ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

WTO มีหน้าที่อย่างไร?, WTO มีหน้าที่อย่างไร? หมายถึง, WTO มีหน้าที่อย่างไร? คือ, WTO มีหน้าที่อย่างไร? ความหมาย, WTO มีหน้าที่อย่างไร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

WTO มีหน้าที่อย่างไร?

อยากทราบองค์กรระหว่างประเทศ ASEAN, EU, NATO, OPEC, NAFTA, WTO, OAS, IMF, AFTA, APEC, OAU, CIS, NAM  แต่ละองค์กรมีหน้าที่อย่างไร

คำตอบ

องค์การการค้าโลก World Trade Organization WTO                   องค์การการค้าโลก World Trade Organization WTO เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มีพัฒนาการมาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ General Agreement on Tariffs and Trade GATT เมื่อปี พ ศ 2490   ซึ่งขณะนั้น ยังไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยสิ้นสุดลง และผลการเจรจาส่วนหนึ่งคือ การก่อตั้ง WTO ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ ศ 2538 มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ และมีที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์                   ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2538 เป็นสมาชิกลำดับที่ 59 มีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง ขณะนี้ มีประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ที่สำคัญ เช่น รัสเซีย เวียดนาม ลาว มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก WTO ด้วยกันคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของการค้าโลก และการขยายตัวของจำนวนสมาชิกจะมีผลให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบัน ณ เดือนมกราคม 2549 WTO มีสมาชิกอย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 149 ประเทศ สมาชิกล่าสุดประกอบด้วย เนปาล กัมพูชา และซาอุดิอารเบีย นอกจากนี้ ตองกา ได้เสร็จสิ้นกระบวนการเข้าสมัครเป็นสมาชิก WTO   แล้ว แต่ยังรอการภาคยานุวัติก่อนการเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 อย่างเป็นทางการ หน้าที่ของ WTO                   1 บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT WTO รวม 28 ฉบับ โดยผ่านคณะมนตรี Council และคณะกรรมการ Committee ต่างๆ ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี                   2 เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสมาชิกทั้งในรูปของ มาตรการภาษีศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร                   3 เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสมาชิก และหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการจัดตั้งคณะผู้พิจารณา Panel ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีกลไกยุติข้อพิพาทด้วย                   4 ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศและจัดให้มีการทบทวนนโยบาย การค้าของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการตรวจสอบให้เป็นไปในแนวทางการค้าเสรี                   5 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอตลอดจนทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญๆ                   6 ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่   สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Association of Southeast Asian Nations ndash ASEAN                   สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ ศ 2510 ค ศ 1967 ณ กรุงเทพฯ เป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความมั่นคงทางการเมือง การเจริญเติบโตทางการค้าและทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การพัฒนาทางสังคมของประเทศสมาชิก เพื่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรกเริ่ม อาเซียนประกอบด้วย 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังยุคสงครามเย็น อาเซียนได้พยายามสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายที่จะขยายจำนวนประเทศสมาชิกให้เป็น 10 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มด้วยการเป็นประเทศสมาชิกของประเทศบรูไนในปี พ ศ 2527 ค ศ 1984 ต่อมาเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกในปี พ ศ 2538 ค ศ 1995 ลาวและพม่าในปี พ ศ 2540 ค ศ 1997 และกัมพูชา ปี พ ศ 2542 ค ศ 1999 อาเซียนมีประชากรกว่า 500 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4 5 ล้านตารางกิโลเมตร ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ สหภาพยุโรป European Union EU                   สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกันของประเทศในทวีปยุโรป   เพื่อสร้างเสถียรภาพทั้งด้านการเมือง   เศรษฐกิจ   และสังคมในภูมิภาค   แนวคิดการสร้างให้เกิดสันติภาพในยุโรปเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกและสงครามระหว่างประเทศในภูมิภาค   ในช่วงแรกเป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาให้เกิดตลาดเดียว Single Market   ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด economy of scale   เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน   โดยการยกเลิกพรมแดนระหว่างกัน   ประชาชน   สินค้า   บริการ   และเงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิก                     ปัจจุบันสหภาพยุโรปประกอบด้วยประเทศสมาชิก 25 ประเทศ   ได้แก่ ออสเตรีย   เบลเยี่ยม   ไซปรัส   เชก   เดนมาร์ก   เอสโทเนีย   ฟินแลนด์   ฝรั่งเศส   เยอรมัน   กรีซ   ฮังการี   ไอร์แลนด์   อิตาลี   ลัตเวีย   ลิธัวเนีย   ลักเซมเบอร์ก   มอลต้า   เนเธอร์แลนด์   โปแลนด์   โปรตุเกส   สโลวาเกีย   สโลวีเนีย   สเปน   สวีเดน   และสหราชอาณาจักร ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ North Atlantic Treaty Organisation NATO                   เป็นองค์การพันธมิตรทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าในขณะที่ยุโรปตะวันตกกำลังอยู่ในภาวะของการเสริมสร้างตนเองในทางเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาควรให้ความมั่นใจในด้านเสถียรภาพทางการเมืองอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างระบบพันธมิตรทางทหารเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับมหาอำนาจฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือ สหภาพโซเวียต                               ประเทศต่าง ๆ 12 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซแลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และโปรตุเกส ได้ร่วมลงนามใน The North Atlantic Treaty ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2492 โดยสนธิสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2492 ต่อมาสมาชิกภาพได้ขยายเป็น 19 ประเทศ โดยกรีซ ตุรกี สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี และสเปน ได้เข้าเป็นสมาชิกในช่วงปี 2495 และ 2525 ในปี 2542 สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี และโปแลนด์ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของนาโต้ และในเดือนมีนาคม 2547 บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลิธัวเนีย ลัตเวีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย 7 ประเทศยุโรปตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของนาโต                                 วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา คือ เพื่อจัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารเพื่อการป้องกันร่วมกัน สำหรับให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในรูปแบบต่างๆ ในกรณีที่ประเทศสมาชิกถูกคุกคามจากภายนอก ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก Organization of Petroleum Exporting Countries OPEC                   ประกอบไปด้วย 11 ประเทศคือ Algeria Indonesia Iran Iraq Kuwait Libya Nigeria Qatar Saudi Arabia the United Arab Emirates and Venezuela                     วัตถุประสงค์คือ เพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ของประเทศผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลี่ยมรายใหญ่ฯของโลกและตั้งราคาน้ำมัน                   หน้าที่ คือประสานนโยบายการผลิต และให้ความช่วยเหลือทางเศรษกิจทางเทคนิคแก่กันและกันในกลุ่มของ OPEC เอง                   ที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย                   ผลสำเร็จหรือผลงานขององค์กรสำเร็จบ้างในตอนตั้งใหม่ฯ ต่อมาในระยะหลังฯ เมื่อเกิดสงคราม อิรักโจมตีอิหร่าน ต่างฝ่ายแอบขายน้ำมันซื้ออาวุธ ทำให้ราคาที่ตั้งไว้ไม่ประสยความสำเร็จ และบางประเทศก็แยกตัวออกมา ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ North American Free Trade Agreement NAFTA                   ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือ NAFTA North American Free Trade Agreement เป็นข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2535 วัตถุประสงค์ของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ คือ ขจัดอุปสรรคทางการค้าและบริการระหว่างประเทศภาคีด้วย การยกเลิกภาษีศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรให้แก่กันและกัน ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม ขยายโอกาสการลงทุน กำหนดมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และจัดตั้งกลไกการยุติข้อพิพาทการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนิน การตามวัตถุประสงค์ให้แล้วเสร็จภายใน 15 ปี 2551                   ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ มีจำนวนประชากร 363 ล้านคน มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของกลุ่มในปี 2535 สูงถึง 714 221 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 18 2 ของมูลค่าการค้ารวมของโลก มูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 17 ของการส่งออกโลก และมูลค่าการนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 19 6 ของมูลค่านำเข้าของโลก การรวมกลุ่มการค้าเสรีอเมริกาเหนือ มีแนวโน้มว่าจะทำให้ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างประเทศภาคีทั้งสามกับประเทศนอกกลุ่มลดน้อยลง ในอนาคตประเทศที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมาก คือประเทศในเอเซียที่ปัจจุบันพึ่งพิงการส่งออก และมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าในสหรัฐอเมริกาและ แคนาดาค่อนข้างสูง ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ รวมทั้งไทย เพราะเม็กซิโกจะกลายเป็นคู่แข่งในการส่งออกและการลงทุน สำหรับ สินค้าประเภทอาหารและอุตสาหกรรมบางประเภท ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่       องค์การรัฐอเมริกัน The Organization of American States OAS                   คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค ศ 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค ศ 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน Organization of American States ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร Charter ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค ศ 1951                   องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดยสันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ International Monetary Fund ndash IMF                   กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund IMF คือองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถือกำเนิดขึ้นจากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือที่เป็นที่รู้จักดีในนามของ Bretton Woods Conference ตามสถานที่จัดประชุม คือ Bretton Woods New Hampshire USA ในช่วงวันที่ 1-22 กรกฎาคม 2487 ค ศ 1944 มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ อันจะเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการค้าโลก และเป็นพื้นฐานสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก IMF เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2489 ค ศ 1946 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่   เขตการค้าเสรีอาเซียน ASEAN Free Trade Area AFTA                   ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2534 ผู้นำของประเทศอาเซียนทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือเรียกโดยย่อว่า AFTA ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ที่ปรับเปลี่ยนจากความร่วมมือทางด้านความมั่นคงมาเป็นด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลในปี 2538 พบว่า กลุ่มอาเซียน 7 ประเทศ เวียตนามเข้าเป็นสมาชิกในปี 2538 มีการส่งออกรวมกันคิดเป็นร้อยละ 6 5 ของการส่งออกของโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 24 5 ของการส่งออกรวมของเอเซีย มีประชากรรวมกันกว่า 400 ล้านคน ปัจจุบันมีสมาชิก 9 ประเทศ คือ ลาวและกัมพูชา สำหรับเมียนมาร์ยังไม่ได้รับเข้าเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่   ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก Asean and Pacific Economic Cooperation APEC                   ในปี 2532 กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิกจำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ 6 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ประเทศในกลุ่ม NAFTA 3 ประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตเรีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ปาปัวนิวกินี และชิลี ได้ร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือขึ้น เรียกว่า Asia-Pacific Economic Cooperation APEC ทั้งนี้เพื่อสนองตอบต่อการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิคต่างพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศในกลุ่มนี้มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 34 5 ของโลก มีผลผลิตมวลรวมคิดเป็นร้อยละ 50 ของโลก และมีการค้าคิดเป็นร้อยละ 40 ของโลก นับว่าเป็นการรวมกลุ่มที่มีขนาดใหญ่มาก ในปี 2541 จะรับสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 3 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย เวียตนามและเปรู ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่   องค์การสหภาพแอฟริกา   African Union - AU องค์การเอกภาพแอฟริกา Organization of African Unity - OAU                   เป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญของทวีปแอฟริกา ซึ่งก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา Organization of African Unity - OAU เมื่อปี 2545 โดยได้ปรับปรุง กฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศสมาชิก โดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ ซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกามีประสิทธิภาพมากกว่าองค์การเอกภาพแอฟริกาเดิม โดยมีกลไกสำคัญของสหภาพแอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่ สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa|s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่   The Commonwealth of Independent States CIS ประเทศเครือรัฐเอกราช                   เป็นลักษณะการรวมประเทศ ภายหลังการล่มสลายของประเทศสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต Union of Soviet Socialist Republics ค ศ 1991 สาธารณรัฐบอลติก 3 ประเทศคือลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนียแยกตัวออกไป คงเหลือเพียง 12 สาธารณรัฐจาก 15 สาธารณรัฐเดิมมารวมกันเป็นเครือรัฐเอกราช มีมินสก์ Minsk เมืองหลวงของไบโลรัสเซียเป็นเมืองหลวง ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด Non-Aligned Movement NAM                   กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด Non-Aligned Movement NAM ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นเวลามากกว่า 40 ปีแล้วนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950-1960 ซึ่งเป็นช่วงที่โลกอยู่ในยุคสงครามเย็นและประเทศในเอเชียและแอฟริกาหลายประเทศยังคงตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจ                                 จุดเริ่มต้นของ NAM มาจากการที่ผู้นำของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา ได้มาประชุมกันที่กรุงโคลัมโบเมื่อปี 1954 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศในขณะนั้น และเห็นว่า ควรมีการขยายกรอบการประชุมให้กว้างออกไป                                 จนอีกหนึ่งปีต่อมา จึงมีการประชุมกลุ่มประเทศเอเชีย-แอฟริกาที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย Bundung Conference โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมเพิ่มขึ้นเป็น 29 ประเทศ ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมได้เห็นพ้องกันว่า ประเทศในเอเชียและแอฟริกาควรมีการรวมตัวกันเพื่อไม่ต้องถูกครอบงำโดยสหรัฐฯ หรือสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น และเพื่อเป็นพลังร่วมกันในการต่อต้านการเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ ในการนี้ ที่ประชุมได้ยอมรับหลักการ 10ประการเป็นท่าทีร่วมกัน ซึ่งต่อมาหลักการดังกล่าวได้กลายเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของ NAM ได้แก่                             ndash การเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศอื่น               ndash การยอมรับความเสมอภาคของชนทุกเชื้อชาติและทุกประเทศ               ndash การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธี               ndash การเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่                                                      

WTO มีหน้าที่อย่างไร, WTO มีหน้าที่อย่างไร หมายถึง, WTO มีหน้าที่อย่างไร คือ, WTO มีหน้าที่อย่างไร ความหมาย, WTO มีหน้าที่อย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu