ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร?, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร? หมายถึง, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร? คือ, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร? ความหมาย, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร?

nbsp nbsp nbsp nbsp หลายครั้งที่เราต้องซื้อยาจากร้านหมอตี๋เพราะปวดหัวตัวร้อนเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ถึงกับต้องไปหาหมอที่คลินิก แต่ก็กังวลอยู่ว่าเขาจะเอายาหมดอายุมาขายเราหรือเปล่า nbsp ดูที่แผงยาบางทีก็มีบอก บางทีมีอักษรอะไรไม่รู้ อ่านไม่เข้าใจขอความรู้เรื่องนี้บ้าง ไม่ลงชื่อ กรุงเทพฯ

คำตอบ

        ปกติบนฉลากยาจะมีรายละเอียดต่าง ๆ แสดงไว้ เช่น   ชื่อการค้าของยา ชื่อตัวยาสำคัญ และปริมาณยา   ชื่อบริษัทผู้ผลิตยาครั้งที่ผลิต   วันที่ผลิตยา   MFG DATE หมายเลขทะเบียนยายาบางชนิดที่ผู้ผลิตมีความรับผิดชอบ เขาก็จะใส่วันหมดอายุของยา EXP DATE มาด้วย         ข้อความที่บอกวันหมดอายุอาจเป็น   EXP DATE หรือ   EXPIRY หรือ USE BEFORE   และมีตัวเลขอีก ๓ กลุ่ม ซึ่งหมายถึง วันที่ เดือน และปี ค ศ เช่น   EXP DATE 12 5 95   หมายความว่า   ยานี้จะหมดอายุในวันที่ ๑๒ เดือน พฤษภาคม   ค ศ   ๑๙๙๕ หรือ พ ศ ๒๕๓๘ เอา ๕๔๓ บวกปี ค ศ จะได้ปี พ ศ         ถ้าไม่มีวันบอกหมดอายุอาจดูได้จากปีที่ผลิต มักจะใช้คำย่อว่า MFG DATE ซึ่งย่อมาจาก Manufacturing date แปลว่า วันที่ผลิต   เช่น ยาแก้ปวดซองหนึ่งพิมพ์ที่ฉลากยาว่า MFG DATE   9 89 หมายถึงว่า ยานี้ผลิตเมื่อเดือน ๙ คือเดือนกันยายน ปี ค ศ ๑๙๘๙ หรือ ปี พ ศ ๒๕๓๒ โดยทั่วไป เราถือว่ายาที่ผลิตมาเกิน ๕   ปี เป็นยาที่ไม่น่าไว้วางใจ แม้ว่ายานั้นอาจจะยังคงคุณภาพอยู่ก็ตาม เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรเสี่ยงใช้ยาที่เก่าเกิน ๕ ปี         นอกจากนั้นเรายังมีวิธีสังเกตยาที่เสื่อมคุณภาพด้วยวิธีดังนี้                   ๑ ยาเม็ด ที่เสื่อมสภาพจะแตกร่วน กะเทาะ สีซีด ถ้าเป็นเม็ดเคลือบจะเยิ้มเหนียว                   ๒ ยาแคปซูล   ที่หมดอายุจะบวม โป่ง พอง หรือจับกันเป็นก้อน ยาในแคปซูลเปลี่ยนสี   เช่น   ยาเตตราซัยคลินที่เสียแล้วผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล เป็นอันตรายต่อไตมาก                   ๓ ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาแก้ท้องเสีย   ถ้าตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็งเขย่าแรง ๆ   ก็ไม่กระจายตัว   แสดงว่ายานั้นเสีย                   ๔ ยาน้ำเชื่อม ถ้าหากขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูดหรือเปรี้ยว แสดงว่ายานั้นหมดสภาพแล้ว                   ๕ ยาน้ำอีมัลชั่น เช่น น้ำมันตับปลา หรือยาระบายพารัฟฟิน   เมื่อเขย่าแล้วต้องรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน หากแยกชั้นแม้เขย่าแล้วก็ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน แสดงว่ายาเสีย ห้ามใช้เด็ดขาด         ความรู้เรื่องการใช้ยาเป็นสิ่งที่ทุกคน   |ต้องรู้|   เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิต แต่ก็น่าแปลกที่คนไทยไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้เลย   แถมบ้านเรายังปล่อยให้มีการซื้อ-ขายยากันอย่างเสรีโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์   อันตรายจากการใช้ยาจึงมีสูง         ข้อแนะนำในการดูยาหมดอายุจึงเป็นวิธีเบื้องต้นที่เราจะคุ้มครองตัวเองได้ ในขณะที่ทางการอาจคุ้มครองเราไม่ทั่วถึง “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร หมายถึง, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร คือ, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร ความหมาย, ยาหมดอายุรู้ได้อย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu