อหิงสา - อโหสิ?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp การต่อสู้ต่อต้านแบบสันติวิธีที่เรียกว่า อหิงสา เป็นอย่างไร การอดข้าว การปิดหูปิดตาไม่รู้ไม่ชี้ ถือเป็นหลักการในการต่อสู้แบบอหิงสาหรือไม่ กลางธรรม กรุงเทพฯ
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp การต่อสู้ต่อต้านแบบสันติวิธีที่เรียกว่า อหิงสา เป็นอย่างไร การอดข้าว การปิดหูปิดตาไม่รู้ไม่ชี้ ถือเป็นหลักการในการต่อสู้แบบอหิงสาหรือไม่ กลางธรรม กรุงเทพฯ
อหิงสา เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง การไม่เบียดเบียนหลักในการต่อสู้แบบอหิงสาหรือสันติวิธี คือไม่ใช้ความรุนแรงเรียกการต่อสู้ลักษณะเช่นนี้ว่า ยุทธวิธีไร้ความรุนแรง เป็นการยากที่จะกล่าวถึงอหิงสาโดยละเลย “ คานธี ” ผู้นำชาวอินเดียที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยอินเดียจากการยึดครองของอังกฤษ โดยใช้ยุทธวิธีอหิงสาเป็นหลักในการต่อสู้ คานธี เชื่อว่าอหิงสามิใช่ quot การหลบลี้หนีหน้าจากการต่อสู้กับความชั่วร้าย quot อย่างที่มักจะมีผู้เข้าใจผิดว่า วิธีการต่อสู้แบบอหิงสาคือการนิ่ง เฉยไม่ไยดีกับเรื่องต่าง ๆ ในทางตรงกันข้าม อหิงสาคือการต่อสู้กับความชั่วร้าย ความอยุติธรรม ความรุนแรง ฯลฯ ด้วยวิถีทางของจิตใจและศีลธรรม โดยหลักเบื้องต้นและพื้นฐานที่สุดก็คือการหลีกเลี่ยงที่จะใช้ความรุนแรงและตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม หากแต่จะอาศัยพลังแห่งความจริง ความรัก และความเมตตา กระตุ้นเตือนให้อีกฝ่ายสำนึกตระหนักในความเป็นมนุษย์ที่ไม่อาจเบียดเบียนและใช้ความรุนแรงกับคนอื่นได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการต่อสู้แบบอหิงสาก็คือการอดอาหารประท้วง เพราะในขณะที่ผู้ประท้วงทำให้ตัวเองลำบากโดยการอดข้าวอดน้ำอยู่ นั่นคือการสื่อสารทางจิตวิญญาณสื่อสารกับ “ หัวใจ ” ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของความรักความเมตตา ของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้เขาสำนึกในความเป็นมนุษย์ที่มีความเมตตา สงสาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่รุนแรง อยุติธรรม ฯลฯ ในที่สุด ในแง่นี้จะเห็นว่า อหิงสาหรือสันติวิธีเป็นแนวทางการต่อสู้ที่เชื่อมั่นและศรัทธาในความดีงามของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม สันติวิธีในแบบของคานธีก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความผูกพันกับศาสนาอยู่ค่อนข้างสูง คานธี เคยกล่าวว่า “ When there is ahimsa there is truth and truth is God ” ชัยชนะของสันติวิธีแบบนี้จึง quot รับได้ ” ในทางจิตวิญญาณมากกว่าโลกของกายเนื้อ และทั้งต้องมีความศรัทธาในศาสนาและอดทนต่อความยากลำบาก ความทุกข์ทรมานที่จะได้รับจากการประท้วงเช่นนี้มากทีเดียว หากแต่สันติวิธีในทางสังคมวิทยาไม่ได้ขึ้นอยู่กับศรัทธาทางศาสนา ทฤษฎีของยีน ชาร์ป Gene Sharp กลับพุ่งไปที่เรื่องของ quot อำนาจ ” เขาเน้นว่าอำนาจไม่ใช่สิ่งซึ่งทรงพลังโดยตัวของมันเอง แต่เป็นเรื่องของการยอมรับ การเชื่อฟัง อำนาจจึงจะดำรงอยู่ได้ ดังนั้นการต่อสู้กับ “ อำนาจ quot สำหรับแนวทางอหิงสาหรือสันติวิธีทางสังคมวิทยาแล้ว ก็คือการปฏิเสธอำนาจ การไม่ยอมรับ การไม่เชื่อฟัง ไม่ให้ความร่วมมือ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งซึ่งรับรู้ได้ในโลกวัตถุ ในแง่นี้ สันติวิธีก็ยังเป็นแนวทางที่เคารพในมนุษย์ ในอำนาจที่มนุษย์สามารถกระทำได้ เช่น การไม่ซื้อสินค้าจากบริษัทที่คดโกง ขูดรีด ไม่รับฟังข่าวสารจากสื่อมวลชนที่ไม่เป็นกลางไปจนถึงการไม่ให้ความร่วมมือและไม่เชื่อฟังรัฐที่ปกครองโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นอำนาจที่ปัจเจกบุคคลสามารถกระทำได้ทั้งสิ้น “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!