ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร?, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร? หมายถึง, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร? คือ, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร? ความหมาย, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร?

อยากรู้ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร

คำตอบ

      ละครนอกเรื่องไกรทอง   ตอนพ้อบน   ที่มา สังคีตศาลา                   ละครนอก เป็นละครของภาคกลาง นัยว่าวิวัฒนาการมาจากโนรา เพราะมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกันคือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว และตลกขบขัน สมัยโบราณผู้แสดงผู้ชายล้วน เพิ่งมีผู้หญิงแสดงในปลายสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลทั่วไปมีละครผู้หญิง ในตอนหลังผู้แสดงเป็นผู้หญิงโดยมาก ผู้ชายเกือบจะไม่มี                   ตัวละคร มีครบทุกตัวตามเนื้อเรื่อง ไม่จำกัดจำนวน ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ได้ทั้งนั้น โรงละคร มีฉากเป็นผ้าม่าน มีประตูเข้าออก 2 ประตู หลังฉากเป็นที่แต่งตัว และสำหรับให้ตัวละครพัก หน้าฉากเป็นที่แสดงตั้งเตียงตรงกลางหน้าฉาก การแต่งกาย เลียนแบบเครื่องต้นของกษัตริย์ ตัวพระสวมชฎา ตัวนางสวมเครื่องประดับศีรษะตามฐานะ เช่น มงกุฎกษัตรี รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว และกระบังหน้า เสื้อผ้าปักดิ้นเลื่อมแพรวพราว การแสดง มีคนบอกบท มีต้นเสียงและลูกคู่สำหรับร้อง บางตัวละครอาจร้องเอง การรำเป็นแบบแคล่วคล่องว่องไวพริ้งเพรา                   จังหวะของการร้องและการบรรเลงดนตรีค่อนข้างเร็ว เวลาเล่นตลกมักเล่นนานๆ ไม่คำนึงถึงการดำเนินเรื่อง และไม่ถือขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ตัวกษัตริย์หรือมเหสีจะเล่นตลกกับเสนาก็ได้ เริ่มต้นแสดงก็จับเรื่องที่เดียว ไม่มีการไหว้ครู เรื่องที่ละครนอกแสดงได้สนุกสนานเป็นที่นิยมแพร่หลาย บทที่สามัญชนแต่งได้แก่ เรื่องแก้วหน้าม้า ลักษณวงศ์ และจันทโครพ บทที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย และไกรทอง         ละครใน   เรื่อง   อิเหนา   ที่มา ศิลปะการแสดงของไทย สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ 2542                     ละครใน เป็นละครที่เกิดขึ้นในพระราชฐานจึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน สุภาพ ละครในมีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ 3 ประการ คือรักษาศิลปของการรำอันสวยงาม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด รักษาความสุภาพทั้งบทร้องและเจรจา เพราะฉะนั้น เพลงร้อง เพลงดนตรี จึงต้องดำเนินจังหวะค่อนข้างช้า เพื่อให้รำได้อ่อนช้อยสวยงาม                   ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงเครื่องห้า เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ ก็ได้โรงมีลักษณะเดียวกับโรงละครนอก แต่มักเรียบร้อยสวยงามกว่าละครนอก เพราะใช้วัสดุที่มีค่ากว่า เนื่องจากมักจะเป็นละครของเจ้านาย หรือผู้ดีมีฐานะ เครื่องแต่งกาย แบบเดียวกับละครนอก แต่ถ้าแสดงเรื่องอิเหนา ตัวพระบางตัวจะสวมศีรษะด้วยปันจุเหร็จในบางตอน ปันจุเหร็จในสมัยปัจจุบัน มักนำไปใช้ในการแสดงเรื่องอื่นๆด้วย การแสดง มีคนบอกบท ต้นเสียง ลูกคู่ การร่ายรำสวยงามตามแบบแผน เนื่องจากรักษาขนบประเพณีเคร่งครัด การเล่นตลกจึงเกือบจะไม่มีเลย                   บทที่แต่งใช้ถ้อยคำสุภาพ คำตลาดจะมีบ้างก็ในตอนที่กล่าวถึงพลเมือง ผูแสดงเป็นผู้หญิงล้วน ตัวประกอบอาจเป็นผู้ชายบ้าง เรื่องที่ใช้แสดงละครใน แต่โบราณมีเพียง 3 เรื่อง คือ เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท ภายหลังได้มีเพิ่มขึ้นบ้างเช่น เรื่องศกุลตลา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6

ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร หมายถึง, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร คือ, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร ความหมาย, ละครนอกละครในมีลักษณะอย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu