ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เรื่องของกฐิน?, เรื่องของกฐิน? หมายถึง, เรื่องของกฐิน? คือ, เรื่องของกฐิน? ความหมาย, เรื่องของกฐิน? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

เรื่องของกฐิน?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากให้ ldquo สารคดี quot ทำเรื่องการทอดกฐินค่ะ เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้นักทั้ง ๆ ที่เป็นพุทธศาสนิกชน ดิฉันคิดว่าเรื่องนี้มีเกร็ดน่ารู้อยู่มากเลยค่ะ สุมล nbsp กรุงทพฯ

คำตอบ

        quot ซองคำถาม quot   เห็นด้วยกับคุณสุมล   อ่านข้อมูลจากสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ มีเรื่องราวที่   quot ซองคำถาม quot   เองยังไม่รู้ก็อีกมาก บางตอนเป็นการทบทวนความรู้เก่า จึงขอตัดตอนมาเผยแพร่ดังนี้         ประเพณีทอดกฐินมีกำหนดฤดูกาลที่จะทำไว้ตามวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต ต้องทำภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันออกพรรษาไปแล้ว คือ ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง เดือนสิบเอ็ด จนถึงวันกลางเดือนสิบสอง ตกในราวตุลาคม-พฤศจิกายน จะทำก่อนหรือหลังกำหนดเวลาที่กล่าวนี้ไม่ได้   ภายในกำหนดเวลานี้เรียกกันโดยทั่ว   ๆ   ไปว่า   กฐินกาล   เทศกาลกฐิน หน้ากฐิน หรือ ฤดูกฐิน   ซึ่งหมายความว่าเป็นเวลาที่ทอดกฐินได้         ก่อนถึงกฐินกาล   ผู้ประสงค์จะทอดกฐิน ณ วัดใด ต้องไปแจ้งความจำนงให้พระและประชาชนละแวกวัดนั้นทราบเป็นการล่วงหน้าว่า ตนจะทอดกฐินที่วัดนั้น   การแสดงความจำนงนี้เรียกว่า จองกฐิน การจองกฐินนั้นจองได้แต่วัดราษฎร์   วัดหลวงจองไม่ได้ เพราะวัดหลวงต้องได้รับกฐินหลวง ถึงกระนั้นก็ดีบัดนี้ได้พระราชทานโอกาสให้กระทรวง ทบวงกรม องค์การสมาคม ตลอดจนเอกชน ขอพระราชทานเพื่อทอดกฐินตามวัดหลวงได้โดยใช้ผ้าองค์กฐินของหลวง ทั้งนี้เว้นวัดหลวงที่สำคัญ ๑๖ วัด ห้ามขอพระราชทาน นอกจากจะพระราชทานให้ผู้หนึ่งผู้ใดไปทอดแทนพระองค์ วัดหลวง ๑๖ วัดนั้น คือ จังหวัดพระนคร ๑ วัดเทพศิรินทราวาส ๒ วัดบวรนิเวศวิหาร   ๓ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ๔ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๕ วัดมกุฎกษัตริยาราม ๖ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ๗ วัดราชบพิธ ๘ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ๙ วัดราชาธิวาส ๑๐ วัดสุทัศนเทพวราราม จังหวัดธนบุรี ๑ วัดราชโอรสาราม ๒ วัดอรุณราชวราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑ วัดนิเวศธรรมประวัติ ๒ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดนครปฐม     วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดพิษณุโลก   วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ         ครั้นถึงกฐินกาล   ผู้ที่จองกฐินไว้ก็เตรียมข้าวของโดยเฉพาะผ้าซึ่งจะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ อย่างน้อยก็พอที่จะทำเป็นสบงได้   ผ้านี้จะเป็นผ้าขาวที่ยังไม่ได้เย็บ หรือเย็บแล้วแต่ยังไม่ได้ย้อมเหลือง หรือย้อมเหลืองแล้วก็ได้ ผ้าดังกล่าวเป็นของสำคัญ ไม่มีไม่ได้ จึงเรียกว่า องค์กฐิน ส่วนของอื่นซึ่งเรียกว่าบริวารกฐิน นั้น ไม่มีกำหนด แล้วแต่ศรัทธา เมื่อเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่า ทอดกฐินก่อนที่จะนำกฐินไปทอด   ถ้ามีพิธีฉลองเรียกว่า ฉลองกฐิน และในขณะที่นำไปทอด ถ้ามีพิธีแห่จะเป็นทางบกหรือทางน้ำก็ตามเรียกว่า แห่กฐิน ในการทอดกฐินมีประเพณีอย่างหนึ่ง คือ ผู้ทอดกฐินต้องทำธงผ้าเขียนเป็นรูปสัตว์ เช่น จระเข้ หรือเต่าไปด้วย เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้วก็นำไปปักไว้ที่ศาลาวัด ที่หน้าโบสถ์หรือหน้าวัด หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งจะเห็นได้ง่าย เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าวัดนี้ทอดกฐินแล้ว         เมื่อจวนจะสิ้นกฐินกาลราวขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือนสิบสองมักจะมีผู้มีศรัทธาหมายจะสงเคราะห์ภิกษุสงฆ์ให้ได้อานิสงส์กฐินไปสืบเสาะหาวัดที่ไม่มีใครทอดกฐิน   เมื่อพบก็จัดการทอดทีเดียวกฐินชนิดนี้เรียกว่า กฐินตก หรือกฐินตกค้าง บางทีก็เรียกว่ากฐินโจร ซึ่งหมายความว่า กฐินที่ไม่ได้จองล่วงหน้าตามธรรมเนียม จู่ ๆ ก็ไปทอดโดยมิได้บอกให้รู้ตัว         กฐินมีสองประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์ เรียกเป็นสามัญแต่เพียงสั้น ๆ ว่า กฐิน กฐินที่ใช้ผ้าองค์กฐินของหลวงเรียกว่า กฐินหลวงและกฐินหลวงนี้เอง ถ้าพระราชทานให้กระทรวง ทบวงกรม องค์การ สมาคม ตลอดจนเอกชนนำไปทอด เรียกว่า กฐินพระราชทาน กฐินที่ราษฎรทำกันทั่ว ๆ ไปเรียกว่า กฐินราษฎร์ ในกฐินราษฎร์ยังแยกเรียกกันออกไปเป็นสองอย่าง คือ จุลกฐิน และมหากฐิน กฐินที่จัดทำตั้งแต่เริ่มเก็บฝ้ายมาปั่นกรอให้เป็นด้าย แล้วทอจนเป็นผืนผ้า เย็บย้อมเสร็จแล้วทอดในวันนั้น มีกำหนดเวลาให้ทำเสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมงเรียกว่า จุลกฐิน เพราะต้องรีบทำให้เสร็จในระยะเวลาอันสั้นส่วนกฐินที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ เรียกว่า มหากฐิน เพราะมีเวลาตระเตรียมได้นานวันไม่จำกัดเวลาดั่งจุลกฐิน   มหากฐินเรียกกันเป็นสามัญแต่เพียงว่า กฐิน   “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

เรื่องของกฐิน, เรื่องของกฐิน หมายถึง, เรื่องของกฐิน คือ, เรื่องของกฐิน ความหมาย, เรื่องของกฐิน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu