เฮโรอีนเบอร์ ๔?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ทุกครั้งที่มีการจับเฮโรอีน nbsp นักข่าวมักจะรายงานว่า เฮโรอีนที่จับได้เป็นเฮโรอีนเบอร์ ๔ nbsp ผมสงสัยว่าเฮโรอีนมีกี่เบอร์ ประนาท กรุงเทพฯ
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ทุกครั้งที่มีการจับเฮโรอีน nbsp นักข่าวมักจะรายงานว่า เฮโรอีนที่จับได้เป็นเฮโรอีนเบอร์ ๔ nbsp ผมสงสัยว่าเฮโรอีนมีกี่เบอร์ ประนาท กรุงเทพฯ
เฮโรอีน Heroin หรือชื่อทางเคมีว่า “ ไดอาซีติล มอร์ฟีน ไฮโดรคลอไรด์ ” DiacetyI Morphine Hydrochloride จัดเป็นอนุพันธุ์ของมอร์ฟีน ผู้ที่ค้นพบคือนักเคมีชาวเยอรมัน ชื่อเดรสเซน Dressen ในปี พ ศ ๒๔๔๑ โดยกรรมวิธีทางเคมีซึ่งเกิดปฏิกิริยาขึ้นจากการนำมอร์ฟีนไปผสมกับอะเซติก แอนไฮไดรด์ Acetic Anhydride หรือผสมกับอะเซติกคลอไรด์ Acetic Chloride แต่กรรมวิธีในการผลิตยากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก ในประเทศไทยได้ปรากฏเฮโรอีนขึ้นครั้งแรกภายหลังจากที่มีการประกาศห้ามสูบฝิ่นโดยเด็ดขาดราวปลายปี พ ศ ๒๕๐๒ โดยชาวฮ่องกงเป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่ก่อน ต่อมาเฮโรอีนกลายมาเป็นที่ต้องการของพวกติดฝิ่น ที่กำลังถูกบังคับให้เลิกเสพโดยหันมาสูบเฮโรอีนแทน เฮโรอีนที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ ๒ ชนิด คือ ๑ เฮโรอีนบริสุทธิ์ Pure Heroin มีลักษณะเป็นผงสีขาวเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลา หรือลักษณะคล้ายผงชักฟอกรสขม ไม่มีกลิ่น เรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ ๔ หรือผงขาว มักจะบรรจุในซองกระดาษหรือพลาสติก หรือขวดพลาสติกขนาดเล็กนิยมเสพโดยวิธีละลายน้ำฉีด ผสมบุหรี่สูบ ผสมอาหาร หรือเป่าเข้าจมูก ๒ เฮโรอีนผสม Mixed Heroin เป็นเฮโรอีนที่มีสารอื่นเจือปนอยู่ เราเรียกเฮโรอีนชนิดนี้ว่า เฮโรอีนเบอร์ ๓ หรือ ไอระเหย เหตุที่มีการผสมสารอื่นเนื่องจากผู้ผลิตหวังกำไรมากและต้องการให้ถูกใจผู้เสพตามสภาพภูมิประเทศ จึงได้มีการนำสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงมากยิ่งขึ้นนำมาผสมเข้าด้วย เช่น ยาแอสไพริน เอ พี ซี ยานอนหลับ ฯลฯ ตลอดจนการผสมสีซึ่งมีส่วนประกอบของสารหนูให้มีสีต่าง ๆ เช่น สีม่วงอ่อนสีชมพูเข้ม สีดินลูกรัง หรือสีชมพูอ่อนเกือบขาว มีลักษณะเป็นเกล็ดบรรจุอยู่ในแคปซูล หรือถุงพลาสติก เท่าที่ปรากฏมีหลายชนิดทำเป็นน้ำ เป็นผง และเป็นเม็ด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีสูบ ตราเครื่องหมายของเฮโรอีนที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยทำเป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดที่ตีตราติดกับถุงพลาสติก กับชนิดที่พิมพ์ตรากระดาษใส่ไว้ในซองบรรจุเฮโรอีน ตราเครื่องหมายเท่าที่ เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมได้แล้วมีดังนี้ ๑ ตรา Lucky Strike ๒ ตรา Locky Strike ๓ ตรา ๙๙๙ ๔ ตรามังกร ๕ ตราม้าบิน ๖ ตรา ๑๑๑ ๗ ตรา ๕๕๕ ๘ ตราเจดีย์ ๙ ตราหัวไก่ ๑๐ ตราคอม้า ๑๑ ตราไพ่ป๊อก ๑๒ ตราสฟิงก์ ๑๓ ตราสิงโต ๑๔ ตรา Eluli ๑๕ ตรา 0 K ผู้ผลิตบางรายไม่ใช้ตราเลยก็มีเพราะผลิตเป็นจำนวนน้อย ตราเหล่านี้ไม่อาจสงวนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ เพราะเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!