พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร?, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร? หมายถึง, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร? คือ, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร? ความหมาย, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร? คืออะไร
พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ต้นไม้ดูดน้ำส่งขึ้นไปด้วยแรงอะไร เช่น capillary pressure nbsp osmotic nbsp presure ฯลฯ และมีขีดจำกัดแค่ไหนคือจะสามารถส่งน้ำขึ้นไปได้สูงแค่ไหน nbsp ลองคิดดูว่าถ้าเราเด็ดใบไม้จากยอดไม้สูง ๆ ตรงรอยเด็ดจะมีน้ำซึมออกมาได้ แสดงว่ามันน่าจะส่งน้ำขึ้นไปได้สูงกว่านี้อีก คิดว่าทีมงาน ldquo ซองคำถาม rdquo น่าจะตอบได้ ผมเคยถกเถียงกับเพื่อนฝูง นอกจากจะไม่ได้คำตอบแล้ว ยังถูกหัวเราะเยาะอีกว่าคิดอะไรแบบนี้ นพ สเปญ อุ่นอนงค์ ประเทศอังกฤษ
พืชบางชนิด เช่น ดักลาส เฟอร์ Douglas fir และ เรดวูด redwood สามารถพาน้ำและอาหารขึ้นไปได้สูงกว่า ๑๐๐ เมตร ความเร็วที่น้ำเคลื่อนที่ในต้นไม้มีค่าเปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่เกือบไม่เคลื่อนที่ในวันที่มีอากาศชื้น จนขนาดประมาณ ๑ เมตรต่อนาที ในวันที่ร้อนจัดในฤดูร้อน ปัญหาอยู่ที่ว่า quot ต้นไม้ทำเช่นนี้ได้อย่างไร quot ในร่างกายมนุษย์โลหิตไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้โดยไม่มีข้อสงสัยว่าโลหิตเคลื่อนที่ได้อย่างไร เพราะทุกคนมีหัวใจสูบฉีด แต่ต้นไม้ทำได้อย่างเดียวกันโดยไม่ต้องออกแรง ไม่ต้องใช้หัวใจสูบฉีด จึงเกิดปัญหาว่าแล้วต้นไม้ทำได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ค่อยทราบเหมือนกัน ดูเหมือนว่าไม่มีทฤษฎีใดใช้อธิบายการเคลื่อนที่ของน้ำได้ในทุกสภาพแวดล้อมและเวลา นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่าแรงหลายแรงร่วมกันชักน้ำขึ้นไปในต้นไม้ ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่า ความกดดันของอากาศเป็นตัวการที่ดันเอาน้ำขึ้นไปในต้นไม้ แต่เดี๋ยวนี้ทราบว่า ความกดดันของอากาศสามารถดันน้ำขึ้นได้สูงประมาณ ๑๐ เมตร เท่านั้นส่วนทฤษฎีที่กล่าวว่า น้ำขึ้นไปโดยอาศัยท่อเล็ก ๆ capillary action เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้เสียแล้ว อีกทฤษฎีหนึ่งว่า ความกดดันที่รากซึ่งเกิดจากการดูดกลืนของเนื้อเยื่อที่ราก ทำให้ดันน้ำขึ้นไปสูง ๆ ได้ เราวัดแรงดันนี้ได้โดยการตัดต้นไม้ให้ถึงโคน แล้วติดเครื่องวัดความกดดันไว้กับโคนต้นไม้ที่เหลือนี้ ด้วยวิธีนี้พบว่าความกดดันมีมากถึง ๖ กิโลกรัมต่อตารางเชนติเมตร ซึ่งเป็นความกดดันที่มีขนาดน่าจะเป็นไปได้ทีเดียว แต่มีข้อแย้งว่า ความกดดันสูง ๆ ไม่เกิดขึ้นในเมื่อมันควรจะเกิด ต้นไม้ที่กำลังเจริญอย่างรวดเร็วซึ่งต้องการน้ำมากกลับมีความกดดันของรากน้อย ส่วนต้นไม้ที่กำลังหยุดพักความเจริญกลับมีความกดดันของรากสูงสุด ความกดดันของรากอาจช่วยอธิบายได้บางส่วนเท่านั้น ทฤษฎีที่มีผู้ยอมรับมากที่สุดกล่าวว่า การคายน้ำ transpiration of water และความเชื่อมแน่นของน้ำ cohesion of water เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำเคลื่อนที่ไปในต้นไม้ การคายน้ำ คือ การระเหยของนำที่ใบ ส่วนความเชื่อมแน่น คือ แรงดูดระหว่างอนุภาคต่าง ๆ ของน้ำ แรงนี้ทำให้น้ำเกาะกันเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ นักฟิสิกส์ได้คำนวณหาแรงนี้ว่ามีมากถึง ๑๑๐ - ๒๒๐ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งมากเกินความจำเป็นที่จะนำน้ำขึ้นไปในต้นไม้ที่สูงสุด การคายน้ำของใบทำให้เกิดการตึงเอาน้ำจากหลอดเล็ก ๆ ขึ้นไปสู่ใบจากรากฝอย เมื่อน้ำระเหยออกไปจากเซลล์ของใบย่อมทำให้เกิดการขาดน้ำ หรือสุญญากาศในเซลล์ถัดลงไป การกระทำเช่นนี้เป็นการดึงน้ำจากเซลล์ถัดไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงราก พืชและต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประหลาด เพราะอยู่ได้โดยปราศจากระบบประสาท หายใจโดยไม่ต้องใช้ปอด กระจายน้ำเลี้ยงไปทั่วต้นโดยไม่ต้องอาศัยหัวใจ และก็เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่สามารถเปลี่ยนสารอนินทรีย์มาเป็นสารซึ่งสัตว์ทั้งหลายต้องการเพื่อยังชีวิต ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้มาจากหนังสือ quot วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน quot ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ ศ ๒๕๒๕ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร หมายถึง, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร คือ, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร ความหมาย, พืชนำน้ำขึ้นสู่ต้นได้อย่างไร คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!