ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ?, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ? หมายถึง, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ? คือ, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ? ความหมาย, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ?

การกำหนดและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การพัก ใช้ และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ การพัฒนาวิชาชีพ และการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพ การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกีรยติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

คำตอบ

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา   พ ร บ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ ศ 2546 กำหนดให้วิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม วิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพ ควบคุม ต้องได้รับอนุญาตจากคุรุสภาจึงจะประกอบวิชาชีพได้ ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และวุฒิศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ   ประเภทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ   ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี 4 ประเภท คือ 1 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 2 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึอ 3 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา 4 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น               ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมทุกตำแหน่งจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เมื่อจะประกอบวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ก็จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพประเภทนั้น ๆ อีก       บทบาทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมีบทบาทในการส่งเสริมประกันคุณภาพการศึกษา และยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู เป็นการพัฒนาครูให้มีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งเป็นการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้มีความสามารถมาประกอบวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น ให้โอกาสแก่ครูในการพัฒนาตนเอง สร้างอุดมการณ์ในการเป็นครู เพิ่มความรู้ความสามารถและความเป็นครู สามารถสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาต่อวิชาชีพครูจากสังคมให้กลับคืนมา มีความเสมอภาคในการประกอบวิชาชีพครู และลดความไม่เท่าเทียมของคุณภาพครู   คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และเรียนวิชาครูไม่ต่ำกว่า 17 หน่วยกิต ถ้าคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีก็อาจกำหนดให้พัฒนาตนเองให้มีคุณวุฒิปริญญาตรีภายใน 5 ปี   ใบอนุญาตแบบมาตรฐาน     1 สำหรับผู้มีคุณวุฒิปริญญาตรี และเรียนวิชาครูไม่ต่ำกว่า 17 หน่วยกิต ผ่านการทดลองสอน 2 ปี 2 สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิปริญญาโท และเรียนวิชาครูไม่ต่ำกว่า 17 หน่วยกิต ผ่านการทดลองสอน 1 ปี 3 สำหรับคุณวุฒิปริญญาเอกและเรียนวิชาครูไม่ต่ำกว่า 17 หน่วยกิต ให้ใบอนุญาตมาตรฐานได้เลย ใบอนุญาต   แบบ   ถาวร สำหรับผู้ที่ได้ใบอนุญาตมาตรฐานมาแล้ว และเป็นครูดีเด่นในสาขาที่สอนในระดับจังหวัด 5 ปีติดต่อกัน หรือครูดีเด่นในสาขาที่สอนในระดับประเทศ 2 ปีติดต่อกัน และต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี ตามกรอบจรรยาบรรณแห่งวิชา-ชีพครู               ความเชื่อมโยงระหว่างใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับเงินเดือนและค่าตอบแทน ควรมีความเชื่อมโยงระหว่างใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับเงินเดือนและค่าตอบแทน ตามเส้นทางความก้าวหน้าแห่งวิชาชีพครู เช่น   ครูปฏิบัติการ   เงินเดือน   8 500 เงินประจำตำแหน่ง   ครูชำนาญการ   เงินเดือน   15 000 เงินประจำตำแหน่ง   ครูเชี่ยวชาญ   เงินเดือน   20 000 เงินประจำตำแหน่ง   ครูเชี่ยวชาญพิเศษ   เงินเดือน   25 000 เงินประจำตำแหน่ง   ครูผู้ทรงคุณวุฒิ   เงินเดือน   30 000 เงินประจำตำแหน่ง     อีกทั้งควรให้เงินเดือนแก่ครูที่มีวุฒิปริญญาตรี 2 ปริญญา สูงกว่าผู้ที่ได้รับปริญญาตรีปริญญาเดียว และมีเงินพิเศษสำหรับครูที่มีคุณวุฒิปริญญาเกียรตินิยมเป็นพิเศษด้วย   การพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การพักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสามารถทำได้เมื่อครูทำผิดจรรยาบรรณ หรือผลการปฏิบัติไม่ได้มาตรฐาน โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้   1 การพักใช้ใบอนุญาตสำหรับผู้ที่มีความผิดไม่ร้ายแรง เช่น ความผิด อันเกิดจากความประมาท ซึ่งอาจดำเนินการตักเตือน หรือพักใช้ใบอนุญาต 1 - 3 เดือน 4 - 12 เดือน หรือ 1 - 2 ปี เป็นต้น   2 การเพิกถอน ใช้กรณีที่ครูทำความผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือมีความผิดในคดีอาญา การเพิกถอนใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ในกรณีต่อไปนี้             2 1 ตาย             2 2 ศาลสั่งจำคุก ยกเว้นรอลงอาญา             2 3 ประพฤติผิดวินัยร้ายแรง             2 4 ผิดจรรยาบรรณร้ายแรง

การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ หมายถึง, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ คือ, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ ความหมาย, การเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu