ฟูกสปริง?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับฟูกครับ อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเขียนไว้น่าฟังว่า ldquo มีเงินซื้อเตียงได้ แต่ซื้อการนอนหลับไม่ได้ rdquo nbsp ชอบใจมาก โอรส นำเกษม จ สุพรรณบุรี
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับฟูกครับ อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเขียนไว้น่าฟังว่า ldquo มีเงินซื้อเตียงได้ แต่ซื้อการนอนหลับไม่ได้ rdquo nbsp ชอบใจมาก โอรส นำเกษม จ สุพรรณบุรี
ในอดีตกาล ฟูกเปรียบเสมือนฝันร้ายของผู้นอน เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของตัวเรือดและเชื้อรา วัสดุที่ใช้ยัดไส้ฟูกล้วนเป็นอินทรียสาร เช่น ฟาง ใบไม้ ใบสน และต้นกก จึงขึ้นราเน่าเปื่อยเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงตัวเรือด มีเรื่องราวในสมัยกลางหลายต่อหลายเรื่องเล่าว่า พวกหนูมักจะลากเหยื่อที่จับได้กลับเข้ารังซึ่งอยู่ในฟูกที่เจ้าของไม่ค่อยนำออกผึ่งแดดเป็นประจำ หรือไม่เปลี่ยนไส้ใหม่ แม้แต่เลโอนาร์โด ดา วินชิ ค ศ ๑๔๕๒-๑๕๑๙ ยังโอดครวญถึงความทุกข์ทรมานเมื่อคราวไปค้างแรมบ้านเพื่อนคนหนึ่ง โดยต้องนอนบน “ กองซากสัตว์ที่ตายแล้วแพทย์ในครั้งกระโน้นแนะนำให้ใส่สารไล่แมลงและสัตว์ที่ก่อความรำคาญดังกล่าว เช่น กระเทียม ลงไปพร้อมกับวัสดุยัดไส้ที่นอนด้วย ในช่วงเวลาระหว่างยุคสมัยของดา วินชิ กับการกำเนิดของฟูกสปริงในศตวรรษที่ ๑๘ มีผู้พยายามประดิษฐ์คิดค้นที่นอนแบบต่าง ๆ ซึ่งคนจะหลับพักผ่อนได้อย่างสบายปราศจากความคันทั้งปวง แบบหนึ่งที่โดดเด่น คือ ฟูกอัดลมของฝรั่งเศสประดิษฐ์ขึ้นในราวปี ค ศ ๑๕๐๐ ฟูกชนิดนี้นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ เตียงลม ” ทำด้วยผ้าใบเคลือบขี้ผึ้งหนา มีลิ้นให้เป่าลมเข้าด้วยปากหรือด้วยเครื่องสูบลม ฟูกอัดลมชิ้นแรกในประวัติศาสตร์นี้เป็นผลงานจากมันสมองของวิลเลียม ดูชาดิน พ่อค้าเครื่องเรือนหุ้มเบาะชาวฝรั่งเศส เตียงลมได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสอยู่เพียงระยะหนึ่งเท่านั้นเนื่องจากมีข้อบกพร่อง คือ เมื่อใช้ไปสักพักหนึ่งจะปริแตกได้ ในศตวรรษที่ ๑๗ ฟูกอัดลมทำจากผ้าน้ำมันซึ่งยืดหยุ่นได้มากกว่ายังหาซื้อได้ในกรุงลอนดอน การจดลิขสิทธิ์สปริงในเครื่องเรือนและเบาะที่นั่งของรถม้ามีขึ้นในประเทศอังกฤษเมื่อต้นศตวรรษที่ ๑๘ สปริงรุ่นแรกนี้ไม่ให้ความสบายแก่ผู้ใช้เลย เนื่องจากเป็นรูปทรงกระบอกเมื่อนั่งทับมันจะเอนไปทางหนึ่งแทนที่จะยุบตัวลงในแนวดิ่งและเนื่องจากมาตรฐานของเทคโนโลยีการผสมโลหะในสมัยนั้นยังต่ำมาก สปริงจึงมักจะเปราะหักแทงทะลุเบาะนวมออกมาเป็นที่น่าหวาดเสียวยิ่ง มีผู้พยายามนำสปริงมาใช้กับฟูก แต่ต้องประสบปัญหาทางเทคนิคมากมาย เนื่องจากร่างกายของคนเราในท่านอนมีแรงกดทับของแต่ละส่วนหนักเบาแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นสปริงที่มีแรงต้านพอที่จะรับน้ำหนักของสะโพก จะแข็งเกินไปสำหรับส่วนศีรษะ ส่วนสปริงที่อ่อนตัวพอเหมาะกับน้ำหนักกดทับของศีรษะ ก็จะถูกกดจนแบนราบด้วยน้ำหนักของสะโพก จนถึงกลางทศวรรษที่ ๑๘๕๐-๑๘๕๙ เริ่มมีการนำสปริงรูปกรวยกลมมาใช้กับเครื่องเรือน เส้นรอบวงของส่วนฐานที่กว้างกว่าส่วนยอดช่วยประกันการยวบตัวในแนวดิ่งเพิ่มขึ้นฟูกสปริงในยุคแรกนั้นทำด้วยมือและมีราคาแพงมาก เฉพาะโรงแรมห้าดาวกับเรือเดินสมุทร เช่น มอริทาเนีย ลูซิทาเนีย และไทแทนิก เท่านั้น ที่จัดฟูกสปริงไว้บริการแขกของตน ล่วงเลยมาถึงปี ค ศ ๑๙๒๕ ผู้ผลิตเครื่องนอนชาวอเมริกันชื่อ ซัลมอน ซิมมอนส์ เปิดตัวฟูกสปริง quot นิทรารมย์ quot Beautyrest เข้าสู่ท้องตลาด ราคาฟูกรุ่นใหม่ล่าสุดนี้ คือ ๓๙ ๕๐ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าสองเท่าของราคาที่ชาวอเมริกันจ่ายให้แก่ฟูกยัดไส้ขนสัตว์คุณภาพดีที่สุดในเวลานั้น ด้วยความชาญฉลาดทางด้านการตลาด นายซิมมอนส์ จึงมิได้มุ่งเน้นที่จะขายฟูกเพียงอย่างเดียว แต่ขาย “ การนอนอย่างถูกหลักวิทยาศาสตร์ ” ด้วย บริษัทฯ ของเขาให้ความรู้แก่ประชาชนถึงการค้นพบล่าสุดในการวิจัยเกี่ยวกับการนอน เช่น “ คนเราไม่ได้นอนในลักษณะเดียวกับท่อนชุง ร่างกายของเราจะเคลื่อนไหวพลิกตัวขณะหลับประมาณ ๒๒-๒๕ ครั้งในแต่ละคืน เพื่อพักกล้ามเนื้อทีละส่วน ๆ quot การโฆษณาฟูก “ นิทรารมย์ ” ใช้พรีเซนเตอร์ซึ่งล้วนเป็นอัจฉริยบุคคลแห่งยุค อาทิ โทมัส เอดิสัน เฮนรี ฟอร์ด เฮช จี เวลส์ และมาร์โคนี โดยบุคคลเหล่านี้จะย้ำถึงคุณประโยชน์ที่บังเกิดขึ้นกับตนจากการนอนหลับเต็มอิ่ม ไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ในปี ค ศ ๑๙๒๙ ฟูก “ นิทรารมย์ ” มียอดจำหน่ายสูงถึง๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนฟูกยัดไส้แบบเก่าก็ถูกโยนทิ้งจากห้องนอนจนคนเก็บขยะเก็บไม่ทัน “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!