หากก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยแล้ว จะมีความมั่นใจด้านความปลอดภัยได้เพียงใด??
หากก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยแล้ว จะมีความมั่นใจด้านความปลอดภัยได้เพียงใด
หากก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยแล้ว จะมีความมั่นใจด้านความปลอดภัยได้เพียงใด
การที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยนั้น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้จัดทำมาตรฐานกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้น เพื่อให้ ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปฏิบัติตาม ตั้งแต่การพิจารณา เลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า การออกแบบโรงไฟฟ้า การผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่าง ๆ การดำเนินการก่อสร้าง หรือการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า แม้กระทั่ง เมื่อจะมีการรื้อถอน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ในการตรวจสอบติดตาม ให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งในกรณีนี้ หากมีประเทศใดหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยดังกล่าว อาจส่งผลให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศ ทั้งในด้านการจัดส่งชิ้นส่วน อุปกรณ์หรือความร่วมมือในการก่อสร้าง เนื่องจากจะไม่มีองค์กรใดที่จะให้หลักประกันด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนั้นได้ ทำให้ประเทศผู้จัดส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือผู้ก่อสร้างเกรงว่าอาจจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยหากเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น เมื่อทุกฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันแล้วว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดเตรียมบุคลากรและพัฒนาบุคลากรเหล่านี้ให้มีความรู้และประสบการณ์ ที่จะดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้เป็นประเด็นหลักในการดำเนินงานต่าง ๆ ในส่วนของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันตินั้น ได้มีการจัดเตรียมและพัฒนาบุคลากร เพื่อจะทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ ความปลอดภัย ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย ประสบการณ์การใช้งานเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ซึ่งหากมีการตัดสินใจที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พร้อมที่จะจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้น โดยการติดต่อประสานงานความช่วยเหลือด้านวิชาการจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ที่มา ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี NSTKC
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!