ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ผมปลอม?, ผมปลอม? หมายถึง, ผมปลอม? คือ, ผมปลอม? ความหมาย, ผมปลอม? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ผมปลอม?

ใครเป็นคนประดิษฐ์ผมปลอมเป็นคนแรกคะ nbsp ต้องยกนิ้วให้ว่าเป็นผู้สร้างคุณูปการให้แก่สตรีและวงการแฟชั่น นวลฉวี ชลบุรี

คำตอบ

คนสมัยนี้ไม่ค่อยนิยมผมปลอมเท่าแต่ก่อน   อาจเป็นเพราะมียาสระผมดี ๆ และการบำรุงผมที่ช่วยให้ผมสวย   มีช่างตัดแต่งผมฝีมือเยี่ยมจึงสามารถอวดผมธรรมชาติได้อย่างสบายใจ แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพึ่งผมปลอม ไม่เพียงผู้ที่มีปัญหาเรื่องผม   ผู้ที่มีความจำเป็นอีกกลุ่ม คือ ผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการเปลี่ยนทรงผม เช่น ดารา นักร้อง ย้อนกลับไปยังช่วงแรก ๆ ของยุคประวัติศาสตร์ ชาวอัสซีเรียได้ชื่อว่าเป็นผู้นำด้านแฟชั่นทรงผม แต่ผู้ที่คิดประดิษฐ์ผมปลอมขึ้นกลับเป็นชาวอียิปต์ เมื่อ ๓ ๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ โดยใช้ตกแต่งศีรษะเฉพาะในงานเทศกาลต่าง ๆ ช่วงคริสต์ศตวรรษแรกในกรีกและโรม   คนคลั่งไคล้ผมสีบลอนด์กันมาก   สมัยนั้นหญิงในราชสำนักของกรีกนิยมกัดสีผมหรือไม่ก็โรยแป้งให้สีผมจางลง แต่ในโรมกลับใช้ผมปลอมจากผมคนจริง ซึ่งเลือกเอาผมเส้นเล็กนุ่มสีอ่อนของคนเยอรมันมาใช้   โดยถลกมาจากศีรษะนักโทษนั่นเองแล้วมาทำให้เป็นสีบลอนด์ ต่อมาผมสีบลอนด์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของโสเภณีโรมันกษัตริย์และราชินีบางองค์ก็ทรงสวมผมปลอมสีบลอนด์ในยามค่ำคืนที่ทรงออกหาความสำราญตามท้องถนน   ผมปลอมสีบลอนด์จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ทำนองเดียวกับที่ยุคหนึ่งรองเท้าบู๊ตสีขาวสูงถึงเข่าและกระโปรงสั้นเป็นสัญลักษณ์ของหญิงโสเภณี ทางคริสต์จักรพยายามเต็มที่ที่จะให้คนเลิกสวมผมปลอม โดยไม่อนุญาตให้ผู้ที่สวมผมปลอมรับพรจากพระเจ้า เนื่องจาก “ ผมปลอมเป็นสิ่งหลอกลวงที่ปีศาจเสกขึ้น ” และถือว่าผู้ที่สวมผมปลอมเป็นพวกนอกรีต การต่อต้านจากคริสต์จักรรุนแรงยิ่งขึ้นในปี ค ศ ๖๙๒ สภาแห่งคอนสแตนติโนเปิลถึงกับขับไล่ผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่สวมผมปลอมออกจากศาสนา ในศตวรรษที่ ๑๒ พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๔   ซึ่งเคยขัดแย้งกับคริสต์จักรเรื่องสิทธิของกษัตริย์ในการแต่งตั้งบิชอปจนทรงถูกขับออกจากศาสนามาแล้วกลับทรงเห็นด้วยกับข้อห้ามเรื่องผมปลอมของคริสต์จักรทรงไว้พระเกศาสั้นตรง ไม่ประดับตกแต่งใด ๆ และยังถึงกับทรงห้ามไว้ผมยาวหรือสวมผมปลอมในราชสานักด้วย ปี ค ศ ๑๕๑๗   มีการปฏิรูปครั้งใหญ่   ทางคริสต์จักรประสบปัญหาเรื่องจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ลดลงมาก   จึงได้ผ่อนปรนเรื่องทรงผมและการสวมผมปลอม และแล้วในปี ค ศ ๑๕๘๐   ผมปลอมก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งบุคคลที่มีบทบาทต่อการหวนคืนของวงการผมปลอม คือ พระนางเจ้าอลิซาเบธที่   ๑   ทรงสวมผมปลอมสีแดงส้มหลากหลายแบบ   ด้วยวัตถุประสงค์หลักในการปกปิดพระเกศาที่บางของพระองค์   หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการกลับมานิยมผมปลอมอีกประการ คือ ในประเทศฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ ๑๗   ราชสำนักแวร์ซายถึงกับจ้างช่างทำผมปลอมมาทำงานเต็มเวลาถึง ๔๐ คน ผมปลอมในยุคคืนถิ่นนี้พัฒนาความประณีตแนบเนียนจนบางครั้งจับสังเกตไม่ได้ เช่น พระนางมารีแห่งสก็อตสวมผมปลอมสีน้ำตาลแดงมาตลอดโดยที่ประชาชนทั่วไปไม่สังเกตเห็น   และคุ้นเคยกับผมสีนำตาลของพระองค์ดี จนเมื่อพระนางถูกตัดศีรษะประหารชีวิตจึงได้รู้กัน ทางคริสต์จักรได้ต่อต้านผมปลอมอีกครั้ง แต่คราวนี้สภาสงฆ์ไม่มีอำนาจเพียงพอจึงมีบาทหลวงหลายรูปที่สวมผมปลอมยาวเป็นลอนตามความนิยม จนในที่สุดคริสต์จักรได้ประนีประนอมอนุญาตให้สวมผมปลอมได้เฉพาะฆราวาสและบาทหลวงที่มีศีรษะล้าน หรือแก่ชราแต่ผู้หญิงไม่ได้รับการยกเว้น ศตวรรษที่ ๑๘ ในลอนดอน   ผมปลอมที่ทนายใส่กันมีราคาแพงมาก   จึงมักถูกขโมยระหว่างทางในถนนย่านชุมชน   ขโมยพวกนี้จะให้เด็กชายเล็ก ๆ   นั่งตะกร้าเทินไว้บนบ่า   เด็กจะทำหน้าที่ดึงผมปลอมจากศีรษะบรรดาทนาย ซึ่งมักจะไม่กล้าทำอะไร   เพราะมัวแต่อายฝูงคนจะหัวเราะเมื่อเห็นศีรษะโล้นนั้น อย่างไรก็ดี   ผมปลอมยังเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทนายในศาลที่มีลูกขุนร่วมพิจารณามาจนถึงศตวรรษที่   ๒๐ ผมปลอมคงยังไม่ลาเวทีไปง่าย   ๆ   ตราบใดที่ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติของเส้นผมที่มีปัญหา   และตราบที่มนุษย์ยังรักสวยรักงามกันอยู่   “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

ผมปลอม, ผมปลอม หมายถึง, ผมปลอม คือ, ผมปลอม ความหมาย, ผมปลอม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu