กวีไทยยังมุ่งแสดงฝีมือในการสร้างสำนวนโวหารเปรียบเทียบโดยการใช้ภาพพจน์เพื่อสื่อภาพในจินตนาการ ซึ่งให้ความรู้สึกลึกซึ้งกว่าภาพปกติที่ตาเห็น เช่น กวีเห็นต้นลำพูริมน้ำมีฝูงหิ่งห้อยจับอยู่ดูสวยงาม แสงแวววามของหิ่งห้อยโยงให้กวีคิดถึงแหวนที่นิ้วก้อยของนางผู้เป็นที่รักดังความว่า   ลำพูรายชายเลนดูเอนโอน วายุโยนยอดระย้าริมสาคร หิ่งห้อยจับวับวามอร่ามเหลือง ดูรุ่งเรืองรายจำรัสประภัสสร เหมือนแหวนก้อยพรอยพรายเมื่อกรายกร ยังอาวรณ์แหวนประดับด้วยหลับตา   นิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่                     3 เน้นการแสดงความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์จาการรำพันความรู้สึก ตัวละครในเรื่องจะรำพันความรู้สึกต่างๆ เช่น รัก เศร้า โกรธ ฯลฯ เป็นคำกลอนยางหลายคำกลอน                     ดังตัวอย่างอิเหนาคร่ำครวญถึงนางบุษบาที่ถูกลมหอบไป ดังนี้                     เมื่อนั้น พระสุริย์วงศ์อสัญแดหวา ฟื้นองค์แล้วทรงโศกา โอ้แก้วแววตาของเรียมเอย ป่านฉะนี้จะอยู่แห่งใด ทำไฉนจึงจะรู้นะอกเอ๋ย ฤๅเทวาพาน้องไปชมเชย ใครเลยจะบอกเหตุร้ายดี สองกรพระค่อนอุราร่ำ ชะรอยเวรกรรมของพี่ ได้สมน้องแต่สองราตรี ฤๅมิ่งมารศรีมาจากไป พระยิ่งเศร้าสร้อยละห้อยหา จะสรงเสวยโภชนาก็หาไม่ แต่ครวญคร่ำกำสรดระทดใจ สะอื้นไห้โศกาจาบัลย์   อิเหนา สำนวนรัชกาลที่ 2                     ในงานประเภทนิราศกวีถ่ายทอดความรู้สึกสะเทือนใจได้เต็มที่ กวีมักพรรณนาธรรมชาติไปตามอารมณ์ของตน ธรรมชาติจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ของกวี ในผลงานประเภทนี้จึงมักเน้นความรู้สึกมากกว่าภาพที่เห็นได้ด้วยตา                     ดังตัวอย่างบทชมปลา กวีเห็นตัวปลาจริง แต่กวียกขึ้นมาพรรณนาเฉพาะลักษณะที่ทำให้จิตประหวัดไปถึงคนรักเท่านั้น                     พิศพรรณปลาว่ายเคล้า คิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์ มัศยายังรู้ชม สมสาใจไม่พามา นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย เพียนทองงามดังทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย กระแหแหห่างชาย ดังสายสวาสดิ์คลาดจากสม   กาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรหรือเจ้าฟ้ากุ้ง                     การที่กวีไทยเน้นอารมณ์มากกว่าแนวคิดทำให้วรรณคดีไทยไม่นิยมเสนอปัญหาหรือเสนอเนื้อหาที่มุ่งแสดงความคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมุ่งแสดงความคิดเห็นขัดแย้ง                     4 มีขนบการแต่ง กล่าวคือ มีวิธีแต่งที่นิยมปฏิบัติแนวเดียวกันมาแต่โบราณ ได้แก่ ขึ้นต้นเรื่องด้วยการกล่าวคำไหว้ครู คือ ไหว้เทวดา ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้ครูบาอาจารย์ สรรเสริญพระเกียรติคุณของพระหมากษัตริย์ หรือกล่าวชมบ้านเมือง ดังตัวอย่าง   ร่ายนำนิราศนรินทร์                     ศรีสิทธิพิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผางเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน เข็ญข่าวยินยอบตัว คอบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อนมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิดฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ                     ร่ายบทนี้ขึ้นต้อนด้วยการกล่าวชมเมืองบ้าง คือ กรุงเทพฯ ว่า สวยงามราวกับเมืองสวรรค์ พร้อมกันนั้นก็กล่าวยกย่องพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ที่สามารถขยายอาณาจักรให้กว้างขวาง และเป็นที่เกรงขามของเพื่อนบ้านอันทำให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุขได้ จะเห็นได้ว่า กวีแต่งขึ้นด้วยอารมณ์ความรู้สึกรักและภูมิใจในชาติของตนเป็นอย่างยิ่ง                     ในวรรณคดีไทยหลายเรื่องมักบอกชื่อผู้แต่งและจุดประสงค์ในการแต่ง ดังตัวอย่างจาก กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรหรือเจ้าฟ้ากุ้ง                     “ จบเสร็จชมนกไม้ ในแหล่งไหล้พนัสสถาน หญิงชายฟังสำราญ ที่ผิดผ่านวานแต้มเขียม hellip เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ไชยเชษฐ์สุริย์วงศ์เพียร แต่งไว้ให้สถิตเสถียร จำเนียรกาลนานสืบไป ”                     กวีบอกจุดประสงค์ในการแต่งไว้ว่าเขียนบทชมนกชมไม้นี้เพื่อให้คนฟังๆ อย่างเพลิดเพลิน และยังแสดงความใจกว้างโดยอนุญาตให้ผู้ฟังแก้ไขคำที่เป็นว่าผิดได้ ในกาพย์บทหลังกวีระบุชื่อของตนไว้อย่างชัดเจน และระบุความปรารถนาไว้ว่าแต่งขึ้นเพื่อให้ผลงานเรื่องนี้ดำรงคงอยู่นานเท่านาน                     อนึ่ง สำหรับการบอกชื่อผู้แต่งวรรณคดีรุ่นเก่าก่อนสมัยรัตนโกสินทร์กวีไม่นิยมระบุชื่อ เพราะถือว่าเป็นการแต่งถวายเจ้านายหรือเพื่อสืบพระศาสนา                     ในด้านการดำเนินเรื่อง มีการบรรยายและพรรณนาฉากต่างๆ และความรู้สึกต่างๆ ด้วยสำนวนโวหารที่คล้ายคลึงกัน เช่น บทชมธรรมชาติ บทชมความงามของตัวละคร และบทคร่ำครวญต่างๆ                     ตัวอย่าง บทชมธรรมชาติเรื่องอิเหนา รัชกาลที่ 2 และบทชมธรรมชาติจากเสภา เรื่องขุนช้าง-ขุนแผน   บทชมธรรมชาติเรื่องอิเหนา รัชกาลที่ 2                     ไก่ขันกระชั้นฉ่ำเฉื่อย บุหรงเรื่อยร้องรับจับพฤกษา เห็นนางนวลนึกนวลวนิดา นวลพักตราน้องละอองนวล เบญจวรรณเหมือนวันเมื่อเข้าเฝ้า ได้เห็นเจ้าต้องใจฤทัยหวน นกกะแลแลลับพี่ขับครวญ แลตามทรามสงวนจนลับตา กระลุมพูจับเจ่าที่เขาใหญ่ เหมือนเมื่อไปใช้บนบนภูผา แอ่นเคล้าเคล้าคู่บินมา เหมือนเคล้าเคียงกัลยาประคองพาน จากพรากจากรังเร่ร้อง เหมือนจากน้องมาในไพรสาณฑ์ ครวญคะนึงถึงยอดเยาวมาลย์ พลางเร่งทวยหาญคลาไคล   บทชมธรรมชาติในเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน   hellip พระสุริยาร่อนเรื่อยลงริมดง เลี้ยวลงเกือบลับพระเมรุใหญ่ สกุณาร่าร้องระงมไพร เรไรหริ่งรอบลำดวนดัง เจ้าพลายแก้วแว่วหวาดชะนีโหย วิเวกโวยหวี่หวีประหวั่นหวัง ลูกน้อยเหนี่ยวนิ่งบนกิ่งรัง เหมือนพิมพี่เจ้าสั่งแต่แรกมา เห็นค่างเคียงนางอยู่ข้างคู่ พิศดูเตือนใจอาลัยหา เหมือนพิมน้อยแนบนั่งฟังเจรจา เจ้าแก้วตาป่านฉะนี้จะอย่างไร                     จากตัวอย่างบท ชม ธรรมชาติทั้ง 2 บท จะเห็นได้ว่าตัวละครชื่นชมธรรมชาติรอบตัว ขณะเดียวกันภาพที่เห็นก็กระทบจิตให้ประหวัดถึงผู้เป็นที่รักที่อยู่ในความคิดคำนึงของตัวละคร                     การเลียนแบบสำนวนจนกลายเป็นขนบการแต่งวรรณคดีดังตัวอย่างข้างต้นนี้ แสดงลักษณะการยึดแนวการแต่งของครูเป็นต้นแบบ กวีเห็นว่าสำนวนครูเป็นสำนวนดีเยี่ยม จึงยกมาเป็นแบบอย่างด้วยความเคารพ ด้วยความนับถือในฝีมือ มีการถ่อมตัวว่าฝีมือการประพันธ์ของตนถึงจะแต่งขึ้นใหม่ก็ไม่อาจแต่งได้ไพเราะเท่ากวีรุ่นก่อน จึงนิยมเลียนแบบหรือทำตามแบบมากกว่าจะริเริ่มสร้างสรรค์ลักษณะเฉพาะตัวขึ้นใหม่                     5 วรรณคดีไทยมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชนชั้นสูงมากกว่าคนสามัญ ตัวละครเอกมักเป็นกษัตริย์และชนชั้นสูง คุณสมบัติสำคัญของตัวเอกจะเน้นที่บุญญาธิการซึ่งเป็นผลมาจาก quot บารมี quot ที่ได้ทำไว้ทั้งในชาตินี้และชาติก่อน อดีตชาติ การที่เป็นดังนี้เนื่องจากในอดีตสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจวัฒนธรรมและความอยู่รอดของชาติบ้านเมืองจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับกษัตริย์เป็นสำคัญ                     6 แนวคิดสำคัญที่พบในวรรณคดีไทยโดยทั่วไปเป็นแนวคิดแบบพุทธปรัชญาง่ายๆ เช่น แนวคิดเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แนวคิดเรื่องความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง อนิจจัง แนวคิดเรื่อง ความกตัญญู แนวคิดเรื่องความจงรักภักดี แนวคิดเรื่องความรักและการพลัดพราก เป็นต้น                     7 เนื้อเรื่องที่รับมาจากวรรณกรรมต่างชาติจะได้รับการดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย เช่นบทละครเรื่องอิเหนา แม้เนื้อเรื่องจะเป็นนิยายชวา มีคำศัพท์ภาษาชวาติดมาด้วย แต่ฉากสถานที่วัฒนธรรมประเพณี และค่านิยมต่างๆ ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบไทย                     8 ในวรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นวรรณคดีสำหรับอ่าน แม้จะใช้กลอนบทละครในการเดินเรื่องแต่ที่จริงแล้วมีลักษณะเป็นวรรณคดีสำหรับอ่าน แบบเดียวกับหนังสือนิทานคำกลอนอื่นๆ เนื่องจากมีการพรรณนาความยืดยาว ให้รายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ภาพชัดเจน การแต่งก็เน้นความไพเราะของคำ ดังนั้นเมื่อจะนำไปใช้เป็นบทแสดง จะต้องปรับเปลี่ยนบทเสียใหม่เพื่อให้กระชับขึ้น ถ่ายทอดเป็นท่ารำได้ จึงไม่จำเป็นต้องเน้นความไพเราะของคำมากนัก ดังเราจะพบว่า บทละครเรื่องรามเกียรติ์ สมัยรัชกาลที่ 1 มีเนื้อความสมบูรณ์ครบถ้วน แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาแสดงละคร                     9 ในวรรณคดีไทยมักมีบทอัศจรรย์แทรกอยู่ด้วย เรื่องของความรักและเพศสัมพันธ์เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ในหารพรรณนาฉากรักฉากพิศวาสของตัวละครหญิงชาย กวีไทยไม่นิยมกล่าวตรงไปตรงมา แต่จะกล่าวถึงโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบหรือใช้สัญลักษณ์แทน บทนี้เรียกกันว่า “ บทอัศจรรย์ ” กล่าวคือ กวีใช้ธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงพฤติกรมทางเพศ บทอัศจรรย์จึงเป็นบทที่ต้องใช้ความสามารถในการแต่ง เพื่อให้เป็นงานทางศิลปะมิใช่อนาจาร                     ดังตัวอย่างบทแสดงความรักระหว่างนางศรีมาลากับพลายงาม ในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ความว่า                     เกิดโกลาฟ้าลั่นสนั่นเสียง เปรี้ยงเปรี้ยงอสนีคะนองสาย พิรุณโรยโปรยสาดกระเซ็นปราย พระพายพัดพ่ายเพียงพิภพพัง ลั่นพิลึกครึกครื้นคลื่นระลอก แฉะกระฉอกฟองเฟอะขึ้นฟูมฝั่ง ตลิ่งกระทบกลบกระแทกกระเทือนดัง พอฝนถั่งลมก็ถอยผ็อยนิทรา                     ๑๐ วรรณคดีไทยมักแทรกวามเชื่อและค่านิยมของไทยไว้ด้วยเสมอ                     ดังตัวอย่างในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผนตอนพลายแก้วยกทัพไปรบ ก่อนออกทัพ พลายแก้ว นางพิมพิลาไลและนางทองประศรี ผู้เป็นมารดาได้ทำพิธีปลูกต้นโพธิ์เสี่ยงทายเป็นเครื่องหมายแทนตัวเนื่องจาก                     “ ไปทัพทางไกลไม่รู้เห็น จะสังเกตปลูกต้นโพธิ์ไว้สามต้น ถ้าแม้นจะย่อยยับถึงอับจน ขอให้โพธิ์พิกลไปเหมือนกัน ”   ในการนี้มีการทำพิธีแต่งเครื่องบัตรพลี บูชาบวงสรวงเทวดา เมื่อปลูกแล้วก็มีการอธิษฐานขอสิ่งที่ปรารถนา และได้นำผ้าสไบของคนทั้ง๓ คน ห่มต้นโพธิ์ ดังความว่า   “ ขอเดชะผ้านี้ที่ผูกพัน ห่มโพธิ์สำคัญทั้งสามคน ต่างคนต่างจะไปไกลตา กลับมาขอให้พบกันเป็นผล แม้นตัวข้าตายวายชนม์ ให้สู่สวรรค์ชั้นบนสบายใจ จะเกิดไปในภพชาติหน้า ขอให้ข้าพบกันให้จงได้ ร้อยกัปแสนกัลป์อนันต์ไกล พากันไปตราบเท่าข้านิพพาน ”                     จากข้อความตอนนี้แสดงว่าตัวละครทั้ง ๓ ตัวมีความเชื่อว่า ต้นโพธิ์มีเทพอารักษ์อาศัยอยู่จึงได้บวงสรวงขอเทพารักษ์ช่วยบอกเหตุ ความเชื่อว่ามีเทพสิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย คนไทยดั้งเดิมนับถือธรรมชาติรอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ต้นไม้ ฯลฯ เพราะถือว่าธรรมชาติเป็นของมีคุณ ได้พึ่งพาอาศัยธรรมชาติจึงอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างถ้อยทีถ้อยอาย มีความกตัญญูรู้คุณธรรมชาติ คนไทยตัดไม้ทำลายป่าเพื่อมาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และใช้ในกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ไม่ตัดต้นไม้ใหญ่บางประเภทตามความเชื่อที่ปลูกฝังมา การอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนเป็นความคิดแบบไทยที่ต่างจากชาวตะวันตก ชาวตะวันตกมีวามคิดที่จะเอาชนะธรรมชาติมุ่งเข้าไปจัดการธรรมชาติ ในปัจจุบันเราจะพบว่า ความเชื่อดั้งเดิมดังกล่าวยังปรากฏให้เห็นอยู่ในสังคมไทย                     นอกจากความเชื่อดั้งเดิมแล้ว จะเห็นได้ว่า ความเชื่อของคนไทยยังมีที่มาจากพระพุทธศาสนา จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงตามความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด

สำนวนไทยในวรรณคดี, สำนวนไทยในวรรณคดี หมายถึง, สำนวนไทยในวรรณคดี คือ, สำนวนไทยในวรรณคดี ความหมาย, สำนวนไทยในวรรณคดี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu