กำแพงเบอร์ลินอยู่ตรงไหน?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ได้ข่าวว่ากำแพงเบอร์ลินพังเสียแล้ว nbsp แต่อ่านข่าวแล้วไม่รู้จริง ๆ ว่ากำแพงเบอร์ลินอยู่ตรงไหน nbsp ลักษณะเป็นอย่างไร คนเยอรมันตะวันออกหนีข้ามจากไหนไปไหน |ขี้สงสัย| นนทบุรี
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ได้ข่าวว่ากำแพงเบอร์ลินพังเสียแล้ว nbsp แต่อ่านข่าวแล้วไม่รู้จริง ๆ ว่ากำแพงเบอร์ลินอยู่ตรงไหน nbsp ลักษณะเป็นอย่างไร คนเยอรมันตะวันออกหนีข้ามจากไหนไปไหน |ขี้สงสัย| นนทบุรี
ถ้าไม่นับกำแพงเมืองจีนแล้ว แนวป้องกันทางการเมืองป้องกันการรุกรานของข้าศึกที่ยาว ๑ ๓๙๓ กิโลเมตร กั้นแบ่งระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออก นับเป็นแนวป้องกันที่ยาวที่สุด มันประกอบด้วยแนวลวดหนาม ตาข่ายเหล็ก กับระเบิดและระเบิดต่อสู้รถถัง บังเกอร์ หอคอยและป้อมปืนกล รวมทั้งมีทหารของแต่ละฝ่ายอีกนับหมื่นคนตรึงตลอดแนวหลังเขตปลอดทหาร ในส่วนนี้คนเยอรมันแดงที่ต้องการเสรีภาพ หมดสิทธิหนีเล็ดลอดข้ามสู่ฝั่งเยอรมนีตะวันตกได้ พวกเขาจึงเลือกที่จะหนีข้าม |กำแพงเบอร์ลิน| ปี พ ศ ๒๔๘๘ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุด ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งเขตการปกครองดูแลเป็น ๔ เขต แต่ละเขตมีประเทศผู้ชนะสงครามดูแล คือ สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส นอกจากนี้เบอร์ลิน-นครหลวงเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศยังถูกแบ่งเขตการดูแลโดยประเทศมหาอำนาจทั้งสี่เช่นกัน หลังจากนั้นอีก ๔ ปี ด้วยความไม่ไว้วางใจกันระหว่างประเทศค่ายโลกเสรีกับสหภาพโซเวียต ซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ประเทศเยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองโดยสิ้นเชิง ส่วนที่สหภาพโซเวียตดูแลกลายเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศสังคมนิยม ส่วนที่เหลือในความดูแลของอีก ๓ ประเทศก็รวมกันกลายเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันตกเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตย มีเมืองหลวงคือกรุงบอนน์ ส่วนนครเบอร์ลินก็ถูกแบ่งเป็นตะวันออก-ตะวันตกเช่นเดียวกับประเทศ แล้วนครเบอร์ลินตะวันออกก็ถูกยกเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีตะวันออกด้วย ที่น่าแปลกก็คือ นครเบอร์ลินทั้งตะวันตกและตะวันออก ซึ่งมีพื้นที่ ๘๘๖ ตารางกิโลเมตร ตกอยู่ในแวดล้อมของคอมมิวนิสต์ คือประเทศเยอรมนีตะวันออกทั้งหมด และส่วนของเบอร์ลินตะวันตกนั้นอยู่ห่างจากชายแดนประเทศของตนถึง ๑๖๐ กิโลเมตร การติดต่อกันจะต้องใช้เครื่องบินเพียงสถานเดียว ตำนานของสงครามเย็นไม่ได้จบเพียงแค่นั้น ในเดือนสิงหาคม ปี ๒๕๐๔ รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกยังปิดกั้นประชาชนสองฝ่ายในนครเบอร์ลินด้วย |กำแพงเบอร์ลิน| ทำด้วยคอนกรีต สูง ๔ ๕ เมตร ยาว ๔๖ กิโลเมตร ตัดผ่านย่านใจกลางเมืองพอดี และยังมีป้อมค่ายป้องกันคนฝ่ายตนหลบหนีไปสู่โลกเสรีอีก ๒๕๘ แห่ง มีทหารรักษาการณ์อยู่กว่า ๑๐ ๐๐๐ คน แต่กระนั้นก็ยังมีชาวเยอรมันแดงเป็นจำนวนนับล้านเสี่ยงตายแอบปืนข้ามอยู่เนื่อง ๆ คนที่ปีนข้ามมาได้ รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกจะถือว่าเป็นประชากรของตนโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ แต่ด้วยความกดดันรอบด้าน รัฐบาลเยอรมันแดงจึงตัดสินใจรื้อกำแพงเบอร์ลินที่ยั่งยืนมาถึง ๒๘ ปีทิ้งในบางจุด และเปิดโอกาสให้คนทั้งสองฝั่งได้มีโอกาสพบกัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ ๙-๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ซึ่งประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ หลังจากนั้นรัฐบาล คอมมิวนิสต์ยังให้เปิดจุดผ่านแดนระหว่างชายแดนของประเทศทั้งสองอีกหลายจุดด้วย ชาวเยอรมันแดงกว่า ๓ ล้านคนข้ามไปเที่ยวช้อปปิ้งฝั่งโลกเสรี และรัฐบาลแห่งกรุงบอนน์ยังทำเก๋ด้วยการมอบ |เงินก้นถุง|แก่ชาวเยอรมันแดงทุกคนที่ข้ามแดนมาด้วยคนละ ๑๐๐ มาร์ก ในที่สุด ปี ๒๕๓๓ กำแพงเบอร์ลินก็ถูกทำลายลงสิ้นเชิง พร้อมทั้งรวมเยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกเป็นหนึ่งเดียว “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!