ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคแพนิค?, โรคแพนิค? หมายถึง, โรคแพนิค? คือ, โรคแพนิค? ความหมาย, โรคแพนิค? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
คำถาม

โรคแพนิค?

โรค แพนิค panic รักษาอย่างไร

คำตอบ

                  โรคแพนิค เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมาก และกว่าจะมาพบจิตแพทย์ผู้ป่วยโรคแพนิคมักไปพบแพทย์ทางกายมาหลายที่และได้รับการตรวจหาโรคทางกายมาหลายครั้งโดยที่ยังไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไร แพทย์ทางกายส่วนใหญ่มักตอบได้เพียงว่าผู้ป่วยไม่ได้มีโรคทางกายอะไรและเข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะผู้ป่วยเครียดถึงแม้ผู้ป่วยจะยืนยันว่าไม่ได้เครียดก็ตาม ผู้ป่วยมักได้รับยาคลายกังวลประเภท benzodiazepine เป็นเวลานานจนเกิดการเสพติดทั้งๆที่โรคแพนิคเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายและหยุดกินยาได้                   โรคแพนิคส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นกันในช่วงปลายๆวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้นแต่ก็สามารถเริ่มเป็นได้ในทุกช่วงอายุ พบว่าเพศหญิงจะป่วยเป็นโรคแพนิคมากกว่าเพศชาย                   สาเหตุ                   ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบแน่นอนว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคแพนิคแต่เท่าที่มีข้อมูลพบว่าน่าจะมีความผิดปกติในการทำงานของสมองในระดับสารสื่อนำประสาทโดยพบว่าสารบางอย่าง เช่น yohimbine lactate caffeine สามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคแพนิคเกิดอาการแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป ยารักษาโรคซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์กับซีโรโทนินสามารถรักษาโรคแพนิคได้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคแพนิคมักมีการควบคุมการหายใจไม่ดี ถอนหายใจบ่อย และสามารถเกิดอาการแพนิคได้ทั้งเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงเกินไปและต่ำเกินไป ในปัจจุบันมีข้อมูลทางระบาดวิทยาว่าโรคแพนิคอาจมีส่วนเป็นกรรมพันธ์ด้วย                   ในทางจิตวิทยาพบว่าผู้ป่วยโรคแพนิคมักมีแนวโน้มที่จะแปลอาการที่ปกติทางร่างกายว่าเป็นอาการของโรคร้ายแรง catastrophic misinterpretation of normal bodily symptoms และการทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิดสามารถช่วยให้โรคแพนิคดีขึ้นได้                   ลักษณะทางคลินิก                   อาการแพนิคก็คืออาการตื่นตระหนกตกใจนั่นเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์น่ากลัวขึ้นเช่นสุนัขตัวใหญ่ที่เขาเลี้ยงไว้ในบ้านคำรามและกระโจนใส่เวลาเราเดินผ่านใกล้รั้วบ้าน เราจะเกิดอาการตกใจ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มือสั่น ขาสั่น ตาลาย ฯลฯ นี่คืออาการแพนิค ตื่นตระหนก ซึ่งเป็นสัญชาติญาณตามปกติ คนที่ไม่ชอบความสูงเวลาขึ้นที่สูงๆก็จะเกิดอาการแพนิคแบบเดียวกันนี้ เวลาที่เรานึกขึ้นได้ว่าลืมนัดสำคัญเราก็จะเกิดอาการแบบนี้เช่นกัน นั่นคืออาการแพนิคหรืออาการตื่นตระหนกก็คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อเราพบกับเหตุการณ์ที่น่ากลัวหรือน่าตกใจนั่นเอง โดยทั่วไปเมื่อตกใจคนแต่ละคนจะมีอาการโดยรวมๆแล้วคล้ายๆกันแต่อาการปลีกย่อยอาจไม่เหมือนกันเสียทีเดียวเช่นบางคนตกใจแล้วปัสสาวะไม่ออกแต่บางคนตกใจแล้วปัสสาวะราด บางคนตกใจแล้วความดันโลหิตสูงขึ้นแต่บางคนตกใจแล้วความดันโลหิตต่ำลงและเกิดอาการหน้ามืดเป็นลม                   การรักษาด้วยยา                   การรักษาโรคแพนิคด้วยยาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ                   1 ยา “ แก้ ” อาการแพนิค                     ยา “ แก้ ” อาการแพนิคคือยาที่ออกฤทธิ์เร็ว สามารถระงับอาการแพนิคที่เกิดขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ยาประเภทนี้คือยาคลายกังวลประเภทเบนโซไดอะซีปีน benzodiazepine ยาที่นิยมใช้คือ alprazolam แต่ก็อาจใช้ lorazepam clonazepam หรือแม้แต่ diazepam ก็ได้ เราจะให้ผู้ป่วยรับประทานยาเมื่อเกิดอาการแพนิค อาการแพนิคจะหายไปอย่างรวดเร็วแต่เมื่อยาหมดฤทธิ์ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพนิคขึ้นมาได้อีก บางตำราจะให้ยานี้อย่างต่อเนื่อง around the clock เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพนิคอีกโดยเฉพาะในรายที่เป็นมากซึ่งก็สามารถทำได้แต่อาจทำให้แพทย์ไม่ทราบว่ายา “ ป้องกัน ” ที่ให้อยู่นั้นเพียงพอหรือยังและออกฤทธิ์เต็มที่หรือยัง ปัญหาที่สำคัญของยาในกลุ่มนี้คือสามารถเกิดการเสพติดได้ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ และอาการขาดยาของยาในกลุ่มนี้ก็คืออาการวิตกกังวลซึ่งในบางรายจะคล้ายอาการแพนิค ดังนั้นในรายที่เป็นมากแพทย์อาจให้ยา “ แก้ ” อย่างต่อเนื่องในขนาดที่ไม่สูงนักในช่วงแรกๆและให้ผู้ป่วยรับประทานเพิ่มได้เมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้วค่อยๆลดขนาดลงเมื่ออาการดีขึ้น                   2 ยา “ ป้องกัน ” การเกิดอาการแพนิค                   ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดโดยเฉพาะชนิดที่ออกฤทธิ์กับซีโรโทนิน serotonin สามารถใช้ป้องกันการเกิดอาการแพนิคได้ ตารางที่ 5 ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์จึงจะเริ่มได้ผล ผลที่ได้คือการเกิดอาการแพนิคจะห่างลงเรื่องๆ และอาการแพนิคที่เกิดขึ้นก็จะเบาลงเรื่อยๆ ทำให้ผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานยา “ แก้ ” น้อยลงเรื่อยๆจึงเป็นการค่อยๆหยุดยา “ แก้ ” ไปในตัว ข้อควรระวังในการใช้ยา “ ป้องกัน ” คือควรเริ่มให้ยาในขนาดน้อยๆก่อนเพราะผู้ป่วยโรคแพนิคมักทนผลข้างเคียงของยาได้ไม่ดีเท่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและแพทย์ควรเน้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาทุกวันเพราะความที่ยานี้ออกฤทธิ์ช้าทำให้ผู้ป่วยไม่เห็นผลของยาและบางรายกลัวติดยาหรือคิดว่าเป็นยานอนหลับโดยเฉพาะยาที่ให้รับประทานก่อนนอนเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วง โดยทั่วไปเมื่อเริ่มให้ยา “ ป้องกัน ” และค่อยๆเพิ่มยาขึ้นแพทย์มักสามารถควบคุมอาการให้หายสนิท remission คือไม่เกิดอาการแพนิคเลยหรือมีอาการแพนิคไม่เกิน 1 ครั้งในแต่ละเดือน ได้ในเวลาประมาณ 1-2 เดือน                   เมื่อผู้ป่วยหายสนิทแล้วต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปอีก 8-12 เดือนแล้วจึงค่อยๆหยุดยา มีผู้ป่วยบางรายที่กลับมีอาการอีกเมื่อลดยาลงถึงระดับหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ให้เพิ่มยากลับขึ้นไปในระดับก่อนที่จะมีอาการกลับมาอีก รอไว้ 2-3 เดือนแล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆจนสามารถหยุดยาได้ อย่างไรก็ดีควรให้ผู้ป่วยทราบว่าโรคแพนิคเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อหยุดยาไประยะหนึ่งผู้ป่วยอาจกลับมามีอาการอีกได้ recurrent rate 30-90 และจะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เลิกรับประทานยาไม่ได้และต้องรับประทานยา “ ป้องกัน ” ในขนาดน้อยๆต่อไปเรื่อยๆซึ่งก็ไม่มีอันตรายอะไร                   สำหรับอาการอะโกราโฟเบียนั้นเมื่ออาการดีขึ้นผู้ป่วยมักมีความมั่นใจที่จะอยู่คนเดียวหรือออกไปไหนคนเดียวมากขึ้น ในรายที่ไม่เกิดอาการแพนิคแล้วแต่ยังกลัวการอยู่คนเดียวอยู่ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยฝึกที่จะอยู่คนเดียวหรือไปไหนคนเดียว exposure therapy โดยมีหลัก 3 ข้อคือ                   1 ค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากที่ๆน่ากลัวน้อยๆก่อนเช่นออกไปซื้อของใกล้ๆคนเดียว                   2 ให้เวลาฝึกแต่ละครั้งให้นานพอ เช่น ให้ผู้ป่วยอยู่บ้านคนเดียว 1 ชั่วโมงจะได้ผลดีกว่าให้อยู่คนเดียวครั้งละ 15 นาที วันละ 4 ครั้ง                   3 ฝึกซ้ำหลายๆครั้ง ในที่สุดผู้ป่วยจะเกิดความชินชา habituation หรือ desensitization กับการอยู่คนเดียวและจะหายกลัว ข้อมูลจาก BangkokHealth

โรคแพนิค, โรคแพนิค หมายถึง, โรคแพนิค คือ, โรคแพนิค ความหมาย, โรคแพนิค คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu