คลองหลอดที่ไม่ใช่คลองหลอด ??
nbsp คลองตรงสะพานผ่านพิภพฯ และย่านหลังกระทรวงเรียกว่า คลองหลอด หรือ คลองคูเมือง กันแน่ อ่านหนังสือหลายเล่มเห็นเรียกไม่เหมือนกัน nbsp ชวน nbsp แช่มชื่น nbsp กรุงเทพฯ
nbsp คลองตรงสะพานผ่านพิภพฯ และย่านหลังกระทรวงเรียกว่า คลองหลอด หรือ คลองคูเมือง กันแน่ อ่านหนังสือหลายเล่มเห็นเรียกไม่เหมือนกัน nbsp ชวน nbsp แช่มชื่น nbsp กรุงเทพฯ
คุณชวนถามเรื่องคลองหลอดมาคลองเดียว แต่ quot ซองคำถาม ” จะต้องเล่าถึงคลองสามคลอง คุณชวนจึงจะเข้าใจนั่นก็คือ คลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองหลอด เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น อาณาเขตกรุงธนบุรีกินพื้นที่มาทางด้านฝั่งพระนครด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองขึ้นเมื่อ พ ศ ๒๓๑๔ คลองนี้ออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองด้านคือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด คลองนี้ต่อมาเรียกว่า “ คลองคูเมืองเดิม quot ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี เมื่อ พ ศ ๒๓๒๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานี โดยให้แนวคลองที่ขุดใหม่นี้ขนานกับแนวคลองคูเมืองเดิม ปากคลองออกแม่น้ำเจ้าพระยาสองด้าน คือ ด้านเหนือบริเวณวัดสังเวชวิศยาราม ด้านใต้บริเวณวัดบพิตรพิมุขวรวิหารคลองคูเมืองนี้เมื่อขุดแล้วทำให้เกิดเป็นทางน้ำล้อมรอบกรุง จึงเรียกชื่อคลองตามลักษณะดังกล่าวว่า “ คลองรอบกรุง quot แต่ประชาชนโดยมากมักเรียกชื่อคลองแตกต่างกันเป็นตอน ๆ ตามสถานที่สำคัญที่คลองผ่าน เช่น ตอนต้นเรียก “ คลองบางลำภู ” ตามชื่อตำบล เมื่อผ่านสะพานหันเรียก “ คลองสะพานหัน ” เมื่อผ่านวัดเชิงเลน วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร เรียก “ คลองวัดเชิงเลน quot และช่วงสุดท้ายเรียก “ คลองโอ่งอ่าง ” เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายโอ่งอ่าง กระถาง และภาชนะต่าง ๆ ที่ปั้นด้วยดินเผาของชาวมอญและชาวจีน ระหว่างคลองคูเมืองเดิมและคลองรอบกรุงมีคลองเล็ก ๆ ขุดเชื่อมถึงกัน เรียกว่า “ คลองหลอด ” ตามลักษณะคลองที่เล็กและตรงเท่ากันตลอดสาย ทำหน้าที่ชักน้ำระหว่างคลอง คลองหลอดนั้นมีอยู่สองคลอง คลองหลอดแรก เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดบุรณศิริมาตยาราม ผ่านวัดมหรรณพารามวรวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวณวัดเทพธิดาวรวิหาร บางครั้งจึงเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า quot คลองวัดเทพธิดา ” หรือเรียกตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น “ คลองวัดบุรณศิริฯ ” “ คลองวัดมหรรณพฯ quot และ “ คลองวัดราชนัดดา ” เป็นต้น คลองหลอดที่ ๒ เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวรวิหาร ผ่านวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวณสะพานถ่าน บางครั้งเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า “ คลองวัดสุทัศน์ quot หรือเรียกตามสถานที่ที่คลองหลอดสายนี้ผ่านว่า quot คลองสะพานถ่าน quot “ คลองวัดราชบพิธ ” เป็นต้น เมื่อมีคลองรอบกรุง คลองคูเมืองเดิมจึงมิได้ใช้สอยประโยชน์เป็นคูเมือง กลายเป็นเส้นทางคมนาคมของราษฎรในเมืองหลวงประชาชนเรียกชื่อคลองคูเมืองเดิมเป็นตอน ๆ ตามสถานที่สำคัญที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวงเรียก “ คลองโรงไหม ” ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดทั้งบนบกและในน้ำที่คึกคักมาก จึงเรียก “ ปากคลองตลาด ” ส่วนตอนกลางเรียก “ คลองหลอด quot โดยกำหนดระยะเรียกตั้งแต่ปากคลองหลอดด้านเหนือข้างวัดบุรณศิริฯ ถึงปากคลองหลอดด้านใต้ข้างวัดราชบพิธ ซึ่งคงจะหมายความถึงระยะคลองหลอดหรือระหว่างคลองหลอด ด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อนของคนรุ่นต่อมา จึงเรียกคลองคูเมืองเดิมทั้งสายว่า คลองหลอด สรุปแล้วเพื่อไม่ให้สับสน หากจะเอ่ยถึงคลองที่ตั้งต้นตั้งแต่ใต้สะพานพระปิ่นเกล้ามาออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ก็น่าจะเรียกว่า quot คลองคูเมืองเดิม quot “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!