ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ภาพสเก็ตช์คนร้าย?, ภาพสเก็ตช์คนร้าย? หมายถึง, ภาพสเก็ตช์คนร้าย? คือ, ภาพสเก็ตช์คนร้าย? ความหมาย, ภาพสเก็ตช์คนร้าย? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
คำถาม

ภาพสเก็ตช์คนร้าย?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากให้ |สารคดี| ลงเรื่องการติดตามคนร้ายโดยใช้ภาพสเก็ตช์ nbsp ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ปัจจุบันวงการตำรวจบ้านเรามีความก้าวหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้แค่ไหนครับ ไม่ลงชื่อ กรุงเทพฯ

คำตอบ

        เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ   ในกรณีที่เจ้าทุกข์ ผู้เสียหายหรือพยาน   สามารถจำหน้าคนร้ายได้   ก็ให้เจ้าทุกข์ดูภาพถ่ายคนร้ายที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรได้รวบรวมและจัดไว้เป็นสาระบบ   โดยแยกตามประเภทความผิด อายุ เพศ คือนำประเภทความผิดเดียวกัน อายุใกล้เคียงกัน   เพศเดียวกัน จัดอยู่ในสมุดภาพเล่มเดียวกัน   ถ้าพบภาพผู้ต้องสงสัย กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะส่งภาพพร้อมประวัติให้พนักงานสอบสวนใช้เป็นแนวทางการสอบสวนต่อไป แต่ถ้าไม่พบภาพผู้ต้องสงสัย อาจเป็นเพราะคนร้ายไม่เคยทำความผิดมาก่อน หรือเคยทำความผิดแต่ไม่เคยถูกจับกุมก็จะไม่มีภาพพร้อมประวัติที่กองทะเบียนอาชญากร         ถึงขั้นนี้จึงต้องใช้ภาพสเก็ตช์เข้าช่วยโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจของกองทะเบียนประวัติอาชญากร   แต่เดิมเจ้าหน้าที่จะคอย สเก็ตช์ภาพตามคำบอกเล่าของผู้เสียหาย   ข้อจำกัดของวิธีนี้คือ ผู้เสียหายหรือพยานจะต้องจำลักษณะใบหน้าคนร้ายได้อย่างละเอียด นอกจากนั้นยังต้องถ่ายทอดความจำออกเป็นคำพูดเพื่อให้ผู้เขียนเข้าใจได้ถูกต้องวิธีการเช่นนี้ทำให้การทำงานล่าช้าออกไปมาก         กองทะเบียนประวัติอาชญากรจึงพยายามคิดแก้ปัญหานี้ เมื่อปี ๒๕๑๙   มีการทดลองนำภาพถ่ายคนร้ายที่มีอยู่จำนวนมากมาจัดแยกชิ้นส่วนใบหน้าออกเป็น ๕ ส่วน   คือ ทรงผมรวมกับหู   คาง   นัยน์ตา จมูก และปาก   นำชิ้นส่วนทั้งหมดมาแยกกลุ่ม แล้วนำมาให้ผู้เสียหายหรือพยานเลือกวางต่อกันทั้ง ๕ ส่วน จึงเกิดภาพใบหน้าคนร้าย   แต่ถ้าส่วนไหนไม่เหมือนก็นำชิ้นใหม่เปลี่ยนจนได้ภาพเหมือนที่สุด   แต่วิธีการนี้ยังคงใช้เวลานานเช่นกัน         ต่อมาในปี ๒๕๒๕ กองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ประดิษฐ์         เครื่องมือประกอบภาพใบหน้าคนร้ายขึ้น   โดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการนำภาพชิ้นส่วนของใบหน้ามาต่อกัน วิธีนี้ใช้เครื่องฉายสไลด์   ๕   เครื่องเข้าช่วย โดยนำแต่ละส่วนมาถ่ายเป็นภาพสไลด์ขาว-ดำ แล้วใส่ลงเครื่องฉายสไลด์ทั้ง   ๕   เครื่อง   แล้วฉายไปที่จอพร้อม   ๆ   กันจงเกิดภาพคนร้าย   ถ้าภาพไม่เหมือนก็สามารถฉายเปลี่ยนส่วนต่าง   ๆ   ได้ วิธีนี้สะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีเดิม แต่มีข้อเสียคือ ต้องใช้อุปกรณ์มากและมีขนาดใหญ่ ไม่สะดวกในการนำติดตัวไปนอกสถานที่         แต่อย่างไรก็ตาม การสเก็ตช์ภาพคนร้ายได้พัฒนาขึ้นไปอีกโดย พล ต ต ชวลิต มนตริวัติ   ผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร ได้ประดิษฐ์ชุดประกอบภาพใบหน้าบุคคลขนาดเล็กเหมาะที่จะนำไปประกอบภาพใบหน้าคนร้ายนอกสถานที่ได้ ในชุดนี้จะมีชิ้นส่วนใบหน้าทั้ง   ๕   เป็น   ภาพแผ่นใสขนาด ๓ ๒ ” x ๔ ๕ quot แต่ละส่วนมีประมาณ ๒๐๐ แบบ   ไม่ซ้ำกัน   ภาพที่คัดเลือกได้นั้นจะนำมาอัดลงบนแผ่นใสที่ละส่วน   4   หลังจากนั้นจึงคัดแยกประเภทโดยเอาลักษณะที่คล้ายกันจัดไว้กลุ่มเดียวกัน   เพื่อความสะดวกในการประกอบภาพ แม้วิธีนี้จะใช้เวลาน้อยและสะดวกก็ตาม แต่ก็ยังคงมีขอบเขตจำกัดอยู่มาก         จนกระทั่ง พ ต อ ชาตรี   สุนทรศร และทีมงานกองทะเบียนประวัติอาชญากร   ร่วมมือกันสร้าง |ปิกัสโซ่|   PI|CASSO-Police Identikit   Computer   Assisted Suspect Sketching Outfit   เป็นระบบคอมพิวเตอร์ชอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เก็ตช์ภาพคนร้าย   โครงการนี้เริ่มขึ้นราว เดือนตุลาคม   ๒๕๓๓   ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ประมินทร์   กลพิจิตร   เพื่อพัฒนาและออกแบบระบบ   รวมทั้งการเซ็ตโปรแกรมขึ้นใหม่เพื่อปรับให้เข้ากับงานของกองทะเบียนประวัติอาชญากร   และเพื่อให้ฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการสื่อความเข้าใจระหว่างผู้เสียหาย หรือพยานกับเจ้าหน้าที่วาดภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด         ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์   |ปิกัสโซ่|     เริ่มต้นจากการสร้างกรอบใบหน้า   คือ   โครงหน้า   ทรงผมและใบหู   หลังจากนั้นจึงเพิ่มส่วนประกอบอื่น ๆ ทีละส่วนตั้งแต่ตา   คิ้ว   จมูก และปาก   การเซ็ตโปรแกรมส่วนสำคัญในช่วงสุดท้ายก็คือ เจ้าหน้าที่วาดภาพจะต้องยกชิ้นส่วนของใบหน้าในมาตราส่วนเดียวกัน เพื่อให้สามารถประกอบเป็นใบหน้าที่สมบูรณ์ด้วยส่วนประกอบทั้ง ๗ ส่วนที่ละเอียดกว่าการใช้สไลต์หรือแผ่นใสในระบบเดิม เจ้าหน้าที่สามารถเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ทันที และสามารถเลือกปรับเปลี่ยนแต่และส่วนได้อย่างสะดวก การปรับเปลี่ยนเพื่อเปรียบเทียบทำได้   โดยขยับตำแหน่งให้ใกล้เคียงความจริง เช่น ระยะห่างของแต่ละชิ้นส่วน ความแตกต่างของขนาดชิ้นส่วน   รวมถึงการเพิ่มส่วนที่จำเป็น เช่น โหนกแก้ม รอยย่น   หนวดเครา ภาพทีสมบูรณ์และได้รับการยืนยันจากผู้เสียหายหรือพยานว่าเหมือนคนร้ายมากที่สุดจะถูกพิมพ์และส่งมอบให้พนักงานสอบสวนคดีเพื่อการติดตามหาผู้กระทำผิดมาลงโทษต่อไป         การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดนี้มีประโยชน์ต่อพนักงานสอบสวนอย่างมาก เนื่องจากเป็นระบบการทำงานที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งนับว่าเป็นพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งของกรมตำรวจไทย “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

ภาพสเก็ตช์คนร้าย, ภาพสเก็ตช์คนร้าย หมายถึง, ภาพสเก็ตช์คนร้าย คือ, ภาพสเก็ตช์คนร้าย ความหมาย, ภาพสเก็ตช์คนร้าย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu