ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร??, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร?? หมายถึง, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร?? คือ, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร?? ความหมาย, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร?? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร??

การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร

คำตอบ

        การควบคุมอาหารที่ถูกต้องมีผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนน้อยลง ชะลอการเสื่อมของไต อาหารที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษได้แก่         รตีน ถ้าไตเสื่อมไม่มากให้รับประทานโปรตีนได้ 0 8 กรัม กก วัน แต่ถ้าเสื่อมมากให้จำกัดปริมาณโปรตีนไม่เกิน 0 6 กรัม กก วัน โปรตีนเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดของเสียซึ่งจะถูกขับออกทางไต ถ้าไตเสื่อมของเสียจะคั่งและไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดไป อาหารที่ให้โปรตีนสูงได้แก่ ไข่ ถั่ว นม เนื้อสัตว์ ไข่ให้รับประทานไข่ขาว ไม่ควรรับประทานไข่แดงเนื่องจากไข่แดงมี phosphorus และ cholesterol มาก ถ้าดื่มนมจะต้องลดอาหารเนื้อสัตว์ พวกถั่วต่างๆแลผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ให้โปรตีนสูงควรงด เนื้อสัตว์ให้รับประทานเนื้อปลาเป็นหลัก           แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ข้าว กวยเตี๋ยว วุ้นเส้น บะหมี่ เผือก มัน ขนมจีนผู้ป่วยควรรับประทานหมู่นี้ให้มาก ยกเว้นไตวายจากโรคเบาหวานต้องปรึกษาแพทย์           ไขมัน หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์เช่น มันหมู มันไก่ มันเป็ด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ แกงต่างๆ เครื่องใน ขาหมู หนังไก่ ไก่ตอน มันไก่ให้ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทน หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมที่องใส่กะทิ เกลือแร่ ผู้ป่วยไตวายให้ลดอาหารเค็ม เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูง บวม น้ำท่วมปอด ตัวอย่างอาหารที่มีเกลือมากควรหลีกเลี่ยง         หากท่านซื้ออาหารกระป๋องท่านต้องอ่านสลากอาหารเพื่อดูปริมาณสารอาหารเลือกที่มีเกลือต่ำ รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ   หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง เนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน Potassium โพแทสเซียม           เนื่องจาก โพแทสเซียมถูกขับออกทางไต ไตเสื่อมทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียม ผู้ป่วยไตวายมักจะมีการคั่งของ โพแทสเซียม ถ้าระดับโพแทสเซียมสูงมากอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ หารต้องการรับประทานผลไม้ควรรับประทานก่อนการฟอกเลือด         ผักที่มีโพแทสเซียมสูงควรงดได้แก่ หัวปลี ผักชี ต้นกระเทียม ที่มีมากได้แก่ บร๊อคโคลี่ แครอท มันเทศ ผักบุ้ง เห็ดฟาง มะเขือพวง มะเขือเปราะ ใบแมงลัก โหระพา หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง ผักปวบเล้ง มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกระหล่ำ ถั่วต่างๆ เม็ดทานตะวัน กาแฟ น้ำนม ผักที่มีโพแทสเซียม ปานกลางได้แก่ เห็ดนางฟ้า แตงกวา ฟักเขียว พริกฝรั่ง หัวผักกาดขาว มะเขือเทศสีดา ผักกาดขาวใบเขียว พริกหยวก   ผักที่มีโพแทสเซียมน้อยได้แก่ บวบเหลี่ยม ถัวพู หอมหัวใหญ่ ผักที่มีน้อยที่สุดคือเห็ดหูหนู         ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงควรงดได้แก่ มากที่สุดคือทุเรียนหมอนทอง และชะนี รองลงมาได้แก่ มะพร้าว   กล้วย ลำไยพันธ์ต่างๆ   มีปานกลางได้แก ฝรั่ง มะขาม กระท้อน   ส้ม ลางสาด องุ่น มะม่วง มะละกอสุก ลิ้นจี่ ละมุด ขนุน ลูกพรุน ลูกเก็ด ผักและผลไม้ที่พอรับประทานได้ แต่ปริมาณไม่มากได้แก่ ถั่วพู ถั่วผักยาว มะเขือยาว หน่อไม้ตรง ผักคะน้า ถั่วลันเตา มะระ หัวผักกาดขาว มะม่วง มะละกอ องุ่น แตงโม แอปเปิล ชมพู่ ผักที่รับประทานได้ กะหล่ำปลี แตงกวา บวบ ฟักเขียว ถั่วงอก ข้อมูลจาก Siamhealth net

การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร?, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร? หมายถึง, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร? คือ, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร? ความหมาย, การควบคุมอาหารสำหรับโรคไตวายเรื้อรัง ทำอย่างไร? คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu