จะฝึกให้เป็นคนที่ไม่วิตก ในการพูดคุยกับผู้อื่น และการไม่วิตกต่อเหตุการณ์ต่างๆ ควรฝึกฝนอย่างไร?
จะฝึกให้เป็นคนที่ไม่วิตก ในการพูดคุยกับผู้อื่น และการไม่วิตกต่อเหตุการณ์ต่างๆ ควรฝึกฝนอย่างไร
จะฝึกให้เป็นคนที่ไม่วิตก ในการพูดคุยกับผู้อื่น และการไม่วิตกต่อเหตุการณ์ต่างๆ ควรฝึกฝนอย่างไร
ความคิดเป็นสังขารอย่างหนึ่งในขันธ์ห้า ตราบใดที่ยังมีขันธ์ห้า มีชีวิตและจิตใจอยู่ ความคิดก็คงอยู่เช่นเดียวกันครับ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่ยังไม่ดับขันธ์ท่านก็ยังมีความคิดเช่นกัน ทุกข์ของคนเรานั้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากความคิด หากแต่ว่าเกิดขึ้นมาจากการไม่รู้ทันความคิด พูดง่ายๆก็คือ เราปล่อยใจไปตามความคิดหรือปล่อยให้ความคิดชักนำเราไปนั่นเอง วิธีที่ง่ายๆที่สุดในการที่จะไม่ให้ความคิดมามีอิทธิพลต่อเรานั้น ทางพุทธศาสนาสอนให้รู้เท่าทัน quot ความคิด quot ด้วย quot การรู้ quot เข้าไปเลยครับ เรียกอย่างเป็นทางการตามศัพท์พระก็คือ การเจริญสติสัมปชัญญะระลึกรู้ลงไปในสังขารขันธ์ เป็นการรู้อาการคิดนะครับ ไม่ใช่รู้เรื่องที่คิด แต่หากว่าจิตรู้อาการคิดพร้อมเรื่องที่คิดไปเอง ก็ไม่ผิดอะไรสำหรับการเริ่มต้น - ตัวอย่างเช่น หากมีความคิดเกิดขึ้น แทนที่เราจะตามความคิดไปหรือคิดจะดับความคิด เราลองเปลี่ยนเป็นการสังเกตน้ำหนักบางอย่างที่ปรากฏขึ้นทางกายกับใจในขณะที่ความคิดเกิด ตรงนี้แต่ละคนจะไม่เหมือนกันครับ บางคนจะพบที่กาย บางคนจะพบที่ใจ ซึ่งตัวน้ำหนักนี้ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆก็จะลุกลามกลายเป็นความเครียดขึ้นต่อไป ซึ่งหากความคิดนั้นก่อน้ำหนักที่มากเกินไป จนไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ ลองหาเครื่องผูกจิตใจโดยการทำสัมมาสมาธิดูครับ เช่น การบริกรรมพุทโธ การกำหนดลมหายใจ การเดินจงกรมรู้เท้ากระทบฯลฯ แล้วค่อยๆสังเกตจิตที่เคลื่อนจากสิ่งรู้เหล่านี้ไป เป็นต้น ข้อมูลจาก คุณ จันทรังสี อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!