ใครรู้จักโรคสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาบ้าง??
ใครรู้จักโรคสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาบ้าง
ใครรู้จักโรคสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาบ้าง
โรคสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาที่ก่อโรคในคน เป็นอะมีบาซึ่งเป็นสัตว์เซลเดียวที่ดำรง ชีวิตเป็นอิสระ (free-living) อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งที่มีน้ำนิ่งหรือหรือไหลเวียนน้อยตามธรรมชาติ เช่น บ่อ สระ และในดินที่มีน้ำขัง โดยทั่วไปโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้ออะมีบาจนถึงขั้นป่วยและเสียชีวิตมีน้อยมาก เชื้ออะมีบาที่ก่อโรคสมองอักเสบที่พบได้ คือ
1. Naegleria fowleri เข้าสู่ร่ายกายทางโพรงจมูก มักจะเกิดเมื่อมีอากรสำลักน้ำ และเชื้อจะขึ้นสมองโดยผ่านทางเส้นประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve) ทำให้เกิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบ (Primary amoebic meningo-encephalitis หรือ PAM) N. fowleri มีรูปร่างลักษณะ 2 ระยะ ได้แก่ระยะ trophozoite ซึ่งอาจมีรูปร่างแบบอะมีบา (ameboid form) กับแบบมีหนวดสำหรับว่ายน้ำ (flagellate form) และระยะ cyst เชื้อเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง ระยะฟักตัวของโรค 3-7 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะมาก เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน เพ้อ ไข้สูง คอแข็ง ง่วงซึม อาการจะทรุดอย่างรวดเร็ว และมักจะเสียชีวิตภายใน 10 วัน โรคนี้ส่วนใหญ่พบในคนวัยหนุ่มสาวทีมีสุขภาพปกติ
2. Acanthamoeba spp. (A. culbersoni, A. polyphaga, A. castellanii, A. astronyxis) และ Balamuthia mandrillaris (leptomyxid amebae) เชื้ออะมีบากลุ่มนี้มักก่อโรคในผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานต่ำ หรือมีโรคเรื้อรังประจำตัวอยู่ก่อน หรือได้รับยาที่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยทั่วไปเชื้อสามารถเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง โดยเข้าทางบาดแผลที่ผิวหนังหรือทางเดินหายใจ แล้วแพร่เข้าสู่กระแสเลือดขึ้นสู่สมองและทำให้เกิดสมองอักเสบ (Granulomatous amoebic encephalitis หรือ GAE) นอกจากนี้ยังสามารถเข้าทางเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบ (Keratoconjunctivitis) อาจทำให้ตาบอดได้ ระยะฟักตัวจะนานกว่าเชื้อ N. fowleri การติดเชื้อที่สมอง ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ และอาการแสดงเฉพาะที่ทางระบบประสาท (Focal neurological deficits) เช่น อ่อนแรงครึ่งซีก พูดลำบาก ประสาททางสมองพิการ เดินเซ ฯลฯ ตลอดจนพฤติกรรมผิดปกติ สับสน ซึม ชัก ไม่รู้สติ และเสียชีวิตในที่สุด โดยทั่วไปการดำเนินของโรคมักค่อยเป็นค่อยไป เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
ข้อมูลจาก : สำนักงานโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!