ฐานะของวัด?
หลักเกณฑ์ในการกำหนดวัดออกเป็นวรวิหารและราชวรวิหาร nbsp มีอะไรบ้าง สมบูรณ์
หลักเกณฑ์ในการกำหนดวัดออกเป็นวรวิหารและราชวรวิหาร nbsp มีอะไรบ้าง สมบูรณ์
เรามักจะรู้สึกคุ้นเคยและสับสนกับคำขยายชื่อของวัดประเภทที่ว่า ราชวรวิหาร หรือวรมหาวิหารกันอยู่บ่อย ๆ |ซองคำถาม| เลยได้โอกาสไปค้นหามูลเหตุและความแตกต่างว่ามีความเป็นมาอย่างไรก็ได้ความมาว่า วัดทั้งหมดทั่วประเทศแบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา คือวัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรม คำว่า วิสุงคามสีมาในที่นี้หมายถึงเขตที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างโบสถ์ ส่วนสำนักสงฆ์ คือ วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จึงไม่มีอุโบสถ วัดยังแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ วัดหลวงและวัดราษฎร์ วัดหลวง หรือ พระอารามหลวง คือวัดที่พระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายในพระราชวงศ์ทรงสร้างหรือทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ให้เป็นวัดหลวง วัดราษฏร์ คือวัดที่ราษฎรสร้างขึ้น ไม่มีการแบ่งเป็นชั้นเหมือนวัดหลวง วัดหลวงแบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ รวมสามชั้น เรียงจากสูงไปต่ำคือ ชั้นเอก ชั้นโท สั้นตรี และในแต่ละชั้นยังแบ่งย่อยออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้ ชั้นเอก แบ่งออกเป็น ๓ ระดับคือ -- ราชวรมหาวิหาร -- ราชวรวิหาร -- วรมหาวิหาร ชั้นโท แบ่งเป็น ๔ ระดับคือ -- ราชวรมหาวิหาร -- ราชวรวิหาร -- วรมหาวิหาร -- วรวิหาร ชั้นตรี แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ -- ราชวรวิหาร -- วรวิหาร -- สามัญ การกำหนดแบ่งชนิดของพระอารามหลวงเริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ ศ ๒๔๕๗ วัดหลวงที่มีฐานะสูงสุด คือ ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหารมีรวมทั้งหมด ๖ วัด อยู่ในกรุงเทพฯ ๔ วัด คือ วัดพระเชตุพนฯ วัดมหาธาตุ วัดสุทัศนเทพวราราม และวัดอรุณราชวราราม ที่เหลืออีก ๒ วัดนั้นอยู่ในต่างจังหวัด ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีเป็นที่นาสังเกตว่า วัดพระแก้วมิได้จัดอยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นวัดที่มีแต่เขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอย่างวัดอื่นทั่วไป “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!