ย้อนอดีตคลองแสนแสบ?
คลองแสนแสบที่มีเรือหางยาวแล่นรับส่งคนกรุงอยู่ในเวลานี้ แต่เดิมขุดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด มหาสมุทร จ ปราจีนบุรี
คลองแสนแสบที่มีเรือหางยาวแล่นรับส่งคนกรุงอยู่ในเวลานี้ แต่เดิมขุดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด มหาสมุทร จ ปราจีนบุรี
ราวปี พ ศ ๒๓๘๐ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดและซ่อมคลองหลายแห่ง คลองขุดใหม่แห่งหนึ่งนั้น คือ คลองแสนแสบหรือคลองบางขนากเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งช่วยย่นระยะทางไปมาระหว่างเมืองปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรากับกรุงเทพฯ ตอนต้น คลองเรียกว่า คลองแสนแสบ ตอนปลายคลองเรียก คลองบางขนาก จุดประสงค์เบื้องแรกในการขุดคลองแสนแสบ คือ เพื่อใช้เป็นเส้นทางอำนวยความสะดวกในการเดินทางขนส่งเสบียงอาหารและกองกำลังกองทัพจากเมืองหลวงไปยังเมืองเขมรและญวนในการสงครามอันนัมสยามยุทธ ซึ่งกินเวลานานถึง ๑๔ ปี พร้อมกันนั้นก็เป็นเส้นทางที่เอื้อประโยชน์ต่อกรุงเทพฯ ในด้านการปกครองหัวเมืองด้วย คลองแสนแสบเป็นคลองในบริเวณกรุงเทพฯ ฝั่งพระนครมีความสำคัญต่อกรุงเทพฯ ในด้านการคมนาคมติดต่อค้าขาย มีความยาวไปถึงหัวเมืองใกล้เคียงกรุงเทพฯ ระยะแรกขุดคอองนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำสงคราม แต่ภายหลังคลองนี้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือไปมาค้าขายที่สำคัญของราษฎร โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ต้องมีการขุดซ่อมและขยายคลองเพื่อให้เพียงพอแก่การใช้ประโยชน์ของพลเมืองในขณะนั้น ตามประวัติการขุดคลองระบุไว้ว่า พระยาศรีพิพัฒฯ เป็นผู้ดำเนินการ เริ่มขุดปี พ ศ ๒๓๘๐ ขุดเสร็จ พ ศ ๒๓๘๓ ใช้วิธีจ้างแรงงานชาวจีน ค่าใช้จ่ายรวมกับค่าขุดแก้คลองพระโขนงเป็นเงิน ๙๕ ๕๓๔ บาท ๑ สลึง ขนาดของคลองยาว ๑ ๓๓๗ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก กว้าง ๖ วา ลึก ๔ ศอก ยศ วัชรเสถียร เล่าเรื่องคลองแสนแสบในสมัยรัชกาลที่ ๖ ไว้ในหนังสือเรื่อง “ เกร็ดจากอดีต quot ไว้อย่างน่าสนใจว่า quot ทางถนนเพลินจิตสองฟากถนนก็ตัดซอยเล็กลึกเข้าไปพื้นที่มีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมากมาย พวกกระเป๋าหนักต่างมาซื้อปลูกอาคารเป็นที่อยู่อาศัยกันจนสิ้นที่ว่าง รัฐบาลอังกฤษก็ซื้อให้สถานทูตย้ายจากถนนเจริญกรุงตอนบางรัก ตรงที่ตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขเดี๋ยวนี้ มาอยู่ลึกเข้าไปทางคลองแสนแสบพื้นที่ข้างสถานทูตอังกฤษนี้เป็นที่ของเจ้าคุณภักดี นรเศรษฐ์ นายเลิศ ซึ่งท่านใช้เป็นอู่ซ่อมเรือยนต์ของท่าน ที่เป็นเรือเมล์เดินรับส่งคนโดยสารในคลองแสนแสบระหว่างประตูน้ำปทุมวัน ไปสุดทางที่ไหนผมไม่รู้ รู้แต่เพียงผ่านมีนบุรี หนองจอก อู่เรือของท่านนี้ แทนที่ใคร ๆ จะเรียกว่า อู่เรือ ไพล่ไปเรียกว่า ปาร์กนายเลิศ ทั้งนี้ก็เพราะท่านขุดเป็นสระใหญ่โตมากและลึกด้วย มีทางนำเรือเข้าไปได้จากคลองแสนแสบ ตรงกลางสระมีเสาสูงลิ่วขึ้นไป มีบันไดให้คนไต่ขึ้นไปบนยอดเสาได้ บริเวณรอบสระใหญ่ก็ร่มรื่นด้วยร่มเงาของพุ่มไม้ใหญ่ พอถึงเดือน ๑๒ น้ำนองตลิ่งในวันอาทิตย์ท่านให้ถอยเรือที่มาเข้าอู่ซ่อมออกไปจอดในคลองแสนแสบจนหมด ให้อู่เรือของท่านนั้นได้ต้อนรับผู้คนเด็กผู้ใหญ่ที่นิยมเล่นเรือเล่นน้ำ มาหาความสำราญกันที่นั่น ในตอนต้นรัชกาลที่ ๗ โรงเรียนวังหลังของแหม่มโคล ย้ายจากตำบลศิริราช ฝั่งธนบุรี ไปอยู่ตำบลบางกะปิ โดยมีอาณาเขตจากฝั่งคลองแสนแสบลึกเข้าไปลิบทีเดียว ใช้ชื่อว่าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ” คลองแสนแสบถูกใช้เป็นฉากในอมตนิยายเรื่อง quot แผลเก่า ” ของไม้ เมืองเดิม ด้วย แต่ถ้าขวัญกับเรียมกลับชาติมาเห็นคลองแสนแสบใน พ ศ นี้ คงจะสมัครใจกลับไปภพเดิม “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!