การคว่ำบาตร?, การคว่ำบาตร? หมายถึง, การคว่ำบาตร? คือ, การคว่ำบาตร? ความหมาย, การคว่ำบาตร? คืออะไร
การคว่ำบาตร?
คุณ ldquo ซองคำถาม rdquo ตอบเรื่องการคว่ำบาตรไว้ในหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม เล่ม ๔ โดยเทียบเคียงกับคำบอยคอต boycott แล้วเล่าที่มาของคำบอยคอต แต่ไม่เห็นอธิบายเลยว่า nbsp การคว่ำบาตรนั้นมีที่มาอย่างไร ทำไมพระถึงต่อต้านคนบางคนด้วยการคว่ำบาตร สร้อยสลา กรุงเทพฯ
ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง “ ซองคำถาม ” มัวห่วงคำว่า boycott เลยลืมเล่าที่มาของการคว่ำบาตรเสียสนิท คว่ำบาตร คือการประกาศตัดสัมพันธ์กับผู้ที่ทำผิดทางศาสนาอย่างแรง คฤหัสถ์ที่ถูกสงฆ์คว่ำบาตรคือผู้ทำความผิดแปดอย่าง ได้แก่ ๑ ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแก่สงฆ์ ๒ ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่สงฆ์ ๓ ขวนขวายเพื่อให้พระอยู่ไม่ได้ ๔ ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย ๕ ยุยงให้สงฆ์แตกกัน ๖ ตำหนิติเตียนพระพุทธเจ้า ๗ ตำหนิติเตียนพระธรรม ๘ ตำหนิติเตียนพระสงฆ์ ผู้ใดเป็นอุบาสกอยู่แล้ว ยังทำความพยายามอย่างนี้ สงฆ์เห็นว่าหากจะติดต่ออยู่ก็กำเริบ ทำความเสื่อมเสียแก่พระศาสนายิ่งขึ้น ก็ทำพิธีคว่ำบาตรเสีย พิธีคว่ำบาตรนั้น สงฆ์ทั้งหมดจะประชุมกัน รูปหนึ่งประกาศความผิดของผู้ที่จะคว่ำบาตร แล้วประกาศคว่ำบาตรสองครั้ง ญัตติทุติยกรรม เมื่อคว่ำบาตรแล้ว ภิกษุสามเณรจะต้องงดรับบิณฑบาตของเขา งดรับของทุกอย่าง งดการติดต่อทั้งสิน จนกว่าเขาจะสำนึกผิดมาขอขมาสงฆ์ สงฆ์จึงทำพิธีหงายบาตรให้โดยมีการประชุมสงฆ์ทำนองเดียวกับตอนคว่ำบาตร แต่ตอนหงายบาตรให้อุบาสกผู้นั้นอยู่ในที่ประชุมสงฆ์ด้วย ต่อมา “ คว่ำบาตร ” กลายเป็นสำนวน มีความหมายถึงการตัดออกจากสมาคม ไม่คบหาด้วย พระจึงไม่ได้เป็นฝ่ายคว่ำบาตรต่อคฤหัสถ์เท่านั้น คฤหัสถ์ก็สามารถ “ คว่ำบาตร ” ไม่ตักบาตรทำบุญกับพระที่ตนเห็นว่ามีวัตรปฏิบัติไม่เหมาะไม่ควรได้ ข้อมูลนี้ได้มาจากสารานุกรมไทย เล่มที่ ๑๔ อนุภาค ของ อุทัย สินธุสาร “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
การคว่ำบาตร, การคว่ำบาตร หมายถึง, การคว่ำบาตร คือ, การคว่ำบาตร ความหมาย, การคว่ำบาตร คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!