อยากทราบโครงสร้างองค์กรของ รฟม.??
อยากทราบโครงสร้างองค์กรของ รฟม
อยากทราบโครงสร้างองค์กรของ รฟม
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม เป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม ตามพระราชกฤษฎีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงคมนาคม ทบวง กรม พ ศ 2545 ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2545 รฟม ได้จัดโครงสร้างภายในองค์กรโดยแบ่งเป็น 3 สำนัก และ 8 ฝ่าย ดังนี้ 1 สำนักผู้ว่าการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการ งานการประชุม งานเลขานุการ งานสารบรรณ งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ และงานกิจการสัมพันธ์และสารนิเทศ 2 สำนักกฎหมาย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานสัญญา งานคดีและวินัย และงาน นิติกรรม 3 สำนักตรวจสอบ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบตรวจสอบภายในองค์กร การตรวจสอบบัญชี ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 4 ฝ่ายก่อสร้าง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน ควบคุม และประสานงานก่อสร้าง รวมถึงงานสถาปัตยกรรม ในโครงการของ รฟม กำกับ ดูแลการทำงานของวิศวกรที่ปรึกษา 5 ฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิชาการทางด้านวิศวกรรม งานวางแผนดำเนินการโครงการ งานศึกษาวิเคราะห์โครงการ งานศึกษาวิเคราะห์โครงการด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเงินและการลงทุน งานด้านสารสนเทศและการวางแผนวิสาหกิจ กำกับ ดูแลการทำงานของวิศวกร ที่ปรึกษา 6 ฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน การดูแลรักษาพื้นที่เขตทาง รถไฟฟ้า บริเวณทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้า ปล่องระบายอากาศ ศูนย์ซ่อมบำรุง และที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กร 7 ฝ่ายบริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนทรัพยากรบุคคล งานสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป งานจัดซื้อ งานพัสดุ งานบริหารสำนักงาน งานยานพาหนะ 8 ฝ่ายบัญชีและการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัญชี งานบริหารการเงิน และงานบริหารงบประมาณ 9 ฝ่ายปฏิบัติการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำกับ ดูแลการบริหารและอำนวยการเดินรถไฟฟ้า ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา การใช้และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกแก่การเดินรถไฟฟ้า การโดยสารรถไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้า 10 ฝ่ายสัมปทานและพัฒนาธุรกิจ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้สัมปทานกิจการรถไฟฟ้า การดูแลรักษาผลประโยชน์ของสัญญาโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นขององค์กร การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการขององค์กร การเรียกเก็บ ค่าโดยสาร ค่าตอบแทน ค่าบริการและค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพย์สิน การให้บริการและความสะดวกต่างๆ ในการให้สัมปทานกิจการรถไฟฟ้า 11 ฝ่ายรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษารวบรวมข้อมูล วางแผนและจัดทำมาตรการ ตลอดจนดำเนินการใดๆ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่ระบบรถไฟฟ้า คนโดยสาร และบุคคลอื่นที่อยู่ในเขตระบบรถไฟฟ้า รักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า ดำเนินการกู้ภัยและเหตุฉุกเฉินภายในและระบบรถไฟฟ้า ข้อมูลจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!