อยากทราบถึงสาระสำคัญของ JTEPA?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากทราบถึงสาระสำคัญของ JTEPA ในประเด็นเกี่ยวกับที่ญี่ปุ่นจะให้ประเทศไทยเป็นที่ทิ้งขยะ หรือของเสียอันตรายจากประเทศญี่ปุ่น
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากทราบถึงสาระสำคัญของ JTEPA ในประเด็นเกี่ยวกับที่ญี่ปุ่นจะให้ประเทศไทยเป็นที่ทิ้งขยะ หรือของเสียอันตรายจากประเทศญี่ปุ่น
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ไม่ได้บังคับให้ไทยต้องยอมรับหรืออนุญาตหรือส่งเสริมให้ญี่ปุ่นส่ง quot ขยะ quot มาทิ้งในไทย ตรงกันข้าม ในเรื่องการนำเข้า-ส่งออกสินค้านั้น JTEPA ยืนยันสิทธิโดยสมบูรณ์ของไทยที่จะรักษามาตรฐานสิ่งแวดล้อมไว้ตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึง Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal หรือ quot อนุสัญญาบาเซิล quot ทุกประการ สินค้าใดจากญี่ปุ่นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานของไทย ไทยไม่จำเป็น ต้องรับนำเข้า ซึ่งหากพิจารณาถึงนโยบายของรัฐบาลในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ก็พอจะเห็นหลักได้แล้วว่า ไม่มีรัฐบาลใดจะปล่อยให้ประเทศไทยกลายเป็น quot แหล่งทิ้งขยะ quot ของประเทศอื่นๆ การพิจารณาเรื่องสำคัญและละเอียดอ่อนเช่นนี้ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงทั้งด้านตัวบทกฎหมายและด้านสถานการณ์การนำเข้าของเสียในปัจจุบันของไทย มากกว่าความน่าตื่นเต้นของประเด็นที่หยิบยกขึ้น และในด้านตัวบทกฎหมาย การนำเข้าส่งออกของเสียหรือสิ่งปฏิกูลที่เป็นอันตรายมายัง หรือจากไทย มีพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ ศ 2535 บังคับใช้ควบคุมอยู่ ซึ่ง พ ร บ นี้ระบุวัตถุอันตรายที่ห้ามหรือต้องมีการควบคุมการผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย หรือมีไว้ในครอบครอง โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่จัดตั้งขึ้นตาม พ ร บ นี้ มีอำนาจประกาศระบุชื่อหรือคุณสมบัติของวัตถุอันตราย ชนิดของวัตถุอันตราย กำหนดเวลาการใช้บังคับ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตราย รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับผู้ที่ประสงค์จะผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุเหล่านั้น ซึ่งหน่วยงานหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวัตถุอันตราย ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การนำเข้าหรือส่งออกของเสียภายใต้ JTEPA จะอยู่ภายใต้บังคับของ พ ร บ นี้ เพราะ JTEPA ยืนยันสิทธิของไทยในเรื่องการควบคุมการนำเข้าของเสียอันตรายตามกฎหมายไทย โดยไม่มีข้อใดจำกัดสิทธิดังกล่าว quot ขยะ quot ใดเป็นวัตถุอันตรายที่กฎหมายไทยกำหนดไม่ให้นำเข้า ก็นำเข้าไทยไม่ได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับว่าจะเก็บภาษีเท่าใดหรือไม่เก็บเลย ขณะเดียวกัน ในฐานะภาคีของอนุสัญญาบาเซิล การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียอันตรายของไทยและญี่ปุ่นก็ต้องเป็นไปตามแนวทางที่อนุสัญญาดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่ง JTEPA ไม่เปลี่ยนแปลงสิทธิและพันธกรณีของไทยและญี่ปุ่นตามอนุสัญญานี้ ส่วนบทแก้ไขอนุสัญญาบาเซิล หรือที่เรียกกันว่า quot Ban Amendment quot ซึ่งมีสาระห้ามประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งรวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ไม่ให้ส่งออกของเสียอันตรายไปทำลายในประเทศกำลังพัฒนานั้น ในชั้นนี้คงยังไม่เกี่ยวข้อง เพราะปัจจุบัน ยังไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากยังต้องมีประเทศให้สัตยาบันอีก 62 ประเทศ หรือสามในสี่ของภาคีอนุสัญญาบาเซิล และต่อไปหากมีผลใช้บังคับ ญี่ปุ่นจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายภายใต้อนุสัญญาบาเซิลมายังประเทศไทยหรือประเทศกำลังพัฒนาอื่นใดเพื่อกำจัดได้ และ JTEPA จะไม่เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ การลดภาษีภายใต้ JTEPA ให้กากหรือของเสียจากที่เก็บในปัจจุบันร้อยละ 1 และร้อยละ 5 เป็นศูนย์ทันทีหรือในปีที่ 4 หลัง JTEPA มีผลใช้บังคับ จึงไม่น่าจะส่งผลในทางปฏิบัติ เพราะมีการค้าน้อยมาก และอัตราภาษีในปัจจุบันก็ต่ำอย่างยิ่งอยู่แล้ว ในทุกกรณี JTEPA ไม่มีข้อบทที่บังคับให้ไทยต้องอนุญาตการนำเข้า quot ขยะพิษ quot หรือ quot สารเคมีอันตราย quot จากญี่ปุ่น แถมยังกำหนดให้ไทยสามารถใช้มาตรการที่จำเป็นที่ระบุไว้ใน quot ข้อยกเว้น quot ตามข้อ 20 และ 21 ของ quot แกตต์ quot เพื่อไม่ปฏิบัติตาม JTEPA เช่น ขึ้นภาษีของเสียหรือห้ามการนำเข้าไปเลย ก็ได้ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าวรวมถึงมาตรการสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสุขภาพของคน สัตว์และพืช และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ควบคู่ไปกับข้อการจำกัดการผลิตหรือการบริโภคภายในประเทศ เรียกว่า นอกจากจะไม่บังคับให้รับ quot ขยะ quot แล้ว JTEPA ยังให้สิทธิประเทศไทยปฏิเสธ quot ขยะ quot ได้ทุกเวลา ทุกกรณี ตามที่ไทยเห็นควร และตามกฎหมายของเรา ข้อมูลจาก www logisticsclinic com
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!