ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กำเนิดสามล้อไทย?, กำเนิดสามล้อไทย? หมายถึง, กำเนิดสามล้อไทย? คือ, กำเนิดสามล้อไทย? ความหมาย, กำเนิดสามล้อไทย? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

กำเนิดสามล้อไทย?

ช่วยตอบผมที ว่าชาติไหนคิดสร้างรถสามล้อที่ใช้แรงคนนะครับ nbsp ผมเห็นทั่วไปตามต่างจังหวัด เลยสนใจอยากรู้ความเป็นมา สมปอง nbsp คงทน ขอนแก่น

คำตอบ

                  รถสามล้อที่ว่านี้เป็นประดิษฐกรรมที่คิดขึ้นโดยคนไทย ผู้คิดประดิษฐ์   ชื่อ   นายเลื่อน   พงษ์โสภณ   ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ ศ ๒๔๗๖ โดยวิวัฒนาการมาจากรถจักรยานสองล้อ ในระยะแรกของสามล้อจะมีที่นั่งอยู่ทางด้านซ้ายของคนขับ   ไม่ได้อยู่ด้านหลังเหมือนสมัยนี้ แล้วไม่มีประทุนสำหรับกันแดดกันฝนให้ผู้โดยสาร   มีเพียงร่มให้คนนั่งใช้กางเอาเองตามอัธยาศัย และขับเคลื่อนด้วยแรงถีบเช่นเดียวกับรถจักรยาน                   สามล้อของไทยยังได้เผยแพร่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยถูกดัดแปลงแก้ไขไปตามสภาพการณ์และรสนิยมของคนในประเทศนั้น ๆ   เช่น   ที่สิงคโปร์และปีนัง   มีที่นั่งอยู่ทางด้านซ้ายของคนขับเหมือนอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนในไซ่ง่อนและพนมเปญผู้ขับขี่จะอยู่ทางด้านหลัง   สามล้อที่ก้าวหน้าที่สุดคือของจังหวัดพระตะบองในเขมร คือ   มีสี่ล้อ   ตัวรถแบ่งออกเป็นสองช่วง   ช่วงหลังเป็นตัวถังที่นั่งผู้โดยสารมีสองล้อ   ส่วนช่วงหน้าซึ่งเป็นรถจักรยานสองล้อเป็นส่วนของผู้ขี่ รถแบบนี้เรียกว่า |ละเมาะ|   มีข้อดีคือ   ถ้าไม่ต้องการหารายได้ อาจถอดส่วนหลังออกใช้เพียงส่วนจักรยานสองล้อเท่านั้น แต่มีข้อเสียคือขับยากเพราะการทรงตัวไม่ดี ไม่มีล้อยันทรงตัวไว้                   ในสมัยต่อมาเมื่อเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ วิวัฒนาการมากขึ้น   จึงมีผู้นำเครื่องยนต์มาใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนแทนแรงคน และได้ทำการดัดแปลงตัวถังส่วนที่เป็นที่นั่งของผู้โดยสารให้อยู่ส่วนหลังของผู้ขับขี่มีประทุนกันแดดกันฝน   เป็นรถสามล้อเครื่องอย่างที่เห็นในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดบางแห่งในปัจจุบัน   นี่นับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอีกเรื่องของคนไทย “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”  

กำเนิดสามล้อไทย, กำเนิดสามล้อไทย หมายถึง, กำเนิดสามล้อไทย คือ, กำเนิดสามล้อไทย ความหมาย, กำเนิดสามล้อไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu