ทำไมต้องใช้กัมมันตภาพรังสีในการตรวจสอบอายุของซากดึกดำบรรพ์?
ทำไมต้องใช้กัมมันตภาพรังสีในการตรวจสอบอายุของซากดึกดำบรรพ์
ทำไมต้องใช้กัมมันตภาพรังสีในการตรวจสอบอายุของซากดึกดำบรรพ์
ฟอสซิลเป็นเพียงซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิต ไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งบอกอายุได้โดยตรง การหาอายุโดยตรงซึ่งจะได้ค่าเป็นตัวเลข absolute age dating จะต้องวิเคราะห์จากแร่กัมมันตภาพรังสีโดยการวิเคราะห์สัดส่วนการสลายตัวของแร่ซึ่งรู้ค่าอัตราการสลายตัวอยู่แล้ว ครึ่งชีวิต ผลจากการวิเคราะห์จะทำให้เราทราบอายุของชั้นหิน โดยทั่วไป ฟอสซิลที่อยู่ในชั้นหินนั้นก็จะมีอายุเท่ากับชั้นหินนั้น ต่อมาไปพบฟอสซิลชนิดดังกล่าวในชั้นหินในบริเวณอื่นๆก็อาจอนุมานว่า ชั้นหินทั้งสองบริเวณมีอายุเท่ากัน relative age dating อย่างไรก็ตาม ฟอสซิลในชั้นหินอาจมีอายุมากกว่าชั้นหินที่มันอยู่ก็ได้ เช่น เปลือกหอยในชั้นหินปูนอายุ 200 ล้านปี ต่อมาหินปูนผุพังแล้วฟอสซิลได้หลุดออกแล้วไปตกสะสมในตะกอนโคลนเมื่อ 20 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันจึงสามารถพบเปลือกหอยอายุ 200 ล้านปีอยู่ในหินโคลนอายุ 20 ล้านปีได้ reworked fossil ที่มา กรมทรัพยากรธรณี
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!