ฐานันดรที่ ๔?
ทำไมจึงเรียกนักหนังสือพิมพ์ว่า |ฐานันดรที่ ๔| พิชัย nbsp ดวงแก้ว อุทัยธานี
ทำไมจึงเรียกนักหนังสือพิมพ์ว่า |ฐานันดรที่ ๔| พิชัย nbsp ดวงแก้ว อุทัยธานี
คำว่าฐานันดร ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Estate เริ่มใช้กันมาแต่สมัยโบราณ เป็นการลำดับศักดินาของบุคคลที่ดำรงความสำคัญเกี่ยวกับการปกครองประเทศ โดยอังกฤษเป็นต้นตำรับ และเพราะว่าทั่วโลกยอมรับนับถือว่าอังกฤษเป็นแม่บทของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นประเทศอื่น ๆ ก็เจริญรอยตามอังกฤษในเรื่องนี้แม้กระทั่งประเทศที่ไม่ได้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็ยังคงเดินแบบอังกฤษในเรื่องการจัดอันดับฐานันดร ซึ่งเริ่มแรก อังกฤษมีอยู่เพียง ๓ ฐานันดร คือ ฐานันดรที่ ๑ ได้แก่ พระมหากษัตริย์และพวกขุนนาง ฐานันดรที่ ๒ ได้แก่ บรรพชิตทางศาสนจักร ฐานันดรที่ ๓ ได้แก่ ฝ่ายที่เกี่ยวกับการควบคุม และบริหารราชการแผ่นดิน คือ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภา ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยที่นายเอ็ดมัน เบิร์ก เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้น ในวันหนึ่งที่มีการประชุมสภา ได้มองเห็นผู้แทนหนังสือพิมพ์มานั่งฟังการประชุมอยู่ด้วย จึงได้แถลงในที่ประชุมว่า “ ณ บัดนี้ได้มีฐานันดรที่ ๔ คือ หนังสือพิมพ์มาร่วมอยู่ ณ ทีนี้ด้วย ” และนี่คือที่มาของคำว่า |ฐานันดรที่ ๔| อัน หมายถึงหนังสือพิมพ์ ทว่า ในระยะนั้นหมายถึงเฉพาะหนังสือพิมพ์ |ไทมส์ออฟ| แต่เพียงฉบับเดียวเท่านั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงแล้ว มีการตั้งองค์การสหประชาชาติประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อันเป็นเสมือนการแพร่สิทธิเสรีภาพให้กระจายไปทั่วโลก คำว่า |ฐานันดรที่ ๔| ที่ หมายถึง หนังสือพิมพ์ก็แพร่หลายและลามมาถึงเมืองไทยในที่สุด “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!