ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ภาษาไทย?, ภาษาไทย? หมายถึง, ภาษาไทย? คือ, ภาษาไทย? ความหมาย, ภาษาไทย? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ภาษาไทย?

คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนได้หลายอย่างเรียกคำอะไร และหาหนังสือได้ที่ไหน

คำตอบ

                  คำไวพจน์ การหลากคำ   เป็นชื่อเรียกคำในภาษาไทยอีกพวกหนึ่ง มีความหมายต่างกันเป็น ๒ นัย                   - นัยหนึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ให้คำอธิบายว่า quot คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า quot พจนานุกรม ๒๕๔๒ หน้า ๑๐๙๑                   - และในที่เดียวกันนี้ได้ให้ความหมายที่พระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย อาจารยางกูร กล่าวไว้ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ด้วยว่า หมายถึง quot คำที่ออกเสียงเหมืมอนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส กับ ไส โจทก์ กับ โจทย์ พาน กับ พาล ปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง quot                   ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง คำพ้องเสียง คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน คำพ้องความ คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน ที่มา กาญจนา นาคสกุล www sakulthai com ตัวอย่างคำไวพจน์ ๑ พระจันทร์ รัชนีกร แข บุหลัน นิศากร ศศิธร ๒ พระอาทิตย์ ทินกร ประภากร ทิวากร ตะวัน สุริยา ๓ ทองคำ สุวรรณ เหม กนก มาศ อุไร ๔ ป่า ไพร พง ดง อารัญ พนา ๕ เมือง บุรี ธานี นคร ปุระ กรุง ๖ ผู้หญิง สตรี อิตถี นารี กามินี พธู ๗ ดอกไม้ บุปผา บุษบา โกสุม มาลี ผกา ๘ พระเจ้าแผ่นดิน ราชา ภูมี นฤบดี นราธิป นฤบาล ๙ ภูเขา คีรี สิงขร บรรพต ไศล ศิขรินทร์ ๑๐ นักบวช มุนี ฤษี ดาบส นักพรต นักสิทธิ์ ๑๑ น้ำ อาโป อุทก วารี ชล คงคา ๑๒ ไฟ อัคคี เตโช เพลิง อัคนี บาพก ๑๓ ช้าง ไอยรา ดำรี กุญชร สาร คช ๑๔ แผ่นดิน ภูมิ ธรณี ปฐพี ธาตรี ธรา ๑๕ ท้องฟ้า นภา เวหา อัมพร ทิฆัมพร คัคนานต์ ๑๖ นก สกุณา ปักษา สุโนก วิหค ทิชากร ๑๗ ม้า พาชี ดุรงค์ หัย สินธพ อัศวะ ๑๘ งู อุรค ภุชงค์ ผณี ทีฆชาติ นาคา ๑๙ ยักษ์ อสูร รากษส แทตย์ ทานพ มาร ๒๐ เทวดา อมร เทพ สุร เทพยดา นิรชร ๒๑ นางฟ้า อัจฉรา อัปสร รัมภา เทพธิดา เทวี ๒๒ เด็ก พาล ทารก ดรุณ กุมาร ศิศุ ๒๓ ต้นไม้ พฤกษ์ รุกข์ ตรุ เฌอ ทุม ๒๔ พ่อ บิดา ชนก บิตุรงค์ บิดร ปิตุ ๒๕ แม่ มารดา ชนนี ชเนตตี นนทลี มาตุ ๒๖ สวยงาม ประไพ อำไพ วิลาวัณย์ วิไล โสภา ๒๗ ข้าศึก ริปู ปัจนึก ศัตรู ปรปักษ์ บร ๒๘ พระอินทร์ โกสีย์ สักกะ อมรินทร์ สหัสนัยน์ สุชัมบดี ๒๙ ตาย อาสัญ บรรลัย มรณา ตักษัย วายชนม์ ๓๐ ใจ กมล หทัย ฤดี ฤทัย แด ตัวอย่างประโยคที่ใช้คำไวพจน์                   “ จากการศึกษาพบว่า เขาชอบปลูกต้นไม้ ชอบเล่นกีฬา ชอบทำอาหารรับประทานเอง และชอบท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด ” ควรเขียนว่า                       “ จากการศึกษาพบว่าเขามีความสุขกับการปลูกต้นไม้และเล่นกีฬา พอใจที่จะทำอาหารรับประทานเอง และยังชอบท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด ”                   หนังสือเกี่ยวกับคำไวพจน์ จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับหลักภาษาไทย ท่านสามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป

ภาษาไทย, ภาษาไทย หมายถึง, ภาษาไทย คือ, ภาษาไทย ความหมาย, ภาษาไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu