อยากได้ข้อมูลเรื่องมนุษย์ยุคหินใหม่ค่ะ?
ช่วยตอบด้วยนะคะ
ช่วยตอบด้วยนะคะ
ยุคหินใหม่ Neolithic เมื่อยุคน้ำแข็งสุดท้ายสิ้นสุดลง สภาพแวดล้อมค่อยๆเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคปัจจุบัน วิถีชีวิตบนลักษณะทางเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่ ซึ่งในแต่ละบริเวณเริ่มต้นไม่พร้อมกัน แต่สามารถกล่าวโดยเฉลี่ยได้ว่าเริ่มต้นเมื่อประมาณ ๔ ๕๐๐ - ๔ ๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงประมาณ ๒ ๕๐๐ - ๒ ๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงสิ้นสุดยุคหินใหม่ ซึ่งก็ไม่พร้อมกันเช่นเดียวกับจุดเริ่มต้น ยุคหินใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ทั้งหมดจากการล่าสัตว์ ที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่บนที่สูง อพยพตามฝูงสัตว์ มนุษย์ได้อพยพลงจากที่สูงมาสู่ที่ราบ ปลูกสร้างบ้านเรือนถาวรอยู่กันเป็นหมู่บ้าน เริ่มลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ Cultivation and domestication เริ่มรู้จักการทำเครื่องจักรสาน ทำภาชนะดินเผาขึ้นใช้ รู้จักการทอผ้า ลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ก็เริ่มเปลี่ยนไปจากเครื่องมือหินกะเทาะไปสู่เครื่องมือหินขัด สันนิษฐานว่าคนในยุคหินใหม่ มีการแบ่งงานกันทำ และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชนซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยน หรือการติดต่อทางวัฒนธรรม เป็นต้น พืชและสัตว์ในยุคหินใหม่ ยุคหินใหม่จัดว่าเป็นสมัยของการเริ่มสังคมกสิกรรม จึงจำเป็นที่คนยุคหินใหม่จะต้องเกี่ยวข้องกับพืชพรรณต่างๆ หลายชนิด พืชที่สำคัญที่สุดก็ได้แก่ ข้าวจ้าว Oriza sativa ซึ่งยอมรับกันว่าปลูกขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรกในโลก ที่โนนนกทา อายุประมาณ ๔ ๕๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟักทอง พริก บวบหรือแฟง ฯลฯ ซึ่งพืชส่วนใหญ่ ในยุคหินใหม่จะคล้ายหรือเป็นแบบเดียวกันกับพืชที่พบเห็นในปัจจุบัน ส่วนสัตว์ก็เช่นเดียวกับคนยุคหินใหม่ ได้เริ่มทำการเลี้ยงสัตว์กันอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงล่าสัตว์อยู่ สัตว์ในสมัยนี้ก็คล้ายคลึงกันกับในปัจจุบัน เช่น หมู วัว เก้งหรือฟาง กระต่ายป่า ตะกวด กวาง เต่า แรด กระรอก หมา เป็นต้น นอกจากสัตว์ดังกล่าวนี้แล้ว พวกที่อาศัยอยู่ใกล้ฝั่งทะเล ได้นำทรัพยากรทางทะเลมาใช้ประโยชน์ด้วย Marine adaptation เช่น การจับปลา จับปู หาหอย ตลอดจนการจับตะพาบน้ำ มาเป็นอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะพบซากสัตว์ทะเลเหล่านี้หนาแน่นมากในแหล่งชายฝั่งทะเล ยุคนี้เป็นยุคที่มีแหล่งโบราณคดีมากมายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบคือเครื่องมือหินขัด ที่สำคัญคือขวานหินขัดซึ่งชาวบ้านบางแห่งเรียกว่าขวานฟ้าเชื่อกันเป็นขวานศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงมาจากฟ้าใช้รักษาโรคได้ บางแห่งเรียกว่าเสียมตุ่นเชื่อกันว่าเป็นเสียมที่ตุ่นใช้ขุดดิน ลักษณะของเครื่องมือหินขัดมีหลายรูปแบบตามหน้าที่ เช่น ขวาน ขวานถากหรือผึ่ง ขวานมีบ่า จักร สิ่ว ฯลฯ เครื่องมือทำจากกระดูกสัตว์ ได้แก่ ฉมวก สิ่ว เบ็ด ส่วนเครื่องจักสาน มักพบเป็นรอยพิมพ์ของเครื่องจักสานอยู่บนภาชนะ หรือในดิน เครื่องประดับ พบที่ทำด้วยหิน เช่น กำไลหิน ลูกปัดหิน ที่เป็นกระดูก ได้แก่ กำไล ลูกปัด ปิ่น จี้ นอกจากนี้ยังพบที่ทำจากเปลือกหอย เช่น ลูกปัด จี้ เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผา นอกจากภาชนะดินเผา เช่น หม้อ ไห จาน ชาม และเครื่องใช้อื่น เช่น ตุ้มถ่วงแห แวดินเผา ใช้ในการปั่นด้าย หินดุ ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผานี้นอกจากันออกไปตามสถานที่ ตัวอย่างเช่นที่พบในจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ยังพบว่าบางแหล่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบในยุคหินใหม่ ของจีน ภาชนะดินเผายุคหินใหม่ เป็นภาชนะเนื้อค่อนข้างหยาบในช่วงแรกจะขึ้นรูปด้วยมือ โดยอาจใช้หินดุช่วย ต่อมาจึงใช้แป้นหมุน ลวดลายที่ตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นลายเชือกทาบ รองลงมาจะเป็นเศษภาชนะผิวเรียบ นอกจากนี้ก็ตกแต่งด้วยลายขูด ลายขีด ลายจุดประ เป็นรูปทรงเรขาคณิต และเป็นรูปต่างๆ พบว่ามีการเคลือบน้ำโคลนเหลว และน้ำโคลนขันสมานรูซึมรั่วก่อนเผา การเผามักจะเป็นเตาแบบง่ายๆ คือ เตาเปิด Open kilns โดยใช้เชื้อเพลิงมาสุม จึงมักพบว่าภาชนะดินเผาในระยะเเรกๆ นี้มักสุกไม่ทั่ว นอกจากเศษภาชนะดินเผา และภาชนะดินแล้ว ยังพบเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ เช่น หินดุ เครื่องมือขึ้นรูปภาชนะรูปร่างคล้ายเห็ด กระสุนดินเผา ใช้ยิงกับคันกระสุน เบี้ยดินเผา อาจใช้ในการละเล่น แวดินเผา ใช้ปั่นด้าย ตุ้มถ่วงแห ตลอดจนเครื่องประดับต่างๆ ที่ทำขึ้นจากดินเผา เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคแห่งการเกษตรกรรม พืชที่สำคัญที่มนุษย์ยุคนี้ปลูกก็คือ ข้าว นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ ฯลฯ ส่วนสัตว์เลี้ยงได้แก่ หมา หมู วัว ควาย ฯลฯ การล่าสัตว์ยังคงพบหลักฐานการล่า เก้ง กวาง กระต่าย แรด กระจง กระรอก เต่า ตะพาบ หอย ปู และปลาชนิดต่างๆ เป็นต้น หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่คือหลุมฝังศพ ซึ่งมักจะฝังศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว ส่วนที่ฝังงอตัวหรือฝังในภาชนะดินเผามีพบไม่มากนัก ภายในหลุมฝังศพมีเครื่องเซ่น เช่น อาหาร ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด ฯลฯ เครื่องประดับตกแต่งร่างศพ เช่น กำไล ลูกปัด จี้ ทำด้วยวัสดุต่างๆ ซึ่งการฝังศพนี้แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและการตายของมนุษย์จนก่อเกิดประเพณีการฝังศพ นอกจากนี้แล้วบางครั้งพบว่ามีพิธีกรรมที่ทำกับศพ เช่น มัดศพ กรอฟันศพ เป็นต้น และทิศทางการฝังศพก็จะสะท้อนให้เห็นลักษณะความเชื่อ เช่น ฝังหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกอาจหมายถึงการเกิดใหม่เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ เป็นต้น จากการศึกษาโครงกระดูกมนุษย์พบว่าผู้ชายจะสูงระหว่าง ๑๖๐-๑๗๕ เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงจะสูงระหว่าง ๑๔๕-๑๖๖ เซนติเมตร โรคภัยไข้เจ็บที่พบ ได้แก่ โรคโลหิตจาง โรคฟันผุ สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่บนที่ราบใกล้แหล่งน้ำ อยู่รวมเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน ดำรงชีวิตลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือ การเกษตรกรรม เป็นการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องจักสาน การทอผ้า เป็นต้น และพบว่ามีผลผลิตมากเกินกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย ส่วนการล่าสัตว์และการจับสัตว์น้ำยังคงมีอยู่ เนื่องจากมีการตั้งถิ่นฐานถาวร มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นรวดเร็ว สังคมยุคหินใหม่จะซับซ้อนมากขึ้น มีความแตกต่างทางฐานะในสังคม มีการแบ่งงานกันทำ การทำงานเฉพาะด้าน และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชน ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยนหรือการติดต่อทางวัฒนธรรม แล้ว จนถึงประมาณ ๒ ๕๐๐ - ๒ ๐๐๐ ปีมาแล้วมนุษย์เริ่มรู้จักการนำโลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้จึงสิ้นสุดยุคหินใหม่ซึ่งก็ไม่พร้อมกันในแต่ละพื้นที่เช่นเดียวกัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน เช่น พื้นที่ทำการเกษตรกรรม แหล่งวัตถุดิบในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งน้ำ เป็นต้น ดังนั้นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่จึงมักพบ อยู่ตาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ดอน ที่ราบสูง ถ้ำ เพิงผา และชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด ตัวอย่างเช่น บ้านเก่าในเขตลุ่มแม่น้ำแควน้อย อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำพระ ตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โคกพนมดีในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี บึงไผ่ดำในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ฯลฯ แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่บ้านเก่า บ้านเก่าตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกแหล่งแรกของประเทศไทย จากการที่นายแวน ฮีกเกอเร็น นักโบราณคดีชาวเนเทอร์แลนด์ซึ่งเป็นเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะในบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยที่บ้านเก่า ระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จากนั้นจึงมีการสำรวจบริเวณนี้อีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ ศ ๒๕๐๓ เป็นต้นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์กจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการสำรวจและขุดค้นอย่างเป็นระบบขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินการทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรกในประเทศไทย จากการขุดค้นได้พบเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก เครื่องมือหินขัดที่พบเป็น ขวานหินขัดที่มีลักษณะแบบผึ่งหรือขวานถาก สิ่วหินขัด หัวลูกศร ปลายหอก หินลับ หินบด และจักรหินหรือแผ่นหินทำเป็นรูปวงกลมเจาะรูตรงกลาง กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ และเปลือกหอยพบทั้งที่เหลือจากการบริโภคและที่ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หัวลูกศร ปลายหอก เบ็ด สิ่ว เข็ม และเครื่องประดับ ภาชนะดินเผายุคหินใหม่ที่บ้านเก่าพบเป็นจำนวนมากและมีรูปแบบต่างๆกันเช่น หม้อ ชาม กระปุก พาน และที่สำคัญจนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของยุคหินใหม่ที่บ้านเก่าคือหม้อสามขา ภาชนะดินเผาเหล่านี้นอกจากจะพบเป็นเครื่องใช้แล้วยังพบอยู่ในหลุมฝังศพซึ่งอาจเป็นภาชนะใส่เครื่องเซ่นสำหรับผู้ตาย จากการเปรียบเทียบภาชนะดินเผาพบว่าคล้ายคลึงกันกับภาชนะดินเผาของวัฒนธรรมลุงชานในประเทศจีน นอกจากภาชนะดินเผาแล้วยังพบเครื่องปั้นดินเผาชนิดอื่นเช่น ลูกกระสุนดินเผา แวดินเผา เป็นต้น โครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากขุดค้นพบที่บ้านเก่า มักถูกฝังนอนหงายเหยียดยาว ตกแต่งศพด้วยเครื่องประดับเช่นลูกปัด กำไล มีความเชื่อในการกรอหรือถอนฟันของผู้ตายก่อนจะฝัง นอกจากนี้ยังมีการฝังเครื่องเซ่นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และอาจมีการฝังอาหารสำหรับผู้ตายด้วย ยุคหินใหม่ที่บ้านเก่านี้มีอายุประมาณ ๔ ๐๐๐ ปีมาแล้วและมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนเข้าสู่ยุคโลหะ ข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับยุคหินใหม่ที่บ้านเก่า ปัจจุบันจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่าซึ่งสร้างขึ้นในบริเวณที่มีการดำเนินงานขุดค้น ข้อมูลจาก
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!