การอายัดที่ดิน?
ขอทราบว่า ldquo การอายัดที่ดิน rdquo ตามประมวลกฎหมายที่ดินคืออะไรและที่ดินอยู่ต่างจังหวัดจะมีหนังสือแจ้งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ให้อายัดที่ดินได้หรือไม่ nbsp ถ้าไม่ได้ต้องดำเนินการอย่างไร
ขอทราบว่า ldquo การอายัดที่ดิน rdquo ตามประมวลกฎหมายที่ดินคืออะไรและที่ดินอยู่ต่างจังหวัดจะมีหนังสือแจ้งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ให้อายัดที่ดินได้หรือไม่ nbsp ถ้าไม่ได้ต้องดำเนินการอย่างไร
1 การอายัดที่ดิน ตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หมายถึง การขอให้ระงับการ จดทะเบียน หรือการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ที่จะขออายัดได้ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่ขออายัดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ และประเด็นที่ขออายัดจะต้องยังไม่มีการยื่นคำฟ้องต่อศาล ถ้าได้มีการยื่นคำฟ้องต่อศาลแล้วไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรับอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ต้องให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 สำหรับวิธีการในการขออายัด ผู้ขออายัดต้องนำเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะขออายัดไปยื่นคำขออายัดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เช่น จะขออายัดที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานที่ดินจังหวัดชัยนาทเพื่อไปฟ้องศาลบังคับให้เจ้าของที่ดินโอนที่ดินให้กับตนตามสัญญาจะซื้อจะขาย ผู้ขออายัดก็ต้องนำสัญญาจะซื้อจะขายที่เจ้าของที่ดินทำไว้กับ ผู้ขออายัดไปยื่นคำขออายัดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดชัยนาท ไม่อาจยื่นคำขออายัด ณ สำนักงานที่ดินอื่นได้ และการที่ผู้ขออายัดจะมีหนังสือแจ้งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอให้อายัดหรือระงับการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินโดยมิได้ไปยื่นคำขออายัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่พนักงาน เจ้าหน้าที่จะรับอายัดได้เช่นเดียวกัน อนึ่ง การอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจะสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งรับอายัดที่ดิน และจะขออายัดที่ดินในกรณีเดียวกันซ้ำอีกไม่ได้ ข้อมูลจาก สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!