โอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำ?
ขอทราบรายละเอียด การโอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำ
ขอทราบรายละเอียด การโอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำ
การประปานครหลวง มีหลักการปฏิบัติในการจำหน่ายน้ำประปาว่า ในบ้านหลังหนึ่งๆ หรือบ้านเลขที่หนึ่ง จะให้มีการต่อน้ำใช้ได้เพียงมิเตอร์เดียว เพื่อควบคุมการใช้น้ำ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้ผู้มีอิทธิพล เช่นผู้มีบ้านหลังใหญ่ๆ หรือมีที่ดินกว้างขวางจนบางจุดที่การประปานครหลวงจะวางท่อไปให้บ้านอื่นต้องอาศัยวางท่อผ่านที่ดินเหล่านั้น ได้หาทางกลั่นแกล้งบ้านหลังอื่น เพื่อให้ที่ผู้เดือดร้อนไม่มีน้ำใช้ต้องมาซื้อน้ำจากตน เป็นการหากำไรอีกต่อหนึ่ง การประปานครหลวงจึงกำหนดลงไปเลยว่า มาตรวัดน้ำตัวหนึ่งจึงให้ใช้ได้กับบ้านเดียวเท่านั้น เมื่อมาตรตัวใดตัวหนึ่งเป็นของบ้านหลังหนึ่งนั้น หากมีผู้จะเข้ามาอาศัยในบ้านนั้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการได้มาด้วยมรดก การมอบให้กันด้วยวิธีใดๆ การซื้อขาย ฯลฯ เป็นต้น กรรมสิทธิ์ในการใช้น้ำของที่นั้นก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ความจริงจะเรียกว่าอัตโนมัติเสียทีเดียวก็ไม่ได้หรอก เรียกว่าการประปานครหลวงไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องไปรับรู้เรื่องความเป็นไปของแต่ละบ้านมากกว่า ผู้เข้าอาศัยซึ่งการประปานครหลวงก็ไม่ทราบดอกว่าเป็นรายใหม่ - รายเก่า - หรือรายใดๆ การประปานครหลวงดูที่ผู้พักอาศัยก็จ่ายค่าน้ำต่อไป หากวันใดผู้ใช้น้ำผิดข้อตกลงเรื่องการใช้น้ำ นั่นคือค้างชำระตามกำหนดที่มี ก็ระงับการใช้น้ำกันไป แต่ผู้อยู่อาศัยก็ควรมีชื่อในทะเบียนผู้ใช้น้ำให้ตรงเจ้าของอาคารจริง ตรงนี้แหล่ะคือการโอนกรรมสิทธิ์ กรณีที่ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์นี้ เรียกให้ถูกอีกทีก็คือการโอนเปลี่ยนชื่อทะเบียนการใช้น้ำนั่นเอง กรณีที่ต้องโอนจึงได้แก่ 1 เป็นหมู่บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ หรือกรณีใกล้เคียงกันที่เมื่อเริ่มการก่อสร้าง ผู้ทำเรื่องขอใช้น้ำไว้ คือเจ้าของหมู่บ้านหรืออาคารนั้น ผู้มาซื้อจึงไม่มีชื่อในทะเบียนการใช้น้ำ 2 เป็นบ้านที่เมื่อตอนก่อสร้างใช้ชื่อผู้รับเหมาสร้างอาคารเป็นผู้ขอน้ำไว้ ตรงนี้เจ้าของจริงๆ ก็จะไม่มีชื่อในทะเบียนผู้ใช้น้ำเช่นกัน 3 เป็นบ้านที่มีการเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิม เช่นซื้อต่อกันมา ได้รับมรดกได้มาด้วยการมอบให้แบบอื่นๆ ตรงนี้ชื่อในทะเบียนการใช้น้ำจึงเป็นชื่อของผู้ครอบครองเดิม ข้อมูลจาก การประปานครหลวง
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!