ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง?, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง? หมายถึง, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง? คือ, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง? ความหมาย, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ldquo ซองคำถาม rdquo กรุณาช่วยค้นให้กระจ่างด้วยในเรื่องที่เคยได้ยินผ่านหูว่า วรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วงยาว nbsp ๘ nbsp เล่มสมุดไทย nbsp สมมุติ nbsp หรือบทสวดบทหนึ่งยาวเท่ากับ nbsp ๓๓ nbsp หน้าสมุดไทย nbsp ldquo สมุดไทย rdquo nbsp เป็นอย่างไร กาญจนา จ ลพบุรี

คำตอบ

        ความนิยมในการใช้สมุดไทยเขียนหนังสือสิ้นสุดลงเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ พร้อมกับการเข้ามาของ “ สมุดกระดาษฝรั่ง ” ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่หนังสือสมุดไทยมีความคงทนถาวร อายุการใช้งานยืนยาวกว่า อีกทั้งยังปลอดภัยจากหนอนแมลงกัดกินทำลายได้มากกว่าด้วย   แต่คงเพราะสมุดฝรั่งใช้สะดวกกว่า สมุดฝรั่งจึงครอบครองส่วนแบ่งการตลาดไปแบบเหมาคนเดียว         คนไทยโบราณรู้จักนำกระดาษมาใช้ประโยชน์เพื่อการเขียนหนังสือหรือบันทึกเรื่องราวเมื่อใดนั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในปัจจุบันมีหลักฐานที่เกี่ยวกับหนังสือโบราณประเภทกระดาษที่เก่าที่สุดไม่เกินสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจมีที่เก่าแก่กว่านั้น แต่กระดาษเสื่อมสภาพ ฉีกเปื่อย หรือถูกทำลายไปได้ง่ายกว่าพวกหิน อิฐ ปูน เราจึงเห็นแต่หลักฐานที่เป็นศิลาจารึกมากมาย         หนังสือโบราณประเภทกระดาษมีทั้งชนิดที่เป็นแผ่นและเป็นเล่ม ชนิดหลังนี่เองที่เรียกว่า “ สมุดไทย ” ถือเป็นอัจฉริยภาพของบรรพชนไทยโดยแท้   ที่คิดประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมือทางด้านอักษรศาสตร์ชนิดนี้ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพชีวิตไทยและภูมิอากาศบ้านเรา         สมุดไทยผลิตจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ   เช่น   ต้นข่อยจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมุดข่อย   ส่วนในภาคเหนือนิยมใช้เปลือกของต้นสาทำสมุด จึงมีชื่อเรียกว่า สมุดกระดาษสาสมุดไทยโบราณมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว มิได้เย็บเป็นเล่มเหมือนหนังสือในปัจจุบัน เป็นหนังสือที่ใช้กระดาษยาวติดต่อกันแผ่นเดียว พับกลับไปกลับมาให้เป็นเล่มหนาหรือบาง   กว้างหรือยาวเท่าใดก็ตามแต่ความต้องการของผู้ใช้ จึงนับว่าสมุดไทยแต่ละเล่มไม่มีมาตรฐานในการกำหนดขนาดความกว้างยาวของหน้ากระดาษ จำนวนหน้า และไม่มีเส้นบรรทัดอีกด้วยแต่ก็ยังมีมาตรฐานของสีอยู่สองสี คือสีดำและสีขาว เรียกว่า   สมุดไทยดำ และสมุดไทยขาว         เชื่อไหมว่าการเขียนหนังสือบนเส้นบรรทัดที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เพิ่งมานิยมกันในสมัยที่ตัวอักษรโรมันเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณปลายรัชกาลที่   ๓   ถึงต้นรัชกาลที่   ๔   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   คนไทยสมัยโบราณนิยมเขียนหนังสือใต้เส้นบรรทัด แต่สมุดไทยไม่มีเส้นบรรทัดอยู่   ก่อนเขียนจึงต้องใช้แท่งตะกั่วปลายแหลมขีดเส้นบรรทัดกำหนดความถี่ห่างของช่องไฟระหว่างบรรทัดเอาตามความต้องการของผู้เขียน วัสดุที่ใช้เขียนตัวอักษรลงบนสมุดไทยมีหลายอย่าง   ทั้งที่แตกต่างกันและที่ใช้เหมือนกัน เช่น ดินสอขาวและน้ำหมึกขาวใช้กับสมุดดำ   น้ำหมึกดำใช้กับสมุดขาว   ส่วนน้ำหมึกสีแดง สีเหลือง และทองใช้ได้ทั้งสมุดดำและสมุดขาว เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้เขียนสมุดไทยส่วนใหญ่จะได้จากวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นบ้าน   เช่น   ดินสอขาว   ได้มาจากหินดินสอซึ่งเป็นดินชนิดหนึ่งที่มีเนื้อละเอียดแข็งเหมือนหิน พบตามภูเขา แต่ว่ากันว่าของดีนั้นพบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปากกาหรือปากไก่ ทำด้วยไม้หรือขนไก่เหลาแหลมแล้วบากให้มีร่องสำหรับให้น้ำหมึกเดิน เป็นต้น         ดังจะเห็นว่ารูปลักษณ์ของสมุดไทยมีหลากหลาย และใช้วัสดุหลายชนิดเขียนตัวหนังสือ   สิ่งเหลานี้เป็นเหตุให้การเรียกชื่อสมุดไทยแตกต่างกันไปด้วย การเรียกชื่อสมุดไทยแบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ ๑   เรียกตามประโยชน์ที่ใช้   เช่น -   สมุดถือเฝ้า   ได้แก่   หนังสือสมุดไทยที่อาลักษณ์ใช้จดข้อความ   เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ   ถวายพระเจ้าแผ่นดินในที่เฝ้า -   สมุดรองทอง ได้แก่ หนังสือสมุดไทยที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ -   สมุดไตรภูมิ   คือหนังสือสมุดไทยที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เขียนเรื่องไตรภูมิโดยเฉพาะ ๒ เรียกชื่อตามเสียงของเส้นอักษรที่ปรากฏในเล่มสมุด   เช่น -   สมุดดำเส้นขาว -   สมุดดำเส้นหรดาล คือสมุดไทยดำที่เขียนด้วยหมึกสีเหลืองซึ่งทำมาจากส่วนผสมของรงกับหรดาล -   สมุดเส้นรงค์   ได้แก่   สมุดไทยดำหรือสมุดไทยขาวที่เขียนด้วยหมึกหลายสี         ปัจจุบันไม่มีการทำหนังสือสมุดไทยอีกแล้ว   เด็กยุค “ ซองคำถาม ” และเด็กยุคต่อมาจึงไม่รู้จักสมุดไทย รู้จักแต่สมุดลายไทย ปกอ่อน ปกแข็ง ปกรูปจารุณีกันเสียมากกว่า   “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”          

หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง หมายถึง, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง คือ, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง ความหมาย, หนังสือสมุดไทยใครรู้บ้าง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu