เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์คืออะไร?
เนื้อหาสำคัญของ พ ร บ คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์คืออะไร
เนื้อหาสำคัญของ พ ร บ คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์คืออะไร
หลักการ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ เหตุผล ซากดึกดำบรรพ์ถือเป็นสมบัติของแผ่นดิน มีความสำคัญด้านความเป็นมาของโลก เป็นมรดกทางธรรมชาติ เป็นรายได้ของท้องถิ่น ซากดึกดำบรรพ์ยังไม่มีกฎหมายควบคุม จึงทำให้เกิดการขุดค้นโดยไม่ถูกหลักวิชา หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าจึงถูกทำลาย เกิดการสูญเสีย สมควรมีกฎหมายคุ้มครอง จึง ตรา พ ร บ นี้ พ ร บ มีทั้งหมด 54 มาตรา 7 หมวด และ 1 บทเฉพาะกาล มาตรา 1-5 เป็นบทนิยามของคำว่า ซากดึกดำบรรพ์ แหล่งซากฯ ที่ดินของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ อธิบดี กรมทรัพยากรธรณี รมต ผู้รักษาการ หมวด 1 มาตรา 6-13 ว่าด้วยเรื่องแหล่งซากดึกดำบรรพ์ รัฐมนตรีมีอำนาจดำเนินการ รายละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนการแจ้ง โอน ชำรุด การหาประโยชน์ หมวด 2 มาตรา 14-24 ว่าด้วยเรื่องซากดึกดำบรรพ์ อธิบดี มีอำนาจดำเนินการ รายละเอียดคล้ายกับหมวด 1 แต่มีเพิ่ม คือ การส่งหรือนำซากดึกดำบรรพ์ออกจากราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุญาตจาก อทธ แต่ไม่บังคับแก่การนำผ่านราชอาณาจักร หมวด 3 มาตรา 25-26 เรื่องการสำรวจ ศึกษาวิจัย มีรายละเอียดเกี่ยวกับการประกาศเขต ยกเลิกเขต กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการศึกษา หมวด 4 มาตรา 27-29 เรื่อง ศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ สถานที่จัดแสดงซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กำหนดให้ศูนย์ฯ สถานที่ฯ และพิพิธภัณฑ์ของ ทธ เป็นที่เก็บรักษาซาก อทธ อนุมัติการเก็บรักษาในที่อื่นๆ รมต กำหนดค่าเข้าชมและการปฏิบัติในการเข้าชม หมวด 5 มาตรา 30-31 กองทุนบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ มีการตั้งกองทุน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน รมต กำหนดหลักเกณฑ์รักษาเงิน หมวด 6 มาตรา 32-39 การควบคุม รายละเอียดว่าด้วยเรื่องอำนาจหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ อำนาจ อทธ และ รมต หมวด 7 มาตรา 40-51 ว่าด้วยบทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล มาตรา 52-54 เกี่ยวกับให้ผู้มีซากดึกดำบรรพ์ในครอบครอง หรือผู้ทำประโยชน์จากซากดึกดำบรรพ์แจ้ง อทธ ใน 60 วัน - ให้ศูนย์ สถานที่จัดแสดงและพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่เป็นศูนย์ สถานที่ พิพิธภัณฑ์ตาม พ ร บ - ประกาศรายชื่อบุคคลรูปพรรณของซากในความดูแล - ให้อำนาจอธิบดีจัดซื้อซากได้ ที่มา กรมทรัพยากรธรณี
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!