ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคเหนือมีอะไรบ้าง?
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคเหนือมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะนำไปทำรายงาน
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคเหนือมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะนำไปทำรายงาน
ดินแดนล้านนา เดิมทีนั้นภาคเหนือตอนบนของไทย เป็นอาณาจักรล้านนาหากนับถึงปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า๗๐๐ปีโดยเป็นดินแดนที่แต่งแต้มด้วยทิวเขาเทือกดอยต้นน้ำลำธารและมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าในด้านต่างๆ อาทิ เรื่องอาหาร ยารักษาโรค งานหัตถกรรม การจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณี ฟ้อน หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ จะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก มีลีลาการฟ้อนพร้อมเพรียงกันด้วยจังหวะที่ค่อนข้างช้า การพิจารณาศิลปะการฟ้อนที่ปรากฏในลานนาปัจจุบัน อาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล ได้แบ่งการฟ้อนออกเป็น ๕ ประเภท คือ ๑ ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจาการนับถือผี เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและพิธีกรรม เป็นการฟ้อนเก่าแก่ที่มีมาช้านาน ได้แก่ ฟ้อนผีมด ผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง ฟ้อนผีนางดัง ๒ ฟ้อนแบบเมือง หมายถึง ศิลปะการฟ้อนที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของ quot คนเมือง quot หรือ quot ชาวไทยยวน quot ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเจิง ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนสาวไหม ๓ ฟ้อนแบบม่าน เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่า กับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา ๔ ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือแบบไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนตลอดจนการแสดงที่รับอิทธิพล หรือมีต้นเค้ามาจากศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ ได้แก่ เล่นโต กิ่งกะหร่า กินนรา หรือฟ้อนนางนก กำเบ้อคง มองเซิง ฟ้อนไต ไทยใหญ่ ฟ้อนเงี้ยว ๕ ฟ้อนที่ปรากฏในบทละคร เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล ประเพณียี่เป็ง ประเพณีลอยกระทงในล้านนา หรือเรียกตามพงศาวดารโยนกและจามเทวีวงศ์ว่าประเพณี ลอยโขมด มีมาแต่ครั้งสมัยอาณาจักรหริภุญชัย ก่อนจะถึงเดือนยี่เป็ง วันเพ็ญเดือนสิบสอง ตามวัดวาอารามและครัวเรือนของชาวล้านนาจะประดับตกแต่งซุ้มประตู หรือหน้าวิหารอย่างสวยงามเรียกว่า ประตูป่า เมื่อถึงวัน ยี่เป็ง ชาวบ้านจะไปทำบุญที่วัดและฟังเทศน์ ส่วนกลางคืนก็จะจุดประทีปโคมไฟเป็นพุทธบูชา และลอยกระทงไปบูชาพระพุทธบาทที่กลางแม่น้ำมหานัมทา อีกทั้งเป็นการปลดปล่อยลอยเคราะห์เจ้าของกระทงอีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่นี่ ประเพณีปอยหลวงแบบล้านนา ตุง ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ สาระน่ารู้จากศูนย์สนเทศภาคเหนือ ประเพณีภาคเหนือ
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!