EUREPGAP คืออะไร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร มีวิธีดำเนินการอย่างไร?
EUREPGAP คืออะไร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร มีวิธีดำเนินการอย่างไร
EUREPGAP คืออะไร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร มีวิธีดำเนินการอย่างไร
EUREPGAP คือหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agriculture Practice GAP ซึ่งกลุ่มผู้ค้าปลีกในยุโรปริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2540 โดยกำหนดข้อตกลงว่าด้วยมาตรฐาน EUREPGAP ฉบับแรกสำหรับสินค้าผักและผลไม้สดเมื่อเดือนกันยายน 2544 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2545 จึงได้ออกมาตรฐานสำหรับสินค้าดอกไม้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดมาตรฐานสำหรับสินค้าปศุสัตว์ กาแฟ และธัญพืช สาระสำคัญของมาตรฐานมีดังนี้1 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริโภคในยุโรปได้รับความปลอดภัยจากผลผลิตการเกษตร รวมทั้งกระบวนการผลิตต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม มาตรฐาน EUREPGAP ได้ถูกนำมาใช้เป็นข้อกีดกันในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกรวมทั้งไทยด้วย และมีแนวโน้มในการใช้มาตรฐานที่เข้มงวดขึ้น โดยผู้ค่าปลีกบางรายในยุโรปกำหนดไว้ว่า จะปฏิเสธการนำเข้าสินค้าเกษตรจากผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ไม่ได้มาตรฐานนี้ภายในปี 2546-25482 หน่วยงานที่ออกใบรับรอง ได้แก่ Certification Bodies CBs ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก EUREP ให้เป็นผู้ออกใบรับรอง EUREPGAP ปัจจุบันมีอยู่หลายแห่งทั่วโลก สำหรับผู้ได้รับการแต่งตั้งในไทยคือ บริษัท SGS Thailand ซึ่งเป็นสำนักงานตัวแทนของบริษัท SGS จากเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีผู้ผลิตจากทั่วโลกที่ได้รับใบรับรอง EUREPGAP ประมาณ 3 900 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ผลิตไทย 2 ราย 3 ขั้นตอนการออกใบรับรอง บริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจาก EUREPGAP จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแหล่งเพาะปลูกและโรงงานผลิตสินค้าที่ต้องการขอใบรับรองเพื่อตรวจสอบและประเมินผลตามมาตรฐานก่อนอนุมัติออกใบรับรองให้ 4 ผู้ที่สามารถขอใบรับรองได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 5 สาระสำคัญสำหรับสินค้าประเภทผัก ผลไม้สด และดอกไม้ อาทิ 5 1 การตรวจสอบย้อนกลับ Traceability สินค้าที่ทำจากผลผลิตทางการเกษตรต้องสามารถตรวจสอบแหล่งเพาะปลูกได้ 5 2 การบันทึกข้อมูล เกษตรกรต้องบันทึกข้อมูลตั้งแต่ในขั้นเริ่มแรกของการเพาะปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว จนกระทั่งสินค้าส่งถึงผู้บริโภคเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าสินค้าดังกล่าวมีหลักปฏิบัติทางด้านการเกษตรที่ดี 5 3 การเตรียมการก่อนเริ่มปลูก ได้แก่ - การคัดเลือกหรือการจัดเตรียมพันธุ์ เช่นมีการคัดเลือกเมล็ดพันธ์พืชและต้นกล้าที่มีคุณภาพ ทนต่อโรคพืชและแมลงศัตรูพืช และมีการบำบัดเมล็ดพันธุ์เพื่อลดการใช้สารเคมีในช่วงของการเพาะปลูก - การจัดการดิน เช่น การเลือกใช้เทคนิคในการเพาะปลูกที่ช่วยลดการสึกกร่อนของหน้าดินและการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อรักษาสภาพดิน เป็นต้น - การใช้ปุ๋ยและสารเคมีต้องไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลผลิต5 4 แรงงาน ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรควรได้รับการฝึกอบรมวิธีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น6 อายุของใบรับรอง มีอายุ 3 ปี ทั้งนี้ CBs จะตรวจสอบเพื่อประมวลผลเป็นการภายใน Internal Audit อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับใบรับรองปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนและถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 7 ค่าใช้จ่ายในการขอรับใบรับรองได้แก่ - ค่าลงทะเบียนเป็นเงิน 5 ยูโร ปี - ค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตเป็นเงิน 20 ยูโร ปี -ค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบซึ่งขึ้นอยู่กับที่ตั้ง ระยะทาง และขนาดพื้นที่ที่ต้องการตรวจสอบ ทั้งนี้ สถานะของ EUREPGAP ถือว่าเป็นมาตรฐานของภาคเอกชน ไม่ใช่มาตรฐานภาครัฐ แต่ใบรับรอง EUREPGAP ถือเป็นใบรับรองที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ค้าปลีกในยุโรปหรือผู้จัดจำหน่าย แต่ไม่มีการแสดงที่ฉลากสินค้าให้ผู้บริโภคได้รับทราบ อ้างอิงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!