ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศใดบ้าง และมีความคืบหน้าอย่างไร??
ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศใดบ้าง และมีความคืบหน้าอย่างไร
ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศใดบ้าง และมีความคืบหน้าอย่างไร
ปัจจุบัน ไทยได้ดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและภูมิภาค ในเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก รวมหลายประเทศ ได้แก่ 1 ภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ จีน ได้มีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-จีนไปแล้ว ได้มีการลดภาษีสินค้ากลุ่มแรกภายใต้ Early Harvest Programme ในพิกัด 01-08 ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ อาหารทะเล นมและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ ผักและผลไม้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 และภาษีจะลดลงเหลือ 0 ภายในปี 2549 สำหรับไทย-จีน ได้มีการลงนามในความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ ระหว่างไทย-จีน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สาระสำคัญของความตกลงครอบคลุมเรื่องการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการ ตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08 116 รายการ ตามพิกัดศุลกากร 6 หลัก ให้เหลือ 0 ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2546 อินเดีย ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การค้าสินค้า การเจรจาจะเริ่มต้นเดือนมกราคม 2547 ให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม 2548 และภาษีจะลดเหลือ 0 ภายในปี 2553 การค้าบริการและการลงทุน ให้เปิดเสรีในสาขาที่มีความพร้อมก่อน เริ่มเจรจาต้นเดือนมกราคม 2547 ให้เสร็จภายในเดือนมกราคม 2549 การลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที Early Harvest Scheme จำนวน 82 รายการ ซึ่งจะลดภาษีแบบสัดส่วน โดยทยอยลดภาษีลงแต่ละปีในอัตราร้อยละ 50 75 และ 100 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 จนถึง 1 กันยายน 2549 ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น JTEP อย่างเป็นทางการ ในการประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2003 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดรายการสินค้าและรูปแบบการลดภาษี BIMSTEC เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีการลงนามในกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ 2 ตะวันออกกลาง ได้แก่ บาห์เรน ได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างไทย-บาห์เรนไปแล้ว และได้มีการลดภาษีสินค้าในเบื้องต้น Early Harvest จำนวน 626 รายการ คิดเป็นร้อยละ 86 ของมูลค่าการค้ารวม โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ ร้อยละ 0 และร้อยละ 3 แต่ขณะนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากบาห์เรนอยู่ระหว่างขั้นตอนขอความเห็นชอบจากรัฐสภา 3 อเมริกาเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ในระหว่างการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะทำ FTA ระหว่างกันโดยได้เริ่มเจรจาเมื่อช่วงกลางปี 2547 เม็กซิโก อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี 4 อเมริกาใต้ ได้แก่ เปรู ได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทยและเปรู ระหว่างการประชุม APEC เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546 ที่ประเทศไทย ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา และกำหนดแผนจะเจรจาให้เสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2547 เพื่อให้ทันการเยือนเปรูของนายกรัฐมนตรีไทย 5 โอเชียเนีย ได้แก่ ออสเตรเลีย ลงนามความตกลงฯ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ที่กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย ความตกลงฯเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2548 นิวซีแลนด์ ในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและนิวซีแลนด์ ระหว่างการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เมื่อวันที 20 ตุลาคม 2546ณ ประเทศไทย ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการทำ CEP ระหว่างสองประเทศโดยเร็ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา คาดว่าจะสามารถบรรลุความตกลงได้ในปลายปี 2547 6 ยุโรป ได้แก่ กลุ่ม EFTA อยู่ในระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ข้อมูลจาก เวปไซด์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!