จากปืนกระสุนถ่านเหล็กมาเป็นเอ็ม ๑๖?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp มนุษย์มักใช้ปืนเข่นฆ่ากัน nbsp โดยเฉพาะพวกหัวคะแนนมักตายด้วยอาวุธชนิดนี้ nbsp พอจะบอกได้ไหมว่า |ปืน| มีความมาเป็นอย่างไร ลายเซ็นอ่านไม่ออก สงขลา
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp มนุษย์มักใช้ปืนเข่นฆ่ากัน nbsp โดยเฉพาะพวกหัวคะแนนมักตายด้วยอาวุธชนิดนี้ nbsp พอจะบอกได้ไหมว่า |ปืน| มีความมาเป็นอย่างไร ลายเซ็นอ่านไม่ออก สงขลา
เชื่อกันว่าปืนมีวิวัฒนาการมาจากเครื่องยิงลูกเหล็กเผาให้แดงร้อน ในหนังสือ De Officis Regun หน้าที่ของกษัตริย์ รวบรวม โดยวอลเตอร์ เดอ มิเลเมต ถวายพระเจ้าเอ็ดเวิร์คที่ ๓ มีภาพอาวุธ ชนิดนี้เป็นทรงแจกันติดตั้งไว้กับโต๊ะ ที่ยิงเป็นคันธนู ๔ หัว ส่วนผู้ที่คิดค้นประดิษฐ์ปืนแบบที่ใช้ดินปืน และมีบทบาทในการต่อสู้นั้นยังขาดหลักฐานแน่ชัด แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนให้เกียรติ เบอร์โทลด์ ชวาทช์ พระชาวเยอรมัน ว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นคนแรก ในต้นศตวรรษที่ ๑๔ ปืนสมัยแรก ๆ มีปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะความแม่นยำแน่นอนในการยิง ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ มีขนาดและน้ำหนักมาก แต่คนก็ยังเห็นความจำเป็นที่จะใช้ปืนอยู่ จึงได้พยายามพัฒนาคุณภาพขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในยามสงครามที่คนพยายามสร้างเครื่องมือเพื่อเอาชนะกัน ในศตวรรษที่ ๑๖ มีการประดิษฐ์ปืนไรเฟิล ปืนเล็กยาว ลำกล้องเป็นเกลียว ทำให้ลูกกระสุนที่ยิงออกไปหมุนและมีอำนาจทะลวงเป้าสูงขึ้น เพราะการศึกต้องการความรวดเร็วและรุนแรงในการจู่โจม ปืนไรเฟิลแบบต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมา เช่น แบบบรรจุกระสุนที่ท้ายลำกล้อง ใช้ในสงครามออสเตรีย-บรัสเซีย ปี ๑๘๘๕ เยอรมันประดิษฐ์ปืนไรเฟิลแบบเมาเซอร์ ซึ่งใช้ซองลูกปืนเหล็กบรรจุกระสุน ๘ นัด ปีถัดมาฝรั่งเศสก็ผลิตปืนลดควันดินปืนได้ สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ นอกจากจะมีการพัฒนาปืนไรเฟิลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้ว ยังมีการคิดค้นระบบการยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ ยิงได้ทีละนัด และแบบอัตโนมัติ ยิงได้ต่อเนื่องตลอดเวลาที่นิ้วเหนี่ยวไกค้างอยู่ กระสุนที่ใช้ก็ยังมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมกว่าสมัยแรก ๆ ด้วย ส่วนใหญ่กระสุนจะบรรจุด้วยดินปืนที่ไม่ก่อให้เกิดควัน หัวกระสุนทำด้วยตะกั่วเคลือบเหล็กทำให้ยิงได้แม่นยำและให้ผลในการสังหารเป้าขนาดคนได้ในระยะเกินกว่า ๔๖๐ เมตร จนถึง ๒ ๗๐๐ เมตร ในส่วนน้ำหนักก็เบาขึ้น ยิงได้เร็วขึ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ การผลิตและพัฒนาปืนแบบต่าง ๆ ซบเซาไปด้วย อาจจะเป็นเพราะมีปืนอยู่มากพอแล้ว จนเมื่อฮิตเลอร์เริ่มมีอำนาจในเยอรมันในช่วงทศวรรษ ๑๙๓๐ การผลิตกลับคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง เยอรมันผลิตปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติ เอฟจี ๔๒๕ ในปี ๑๙๔๑ ปีถัดมา อเมริกาก็ผลิตปืนทำนองเดียวกับเอ็ม ๑ ขึ้นมา เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การพัฒนาอาวุธไม่ได้ยุติลงไปด้วย โซเวียตปรับปรุงปืนไรเฟิลแบบเมาเซอร์ของเยอรมันให้เป็นปืนอาก้า เอเค ๔๗ ทำงานด้วยแก๊ส สามารถเลือกใช้ระบบการยิงแบบกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติได้ โดยบรรจุกระสุนได้ครั้งละ ๓๐ นัด ทางเยอรมันจึงผลิต จี ๓ และสหรัฐอเมริกาผลิต เอ็ม ๑๔ ให้ดีกว่าอาก้า คือให้มีน้ำหนักเบาขึ้นและลูกกระสุนเล็กลงเพื่อความคล่องตัว ต้นทศวรรษ ๑๙๗๐ สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการผลิตอาวุธปืนเล็กแบบยาว ด้วยการผลิต เออาร์ ๑๕ ขึ้นใช้ในปัจจุบันเรียกอาวุธนี้ว่า เอ็ม ๑๖ ซึ่งเป็นปืนไรเฟิลแบบจู่โจม อย่างแท้จริง เพราะมีความแม่นยำ น้ำหนักเบา ทั้งตัวปืนและ ลูกกระสุน ทำงานด้วยแก๊ส บรรจุกระสุนด้วยชองกระสุนชนิด ๒๐ นัด หรือ ๓๐ นัดก็ได้ โดยมีความเร็วในการยิงกึ่งอัตโนมัติ ๔๕-๖๕ นัดต่อนาที และความเร็วในการยิงอัตโนมัติ ๑๕๐-๒๐๐ นัดต่อนาที และยิงได้เร็วสูงสุด ๗๐๐-๘๐๐ นัดต่อนาที วิถีกระสุนไกลสุดประมาณ ๒ ๖๐๐ เมตร มีระยะหวังผล ๔๖๐ เมตร เอ็ม ๑๖ นิยมใช้กันมากในประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย เอ็ม ๑๖ เป็นอาวุธประจำกาย อาวุธขนาดเบา สามารถนำไปมาและใช้ได้ด้วยคนเพียงคนเดียว ชนิดหนึ่งของทหารราบที่นำมาใช้กับประชาชนในเหตุการณ์นองเลือด เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ โดยบางกระบอกได้ติดเครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม ๒๐๓ ขนาด ๔๐ มม ไว้ นอกจากนี้ยังมีปืนกลเอ็ม ๖๐ ซึ่งเป็นปืนประจำหน่วย ปืนที่จัดไว้ประจำหน่วยรบเนื่องจากมีน้ำหนักมาก ต้องใช้พลประจำอาวุธ ๒ คนในการปฏิบัติงาน มีความรุนแรงกว่า เอ็ม ๑๖ คือ ใช้ลูกกระสุนขนาดใหญ่กว่า ยิงได้ไกลกว่าแรงกว่า แต่มีความแม่นยำน้อยกว่า “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!