ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์?, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์? หมายถึง, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์? คือ, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์? ความหมาย, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์นั้น เขาเอามาตรฐานอย่างไรถึงรู้ว่า อย่างไหนถึงจะ 5 อย่างไหนถึงจะ 6

คำตอบ

                    ขนาด Magnitude ของแผ่นดินไหววัดเป็นริกเตอร์ Richter Scale เป็นมาตรวัดขนาดพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการแตกของหิน ทำให้เกิดแผ่นดินไหว มาตรานี้ไม่มีขนาดสูงสุด แต่ที่ปรากฏจนถึงขณะนี้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกมา เช่น ที่ประเทศชิลี หรือ อลาสกา เมื่อ พ ศ 2507 วัดได้ 8 4 ริกเตอร์ ที่เกาะอันดามัน เมื่อ พ ศ 2484 วัดได้ 8 7 ริกเตอร์ เป็นต้น ความรุนแรง Intensity ของแผ่นดินไหวมีหลายมาตราวัด แต่ที่นิยม ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดคือ มาตรามอดิไฟด์ เมอร์คัลลี Modified Mercalli Intensity Scale เป็นมาตรวัดความรุนแรง หรือผลกระทบของ การเกิดแผ่นดินไหว มีทั้งหมด 12 ระดับ ผมจะอุปมาให้ฟังว่า ขนาดกับความรุนแรงต่างกันอย่างไร ถ้ามีกลองอยู่ 1 ใบ ถ้าใช้นิ้วเคาะกลอง คนอยู่ใกล้เท่านั้นจึงจะได้ยิน ถ้าใช้กำปั้นทุบ คนอยู่ห่างออกไปหน่อยก็ยังได้ยิน แต่ถ้าใช้ไม้ตี ก็จะได้ยินกันทั่ววัด ขนาดของความแรงหรือพลังงานที่ใช้ในการตีกลอง วัดโดยมาตราริกเตอร์ ผลของการตีกลองคือ เสียงที่จะได้ยินดังหรือค่อย ความรุนแรง วัดโดยมาตรามอดิไฟด์ เมอร์คัลลี ถึงแม้จะแค่เคาะกลอง ถ้าอยู่ใกล้ก็ยังได้ยิน แต่ถ้าอยู่ไกล ถึงแม้จะใช้เสากระทุ้งกลอง อาจจะไม่ได้ยินเสียงกลองเลยก็ได้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อาจจะไม่มีความรุนแรงเลยก็ได้ ถ้าเกิดลึก แผ่นดินไหว ที่เกิดในระดับลึก 0-70 กิโลเมตรจากผิวดิน เรียกว่า แผ่นดินไหวตื้น Shallow Earthquake ถ้าเกิดในระดับลึก 71-100 กิโลเมตร เรียกว่า แผ่นดินไหวระดับกลาง Intermediate Earthquake ถ้าเกิดในระดับลึกมากกว่า 300 กิโลเมตร เรียกว่า แผ่นดินไหวลึก Deep Earthquake ดังนั้น ขนาดของแผ่นดินไหวที่วัดเป็นมาตราริกเตอร์จึงไม่ใช่วัดความรุนแรงหรือความเสียหาย เพราะความเสียหายขึ้นอยู่กับขนาดและความใกล้ไกลกับจุดที่เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวขนาด 4 7 ริกเตอร์ ที่เกิดในโมร็อกโก ทำให้ตึกรามบ้านช่องพังทลาย และผู้คนเสียชีวิตหลายสิบคน เพราะเป็นแผ่นดินไหวระดับตื้นและเกิดใกล้ ในขณะที่แผ่นดินไหวขนาด 8 7 ริกเตอร์ ที่เกาะอันดามัน มีคนตาย 2-3 คน และบ้านเรือนพังเสียหายบ้างเท่านั้น เพราะเกิดในระดับลึก ระดับความรุนแรงตามมาตรา มอดิไฟด์ เมอร์คัลลี ไม่ใช่ระดับขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งต้องใช้ช่วงกว้างของคลื่น สั่นสะเทือนที่อ่านได้จากเครื่องวัด ความสั่นสะเทือนจากแผ่นดินมา ใช้สูตรคำนวณหาค่าริกเตอร์ ที่มา กรมทรัพยากรธรณี

หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์ หมายถึง, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์ คือ, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์ ความหมาย, หน่วยวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เรียกริกเตอร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu