ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์?
ทำไมแต่งงานกันแล้วต้องไป nbsp ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์เรื่องนี้มีธรรมเนียมละความเป็นมาอย่างไร ไม่ลงชื่อ สมุทรปราการ
ทำไมแต่งงานกันแล้วต้องไป nbsp ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์เรื่องนี้มีธรรมเนียมละความเป็นมาอย่างไร ไม่ลงชื่อ สมุทรปราการ
ในปัจจุบันประเพณีการแต่งงานของไทยต่างไปจากแต่เดิมมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมประเพณีของชาติอื่นผสมผสานเข้ามาด้วยไม่น้อย จนน่าจะเรียกว่าเป็นประเพณีของคนไทยยุคใหม่มากกว่า ในประเพณีการแต่งงานยุคใหม่ หลังพิธีการต่าง ๆ ผ่านพ้นคู่สมรสมักนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนยังต่างถิ่นหรือต่างแดน เรียกว่า |ฮันนีมูน| เคยมีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่า |ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์| แต่ดูจะเป็นที่นิยมใช้น้อยกว่าคำว่า |ฮันนีมูน| ซึ่งคงเป็นการใช้เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศต่างแดนที่คู่บ่าวสาวมักจะเลือกเดินทางไป และคำว่า |น้ำผึ้งพระจันทร์| ก็ยาวกว่า ซ้ำยังไม่ให้ความหมายที่กระจ่างพอ เพราะส่วนใหญ่ไม่รู้ประวัติความเป็นมานั่นเอง ในสมัยคริสต์ศตวรรษต้น ๆ เมื่อหนุ่มชาวยุโรปลักพาตัวหญิงสาวมาจากหมู่บ้านใกล้เคียง เขาต้องพาสาวเจ้าไปซ่อนตัวอยู่พักหนึ่ง โดยให้เพื่อน ๆ ช่วยดูแลความปลอดภัยให้ เมื่อพ่อตา แม่ยายเลิกตามหาแล้วจึงพาเจ้าสาวกลับมาที่บ้านของฝ่ายชาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านตำนานพื้นบ้านก็วิเคราะห์กันโดยให้ความเห็นว่า ฮันนีมูนน่าจะหมายถึง |การหลบซ่อน| และถ้าถือตามนี้ก็แสดงว่าคนไทยสมัยก่อนก็มีการฮันนีมูนอยู่เนือง ๆ เพียงแต่จะต่อท้ายการฮันนีมูนด้วยพิธีขอขมาญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายผู้หญิง หากจะพิจารณากันที่ความหมายและที่มาของคำแล้ว ก็จะทำให้เห็นต้นเค้าของฮันนีมูนกระจ่างขึ้น คำว่า |ฮันนี rsquo ซึ่งแปลว่าน้ำผึ้ง ปรากฏเกี่ยวข้องกับพิธีแต่งงานในวัฒนธรรมเก่าแก่ของชาวยุโรปเหนือ โดยการที่คู่บ่าวสาวจะดื่มไวน์น้ำผึ้งวันละแก้วในช่วงเดือนแรกของการแต่งงาน แต่ทั้งการดื่มน้ำผึ้ง และการลักพาตัวไปหลบซ่อนก็เป็นส่วนหนึ่งของพระราชประวัติของพระเจ้าอัตติลา กษัตริย์ชาวฮั่นซึ่งครองอำนาจในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๔๓๓-๔๕๓ พระองค์ทรงลักพาเจ้าหญิงฮอโนเรีย ขนิษฐาของจักรพรรดิวาเลนติเนียนที่ ๒ แห่งราชอาณาจักรโรมันไปเมื่อ ปี ค ศ ๔๕๐ รวมทั้งประกาศครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรโรมันด้วย ในพระราชพิธีสมรสทรงจัดให้มีการเลี้ยงฉลองกันอย่างเต็มที่ ในงานมีทั้งสุรา อาหารและไวน์น้ำผึ้งที่พระองค์ทรงโปรดปราน สามปีต่อมา เมื่อมีงานเลี้ยงอีก พระเจ้าอัตติลาไม่อาจหยุดยั้งความหลงใหลในกลิ่นและรสของไวน์น้ำผึ้งได้ ทรงดื่มเป็นปริมาณมาก จนถึงกับทรงพระอาเจียนมึนงง พระอาการหนักจนสิ้นพระชนม์ในที่สุด ส่วนคำว่า |มูน| หรือพระจันทร์ ก็คือ |เดือน| นั่นเอง เมื่อรวมกับ |ฮันนี| จึงหมายถึง เดือนแห่งความหวานชื่นของชีวิตแต่งงาน ความหมายซ้อนก็คือ ไม่มีเดือนไหนหลังจากนั้นที่ชีวิตแต่งงานจะมีความสุขเทียบเท่าได้ ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ นักเขียนและกวีชาวอังกฤษมักจะใช้คำว่า |ฮันนีมูน| เปรียบเปรยความรักอันดูดดื่มในชีวิตแต่งงานว่า เป็นดั่งดวงจันทร์ที่ทอแสงทั้งสุกใสและหม่นหมอง อย่างไรก็ดี ฮันนีมูนในปัจจุบันก็ไม่ได้ใช้เวลาถึงหนึ่งเดือนทั้งนี้เพราะความจำเป็นหลายประการ บางคู่ตัดเหลือเพียงหนึ่งสัปดาห์ แต่ก็ยังเรียกว่าฮันนีมูนกันอยู่ ส่วนความสุขของชีวิตแต่งงานนั้นก็คงไม่ได้ลดเหลือหนึ่งสัปดาห์ตามไปด้วยกระมัง “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!