ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันควรดูแลและระวังในการนอนหลับอย่างไร??
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันควรดูแลและระวังในการนอนหลับอย่างไร
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันควรดูแลและระวังในการนอนหลับอย่างไร
ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับประมาณร้อยละ70ของผู้ป่วย ปัญหาเรื่องการนอนจะส่งผลเสียทั้งทางด้านอารมณ์ คุณภาพชิตทั้งของผู้ป่วยและคนที่ดูแลปัญหาเรื่องการนอนหลับพบได้หลายรูปแบบดังนี้ ผู้เข้าหลับง่ายแต่จะมีปัญหาเรื่องตื่นตอนเช้ามืด จะรู้สึกนอนไม่หลับ ขยับตัวยาก บางรายอาจจะเกิดอาการสั่น หรือบางรายหลังจากลุกขึ้นมาปัสสาวะแล้วจะเกิดอาการนอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากขนาดของยาไม่สามารถคุมอาการในตอนกลางคืน แพทย์ต้องปรับยาเพื่อให้ยาคุมอาการตอนกลางคืน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะหลับในตอนกลางวันมาก บางคนอาจจะหลับขณะรับประทานอาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหานอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือาจจะเกิดฝันร้าย สาเหตุมักจะเกิดจากยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันมีขนาดมากไป แพทย์ต้องปรับขนาดของยาหรืออาจจะต้องเปลี่ยนชนิดของยา ชนิดที่สามอากรนอนผิดปกติจากตัวโรคเอง ปกติเมื่อคนธรรมดาฝันมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัว แต่ผู้ป่วยพาร์กินสันกล้ามเนื้อมีการเกร็งออยู่ตลอดเวลา เมื่อเวลาฝันอาจจะมีอาการแตะหรือถีบ ซึ่งอาจจะทำให้คนดูแลตกใจหรือได้รับบาดเจ็บกรณีที่นอนเตียงเดียวกัน ที่สำคัญต้องระวังมิให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ ประสาทหลอน อาจจะหลอนเห็นผี เห็นสัตว์ทั้งใหญ่และเล็กเป็นต้น สาเหตุเกิดจากยาที่ใช้รักษาพาร์กินสัน การรักษาให้ปรับขนาดของยา ข้อมูลจาก Siamhealth net
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!