ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากทราบว่า nbsp ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเป็นการจ่ายซ้ำซ้อนกับการจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือไม่
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากทราบว่า nbsp ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเป็นการจ่ายซ้ำซ้อนกับการจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือไม่
ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเป็นการจ่ายค่าทดแทนที่แตกต่างกับการจ่ายค่าชดเชย เนื่องจากค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ ศ 2541 มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นมาตรการที่ใช้คุ้มครองลูกจ้าง เมื่อถูกเลิกจ้างถือเป็นการทดแทนความเสียหายของลูกจ้างอันเนื่องจากการถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด รวมทั้งเป็นค่าตอบแทนที่ลูกจ้างได้ทำงานให้นายจ้างมาด้วยดี และได้นำหลักการจ่ายบำเหน็จบำนาญที่พิจารณาจากอายุงานมาผสมผสาน ซึ่งลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยในอัตราแตกต่างกันตามช่วงระยะเวลา การทำงานให้แก่นายจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นการกำหนดให้มีค่าชดเชยจะทำให้นายจ้างมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการบอกเลิกสัญญาจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการป้องกันการเลิกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน สำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางสังคมแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน โดยจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ที่ต้องออกจากงานในช่วงระยะเวลาจำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอันเนื่องจากการขาดรายได้ระหว่างหางานทำใหม่ ทั้งนี้มีเงื่อนไขต้องแสดงตนว่าเป็นผู้มีความสามารถและพร้อมที่จะทำงาน
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!