ประวัติกางเกงยีนส์?
คนไทยใส่กางเกงยีนส์กันเกร่อมาหลายปีแล้ว nbsp แล้วฝรั่งต้นคิดล่ะ เขาใส่กางเกงยีนส์กันมากี่ปีแล้ว nbsp ถึงร้อยปีไหม ขายีนส์ กรุงเทพฯ
คนไทยใส่กางเกงยีนส์กันเกร่อมาหลายปีแล้ว nbsp แล้วฝรั่งต้นคิดล่ะ เขาใส่กางเกงยีนส์กันมากี่ปีแล้ว nbsp ถึงร้อยปีไหม ขายีนส์ กรุงเทพฯ
ยีนส์มีกำเนิดมาหลายร้อยปีแล้วอย่างที่ตั้งข้อสงสัยจริง ๆฝรั่งเรียกยีนส์ว่า บลูยีนส์ Blue Jeans เพราะยีนส์มีสีโทนน้ำเงินมาแต่กำเนิด ไม่ได้มีสีต่าง ๆ ให้เลือกอย่างในปัจจุบัน ผ้ายีนส์ขนานแท้เป็นผ้าฝ้ายลายสอง ใช้สำหรับตัดเย็บเสื้อผ้าใส่ทำงานที่ต้องการความทนทาน ผ้ายีนส์ทั่วไปทอจากเมืองเจนัว Genoa ประเทศอิตาลี แต่ช่างทอผ้าชาวฝรั่งเศสเรียกเมืองนี้ว่า แชน Genes อันเป็นที่มาของคำว่า ยีนส์ นั่นเอง อย่างไรก็ดีต้นกำเนิดของยีนส์นั้นดำเนินควบคู่มากับประวัติของช่างเสื้อวัย ๑๗ ที่ชื่อลีวาย สเตราส์ Levi Strauss ซึ่งอพยพมาอยู่ซาน ฟรานซิสโก ในยุคเฟื่องของเหมืองทอง ราวทศวรรษที่ ๒๓๙๓-๒๔๐๓ แต่แทนที่เขาจะร่วมเสี่ยงโชคขุดทองดังวัตถุประสงค์ของผู้คนทั้งหลายที่หลั่งไหลเข้าชาน ฟรานซิสโก ด้วยสายตานักธุรกิจที่กว้างไกลเขากลับนำผ้าใบมาขาย ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดในช่วงนั้นมาก นักขุดทองพากันซื้อผ้าใบมาใช้เป็นเต็นท์และใช้คลุมรถ ความฉลาดเฉลียวของพ่อหนุ่มคนนี้ยังมองเห็นช่องทางอื่นอีก เขารู้ว่าคนที่ทำงานในเหมืองต้องการกางเกงที่เหมาะกับลักษณะงานลุยมาก เขาจึงนำผ้าใบซึ่งทนต่องานหนัก ๆ ได้ดีมาใช้ตัดเย็บเสื้อกางเกง ถึงแม้กางเกงจากฝีมือของเขาจะหยาบและผ้าก็กระด้าง แต่บรรลุความต้องการใช้งานได้ดียิ่ง ทำให้สเตราส์กลายเป็นช่างที่ทุกคนเรียกหา ในต้นทศวรรษที่ ๒๓๙๔-๒๔๐๔ เขาได้เปลี่ยนจากผ้าใบมาใช้ผ้าฝ้ายที่มีเนื้อนุ่มกว่า เป็นผ้าที่ทอจากเมืองนีม ประเทศฝรั่งเศส ชาวยุโรปเรียกผ้าชนิดนี้ว่า แซร์จ เดอ นีม Serge de nimes แต่คนอเมริกันเรียกเป็น เดนิม denim นายสเตราส์ยังค้นพบด้วยว่า สีของผ้าเดนิมซึ่งเป็นสีฟ้าครามช่วยปิดบังรอยเปื้อนดินได้ดี ดังนั้นสินค้าปรับปรุงใหม่ของเขาจึงขายดิบขายดีไม่ยิ่งหย่อนกว่าเก่า พวกคาวบอยซึ่งต้องการกางเกงที่กระชับจะใช้วิธีใส่กางเกงแล้วลงไปแช่ในรางซึ่งใส่น้ำไว้ให้ม้ากิน จากนั้นจึงลุกมานอนตากแดดให้ผ้าเดนิมหดเข้ารูป ถึงผ้าเดนิมจะขาดยาก แต่ลูกค้าคนงานในเหมืองก็ยังติว่า ฝีเย็บกระเป๋ามักจะแตกเพราะต้องใส่เครื่องมือหนัก ๆ สเตราส์จึงแก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมความคิดของช่างเสื้อชาวยิว-รัสเซีย ผู้หนึ่ง ชื่อ จาคอบ ดาวิส ในปี ๒๔๑๖ เขาจึงใช้หมุดทองแดงติดย้ำที่ตะเข็บกระเป๋า และที่ฐานของสาบกางเกงเพื่อกันตะเข็บปริขณะนั่งร่อนทอง แต่หมุดทองแดงก็ก่อปัญหาใหม่ขึ้น เพราะคนงานเหมืองไม่ค่อยอินังขังขอบกับการสวมกางเกงใน เวลานั่งผิงไฟยามค่ำคืนหมุดทองแดงจะร้อนและไหม้ผิว การใช้หมุดทองแดงจึงต้องเลิกราไป ส่วนหมุดที่กระเป๋าใช้กันอยู่จนถึงปี ๒๔๘๐ จึงเลิกไปด้วยเหตุผลคนละอย่าง กล่าวคือ สมัยนั้นเด็ก ๆ ใส่ชุดยีนส์ไปโรงเรียน หมุดที่กระเป๋าหลังจึงขูดขีดโต๊ะเก้าอี้ไม้เป็นรอย ต้องซ่อมแซมกันเป็นการใหญ่ยีนส์ปรากฏหลักฐานการเข้าสู่วงการแฟชั่นในปี ๒๔๗๘ ด้วยการลงโฆษณาในหนังสือโว้ค เป็นภาพผู้หญิงที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงสังคมสองคนสวมยีนส์ทรงคับ ดึงแนวโน้มแฟชั่นให้เป็น |เท่แบบตะวันตก| แต่ความคลั่งไคล้ในช่วงนั้นยังไม่อาจเทียบกับช่วงทศวรรษที่ ๒๕๑๓-๒๕๒๓ ซึ่งมีการประชันขันแข่งการออกแบบชุดยีนส์กันอย่างเข้มข้น กางเกงยีนส์จึงเปลี่ยนหน้าที่จากการรับใช้งานหนักมาเป็นกางเกงสำหรับใส่เล่น จนถึงกับทำให้เกิดอุตสาหกรรมมูลค่าหลายพันล้าน ยีนส์ยี่ห้อดังบางยี่ห้อขายได้ถึง ๒๕๐ ๐๐๐ ตัวต่อสัปดาห์ทีเดียว “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!